คำแนะนำผู้ป่วยเข้าเฝือก

26 ก.ค. 2566 | เขียนโดย โรงพยาบาลสินแพทย์ เสรีรักษ์

คำแนะนำผู้ป่วยเข้าเฝือก



คำแนะนำผู้ป่วยเข้าเฝือก

 เฝือก คือ?
อุปกรณ์ที่ใช้ดามกระดูกและข้อ เพื่อต้องการให้อวัยวะส่วนนั้นอยู่นิ่งๆ ปัจจุบัน นอกจากเผือกที่ทำจากปูนปลาสเตอร์แล้ว ยังมีเผือกใยสังเคราะห์ที่มีน้ำหนักเบาแข็งแรง ทนทาน และมีสีสันสวยงามอีกด้วย

ควรจะเข้าเฝือกเมื่อไหร่ !
ㆍเมื่อมีกระดูกหัก หรือข้อเคลื่อน
ㆍป้องกันการหักของทระดูก ในกรณีที่เป็นโรคกระดูกเช่น โรคกระดูกโปร่งบาง หรือ เป็นเนื้องอกของ
กระดูก
ㆍระยะหลังการผ่าตัดที่ต้องการให้อวัยวะได้พักอยู่นิ่งเช่น เเขน หรือ ขา
ㆍป้องกันการหดรั้งของกล้ามเนื้อ หรือ เนื้อเยื่ออื่นๆเช่น ในผู้ป่วยแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

ข้อควรปฏิบัติเมื่อเข้าเฝือก
ㆍ ไม่ควรให้เพื่อกรับน้ำหนักทันที หรือ ลงน้ำหนักเดินบนเฝือก จนกว่าเฝือกจะแข็งแรงเต็มที่
ㆍ ยกแขน หรือขาส่วนที่เข้าเฝือก ให้สูงกว่าระดับลำตัวโดยเฉพาะใน 24 ชั่วโมงแรก เพื่อลดอาการบวม
ㆍ ระวังอย่าให้เฝือกเปียกน้ำ หรือ สิ่งสกปรกอย่างอื่นและอย่าให้น้ำเข้าไปภายในเฝือก
ㆍหากมีอาการคัน ห้ามใช้วัตถุสอดเข้าไปเกาในเฝือกเพราะอาจทำให้ผิวหนังมีแผลถลอก และระวังวัตฤ
ขนาดเล็กที่อาจหลุดเข้าไปในเฝือก จะทำให้เกิดแผลกดทับ และมีการติดเชื้อตามมาได้
ㆍหมั่นบริหารกล้ามเนื้อเป็นประจำสม่ำเสมอ โดยการเกร็งกล้ามเนื้อ ทั้งส่วนที่อยู่นอกเฝือกร่วมกับการขยับเคลื่อนไหวข้อส่วนที่อยู่นอกเฝือก
ㆍ ไม่ควรตัด แต่ง หรือถอดเฝือกด้วยตนเอง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียต่อกระดูกได้ เช่น กระดูกคดงอ

ข้อควรสังเกตระหว่างเข้าเฝือก

  • เฝือกมีการแตกร้าว รู้สึกว่าเฝือกแน่นเกินไป หรือหลวมหลุด
  • มีอาการปวดมาก โดยเฉพาะบริเวณที่เฝือกกดทับ
  • ปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า ข้างที่เข้าเฝือก มีอาการปวดบวม เขียวคล้ำ หรือซีดขาว รู้สึกชา เคลื่อนไหวได้น้อยและอาการไม่ทุเลาแม้จะยกส่วนที่ใส่เฝือกให้สูง
  • มีเลือด น้ำเหลือง หนอง หรือกลิ่นเหมืนออกมาจากเฝือกผิวหนังบริเวณขอบเฝือกถลอก หรือบวมแดง
    **เมื่อพบสิ่งผิดปกติดังกล่าวควรรีบมาพบแพทย์

 ข้อปฏิบัติภายหลังการเข้าเฝือก

  • บริเวณที่เคยใส่เฝือกให้ทำความสะอาดบริเวณนั้นเบาๆด้วยสบู่และน้ำอาจทาน้ำมัน หรือโลชั่น เพื่อให้ผิวหนังชุ่มชื่น
  • เริ่มเคลื่อนไหวข้อที่ถอดเฝือกอย่างนุ่มนวล
  • ถ้ามีอาการบวมหลังจากเดิน หรือห้อยแขน ขา ควรยกแขน ขา ให้สูง โดยใช้หมอนหรือวัสดุอ่อนนุ่มรองไว้เช่นเดียวกับที่ทำในขณะเข้าเฝือกอยู่
  • ไม่ควรใช้งานอวัยวะส่วนนั้นเต็มที่ จนกว่ากล้ามเนื้อจะแข็งแรง หรือปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
SHARE
ข่าวประชาสัมพันธ์อื่นๆ