โรคความดันโลหิตสูง ภัยเงียบในผู้สูงอายุ ที่ไม่ควรมองข้าม

17 พ.ค. 2565 | เขียนโดย

การวัดค่าความดันโลหิตสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่ ค่าความดันโลหิตตัวบน และค่าความดันโลหิตตัวล่าง โดยค่าความดันโลหิตตัวบนนั้นเป็นค่าความดันโลหิตในขณะที่หัวใจบีบตัว และค่าความดันโลหิตตัวล่างนั้นเป็นค่าความดันโลหิตของเลือดในขณะที่หัวใจคลายตัวแล้ว ซึ่งค่าความดันโลหิตนั้นมีหลายระดับด้วยกัน ตั้งแต่ระดับปกติ ไปจนถึงระดับสูงมาก



โรคความดันโลหิตสูง หรือ Hypertension คือ โรคเรื้อรังที่เกิดได้จากหลาย ๆ ปัจจัย โดยค่าความดันโลหิตปกติจะอยู่ที่ 120/80 (mm/Hg) ดังนั้น

 

ผู้ที่มีค่าความดันโลหิตตั้งแต่ 140/90 ขึ้นไป ถือว่ามีความดันโลหิตสูง

 

ถ้าหากไม่มีการควบคุมค่าความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ อาจทำให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง เป็นต้น โดยเฉพาะปัญหาโรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ ซึ่งเกิดจากการเสื่อมสภาพของเส้นเลือดตามช่วงอายุ ทำให้มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้ง่าย

 

ดังนั้น ผู้ป่วย และผู้สูงอายุทุกคนจึงควรดูแลรักษาสุขภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอ โดยในบทความนี้ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความดันโลหิตสูง พร้อมผลกระทบ และภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นได้ เพื่อให้ทุกคนทำความรู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้น และสามารถป้องกันได้อย่างทันท่วงที

 

ทำความรู้จักกับความดันโลหิตสูง

การวัดค่าความดันโลหิตสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่ ค่าความดันโลหิตตัวบน และค่าความดันโลหิตตัวล่าง โดยค่าความดันโลหิตตัวบนนั้นเป็นค่าความดันโลหิตในขณะที่หัวใจบีบตัว และค่าความดันโลหิตตัวล่างนั้นเป็นค่าความดันโลหิตของเลือดในขณะที่หัวใจคลายตัวแล้ว ซึ่งค่าความดันโลหิตนั้นมีหลายระดับด้วยกัน ตั้งแต่ระดับปกติ ไปจนถึงระดับสูงมาก ดังนี้

 

ความดันโลหิตสูง หรือ Hypertension คือภาวะที่เกิดแรงดันในหลอดเลือดสูงกว่าระดับปกติ ส่งผลให้หัวใจทำงานหนัก โดยเฉพาะผู้ที่มีค่าความดันโลหิตตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป ถือว่าเป็นผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ซึ่งจำเป็นต้องควบคุมให้ความดันโลหิตอยู่ในระดับปกติ ถ้าหากปล่อยให้ความดันโลหิตสูงอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้หลอดเลือดแดงเสียหาย อาจนำไปสู่การแข็งตัวของหลอดเลือด หลอดเลือดอุดตัน และหลอดเลือดแดงแตกได้ นอกจากนั้นยังอาจส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้อีกมายมาย เพราะว่าอาการความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่มักจะไม่แสดงอาการ แต่ว่าก็ยังมีอาการที่สามารถพบ ได้บ่อย ๆ อย่างเช่น อาการปวดหัว มึนงง หน้ามืดเป็นลม เป็นต้น

สาเหตุความดันโลหิตสูง เกิดจากอะไรได้บ้าง

โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่สามารถแบ่งสาเหตุของการเกิดโรคได้ออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ 1.ชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุอย่างชัดเจน และ 2.ชนิดที่ทราบสาเหตุ โดยความดันโลหิตสูงส่วนมาก (80-90%) เป็นชนิดไม่ทราบสาเหตุ แต่พบว่าสัมพันธ์กับ 1.พันธุกรรม 2.พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น โรคอ้วน, สูบบุหรี่, ความเครียด

 

ส่วนสาเหตุความดันโลหิตสูงชนิดที่ทราบสาเหตุนั้นสามารถพบได้เพียง 10-20 % เท่านั้น เช่น ไตวาย เนื้องอกที่ต่อมหมวกไต (hyperaldosteronism) หรือเส้นเลือดแดงบางเส้นผิดปกติ (Takayasu’s disease) เป็นต้น

 

กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสความดันโลหิตสูงได้ง่าย 

พฤติกรรมการใช้ชีวิต ถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่พบได้ เช่น

 

  • ผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุทั้งชาย และหญิงที่มีอายุตั้ง 65 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้มากกว่าผู้ที่ยังมีอายุน้อย
  • น้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน ภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน พบภาวะความดันโลหิตสูงได้มากกว่าคนปกติ และหากลดน้ำหนักลง 3-5% ขึ้นไป ก็จะทำให้ลดความดันโลหิตได้ส่วนหนึ่ง
  • สูบบุหรี่จัด เพิ่มโอกาสการเกิดความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • ผู้ที่มีความเครียดเรื้อรัง ระดับความเครียดที่สูงสามารถทำให้ความดันโลหิตสูงแบบชั่วคราวได้ ดังนั้น ผู้ที่มีปัญหาเครียดเรื้อรัง อาจส่งผลให้มีความดันโลหิตสูงอย่างต่อเนื่อง
  • มีโรคประจำตัว โรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคไต เบาหวาน และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ถือว่าเป็นโรคเรื้อรัง มักพบโรคความดันโลหิตสูงร่วมด้วยได้บ่อย
  • ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคความดันโลหิตสูง
  • ความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่การเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถช่วยควบคุมความดันโลหิตได้บ้าง แต่ส่วนมากมักจำเป็นต้องใช้ยาควบคู่กัน การควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติสามารถลดผลแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้ แต่ถ้าปล่อยให้ความดันโลหิตสูงเรื้อรัง และไม่สามารถควบคุมได้ ก็จะยิ่งทำให้ร่างกายเกิดความเสียหาย และเกิดโรคต่าง ๆ ตามมา ดังนี้
  • โรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก (อัมพฤกษ์ หรือ อัมพาต)
  • ความดันโลหิตที่สูงมากหรือสูงเรื้อรังและไม่ได้รับการรักษา จะทำให้หลอดเลือดแดงแข็ง เกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตกได้เร็วกว่าคนปกติ ในบางรายภาวะหลอดเลือดสมองที่ตีบอาจนำไปสู่การเกิดภาวะสมองเสื่อม (vascular dementia) ได้
  • ผนังหลอดเลือดแดงโป่งพอง (Aortic aneurysm)
  • ผนังหลอดเลือดแดงโป่งพอง เป็นภาวะที่ผนังหลอดเลือดเกิดการโป่งพอง เนื่องจากการเสื่อมสภาพของหลอดเลือด ความดันโลหิตสูงจะทำให้ภาวะนี้เกิดขึ้นได้เร็วกว่าคนปกติ โดยหลอดเลือดแดงที่โป่งพองมาก อาจเกิดการแตกเฉียบพลัน ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
  • ภาวะหัวใจล้มเหลว
  • ความดันโลหิตสูงนั้นส่งผลให้หัวใจทำงานหนักมากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะพยายามสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้เพียงพอ จึงทำให้ผนังหัวใจหนาขึ้น และส่งผลให้หัวใจทำการสูบฉีดเลือดหนักกว่าเดิม ถ้าหากหัวใจสูบฉีดเลือดได้ไม่เพียงพอ หรือบกพร่องในการทำงาน จะทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน และนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวได้
  • หัวใจวาย
  • ความดันโลหิตสูง ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่สามารถทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ เนื่องจากภาวะความดันโลหิตสูงสามารถทำให้หลอดเลือดแดงเกิดการแข็งตัว และหนาขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือด และถ้าหากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ตามปกติก็จะส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว หรือหัวใจวายได้
  • ไตวาย
  • ความดันโลหิตสูงสามารถทำให้หลอดเลือดบริเวณไตเสื่อมสภาพ นำไปสู่ภาวะไตวายได้

 

การดูแลตัวเอง เมื่อเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่สามารถควบคุมได้ แต่ต้องอาศัยการดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร ควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกาย และการทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ซึ่งการดูแลตัวเองด้วยวิธีเหล่านี้สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตสูงอยู่ในเกณฑ์ปกติได้

การรับประทานอาหาร ถือว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อความดันโลหิต ดังนั้น ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงจึงจำเป็นต้องเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นทานผัก หรือผลไม้ และหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกที่ไขมันอิ่มตัว ลดการบริโภคเกลือโซเดียม พร้อมกับควบคุมปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ด้วย

 

  • ลดการบริโภคเกลือ

เกลือ และอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง เช่น อาหารแปรรูป ของหมักดอง และเครื่องปรุงต่าง ๆ เช่น น้ำปลา ซีอิ๊ว ฯลฯ สามารถส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงไม่ควรได้รับโซเดียมเกิน 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน

 

  • ควบคุมปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์

การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก และดื่มเป็นประจำ สามารถทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้ ดังนั้น ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงจึงควรงดการดื่มแอลกอฮอล์ หรือควบคุมปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ให้เหมาะสม

 

  • ลดอาหารไขมันอิ่มตัว เพิ่มผัก ผลไม้สด

ไขมันอิ่มตัวมีผลในการเพิ่มไขมันเลว (LDL) ในหลอดเลือด เป็นความเสี่ยงที่ทำให้หลอดเลือดแดงแข็ง จึงควรหลีกเลี่ยง และเลือกรับประทานผัก ผลไม้สดที่มีโพแทสเซียมสูง เป็นผลดีต่อการควบคุมความดันโลหิตสูง

 

ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์

การลดน้ำหนักในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน (overweight) หรือ โรคอ้วน (obesity) มีผลลดความดันโลหิตสูงได้ จึงควรมีการติดตามควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ (BMI 18.5-22.9 ในคนเอเชีย)

 

ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถออกกำลังกายได้ ทั้ง Aerobic เช่น  ว่ายน้ำ เดิน วิ่ง และแบบ Strength training เช่น การยกน้ำหนัก แต่ควรมีการปรึกษาแพทย์เพื่อควบคุมความดันโลหิต รวมถึงตรวจหาโรคร่วมอื่นก่อนออกกำลังกาย

 

ผ่อนคลายความเครียด

ความเครียดเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ความดันโลหิตสูง ถ้าหากร่างกายเข้าสู่ภาวะเครียดก็จะหลั่งสารที่ชื่อว่าคอร์ติซอล (Cortisol) และอะดรีนาลีน (Adrenaline) ทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดเร็วขึ้น และผนังหลอดเลือดเกิดการหดเกร็ง จึงทำให้เกิดความดันโลหิตสูงขึ้น ดังนั้น จึงควรหมั่นคลายเครียดด้วยกิจกรรมต่าง ๆ เช่น โยคะ ฟังเพลง หรืออ่านหนังสือ เป็นต้น

งดสูบบุหรี่

สารต่าง ๆ ที่มีอยู่ในบุหรี่สามารถส่งผลให้ร่างกายเกิดการอักเสบ ผนังหลอดเลือดเกิดการอักเสบ และหลอดเลือดแข็งตัว จนทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือด ดังนั้น ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงจึงควรงดสูบบุหรี่

 

กินยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ

ถึงแม้ว่าภาวะความดันโลหิตสูงจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็สามารถควบคุมให้ความดันโลหิตอยู่ในระดับที่ปกติ จนไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตได้ นอกจากการเลือกรับประทานอาหาร รวมถึงการดูแลตัวเองด้วยวิธีต่าง ๆ แล้ว ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงควรกินยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ  และไม่ควรหยุดยา

 

วัดความดันโลหิตเป็นประจำ

การหมั่นวัดความดันโลหิตเป็นประจำสามารถช่วยให้ผู้ป่วยรู้ค่าความดันโลหิตของตัวเองอยู่เสมอ ถ้าหากพบว่าความดันโลหิตสูงผิดปกติก็จะได้เข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที

 

โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่มักถูกละเลยได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นวัยผู้สูงอายุหรือช่วงวัยอื่น ๆ เนื่องจากส่วนมากไม่มีอาการหรืออาจมีอาการเพียงเล็กน้อย แต่หากไม่ได้รับการรักษา จะนำไปสู่ภาวะการแทรกซ้อน เช่น หลอดเลือดสมองตีบ โรคหัวใจ ไตวายได้ การรักษาความดันโลหิตสูงด้วยยาควบคู่กับการปรับไลฟ์สไตล์ ออกกำลังกาย ลดเกลือ งดบุหรี่ มีความสำคัญอย่างมาก หากความดันโลหิตสูงได้รับการควบคุมให้ใกล้เคียงปกติ ก็จะเป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะตามมา

 

 

 

SHARE
ข่าวประชาสัมพันธ์อื่นๆ