โรคไขสันหลังอักเสบเฉียบพลันในเด็ก

>31 ส.ค. 2564 | เขียนโดย พญ.ชญานิศ ไตรโสรัส แพทย์ชำนาญการโรคระบบประสาทในเด็ก

ไขสันหลังอักเสบเฉียบพลันคือ อะไร? การอักเสบของเนื้อเยื่อประสาทตรงระดับใดระดับหนึ่งของไขสันหลัง ทำให้เกิดการขัดขวางการส่งทอดกระแสประสาท เป็นเหตุให้เกิดอาการอัมพาตของขาทั้ง 2 ข้าง(อัมพาตครึ่งล่าง) หรืออัมพาตหมดของแขนขาทั้ง 4 ข้าง เป็นภาวะที่พบได้น้อย แต่อาจเป็นรุนแรงถึงพิการได้ พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ 



ไขสันหลังอักเสบเฉียบพลันคือ อะไร?

การอักเสบของเนื้อเยื่อประสาทตรงระดับใดระดับหนึ่งของไขสันหลัง ทำให้เกิดการขัดขวางการส่งทอดกระแสประสาท เป็นเหตุให้เกิดอาการอัมพาตของขาทั้ง 2 ข้าง(อัมพาตครึ่งล่าง) หรืออัมพาตหมดของแขนขาทั้ง 4 ข้าง เป็นภาวะที่พบได้น้อย แต่อาจเป็นรุนแรงถึงพิการได้ พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

 

สาเหตุเกิดจากอะไร?

เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เช่น เริม อีสุกอีใส งูสวัดหัดเยอรมัน เอนเทอโรไวรัส การติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น วัณโรค ซิฟิลิส ไมโคพลาสมา หรือ เกิดจากภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติเข้าไปทำลายไขสันหลัง

 

อาการเป็นอย่างไร?

ขาทั้ง 2 ข้างอ่อนแรง บางรายอาจลุกลามขึ้นไปที่แขนทั้ง 2 ข้างอ่อนแรง มีอาการชา (ตรวจพบอาการชาเป็นระดับ level ที่ชัดเจน )  มีอาการปวดหลังแบบฉับพลันนำมาก่อนได้ มีอาการผิดปกติของระบบขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะไม่ออก ขับถ่ายอุจจาระไม่ได้ พบอาการเกร็งของกล้ามเนื้อคล้ายเป็นตะคริวได้ อาการเหล่านี้มักเป็นรุนแรงมากขึ้นภายในไม่กี่ชั่วโมงถึงหลายวัน ผู้ป่วยบางรายอาจมีไข้ เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ ปวดคอ ร่วมด้วย

 

การวินิจฉัย?

  1. การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไขสันหลัง(MRI spine) :  เพื่อดูตำแหน่งรอยโรคและเพื่อหาสาเหตุอื่นๆที่อาจแสดงอาการคล้ายคลึงกันเช่น มีก้อนมากดทับไขสันหลัง
  2. การเจาะหลังตรวจน้ำไขสันหลัง (Lumbar puncture) :  เพื่อดูการอักเสบส่งตรวจหาเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียและส่งตรวจหาภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ เช่น NMO-IgG, MOG-IgG
  3. การตรวจเลือดหาภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ เช่น NMO-IgG, MOG-IgG
  4. การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง (MRI brain) :  ไม่ได้ทำในทุกรายทำในรายที่ตรวจพบอาการแสดงผิดปกติของสมองร่วมด้วยเช่น ตามัว อาเจียนมาก เส้นประสาทสมองทำงานผิดปกติ (cranial nerve palsy) ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถพบได้ในโรค Neuromyelitis optica (NMO)

 

การรักษา?

ถ้าเกิดจากการติดเชื้อไวรัสต้องให้ยาต้านไวรัส แต่ถ้าเกิดจากภูมิคุ้มกันผิดปกติในระยะฉับพลันจำเป็นต้องให้ยาสเตียรอยด์ขนาดสูงทางหลอดเลือดดำเป็นเวลา 5 วัน เพื่อลดการอักเสบ หากอาการไม่ดีขึ้นหลังได้ยาสเตียรอยด์ให้รักษาด้วยการเปลี่ยนถ่ายพลาสมา สำหรับการรักษาระยะยาวขึ้นกับผลตรวจเลือดหรือน้ำไขสันหลัง ถ้าพบว่ามีภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติเช่น NMO-IgG ผู้ป่วยมีโอกาสกลับเป็นซ้ำสูง ในกลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกันรับประทานเป็นเวลาอย่างน้อย 2-3 ปี ต้องมีการตรวจติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากยากดภูมิคุ้มกันมีผลข้างเคียงได้เช่น การติดเชื้อ ตับอักเสบ กระดูกพรุน  นอกจากนั้นผู้ป่วยควรทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่องเพื่อฟื้นฟูร่างกาย ฝึกขับถ่ายตามแพทย์แนะนำ ดูแลอย่าให้ท้องผูก รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรขาดยา และควรไปพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการแขนขาอ่อนแรงมากขึ้น

 

ปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการด้าน โรคประสาทและสมองในเด็ก ได้ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ

โรงพยาบาลเด็กสินแทพย์

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

โรงพยาบาลสินแพทย์ เสรีรักษ์

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์

 

 

 

SHARE
ข้อเสนอดีๆที่แนะนำ