โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับสตรีวัยทอง

ระยะเวลา : 1 เมษายน 2567 - 31 ธันวาคม 2567

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับสตรีวัยทอง
Perimenopausal Program for Female

สำหรับสตรีที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกายและจิตใจจากระดับฮอร์โมนเพศที่เปลี่ยนแปลง

  1. ตรวจร่างกายโดยอายุรแพทย์ (Physical Examination by Internal Medicine)
  2. ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)
  3. ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (FBS)
  4. ตรวจการทำงานของไต (BUN)
  5. ตรวจการทำงานของไต (Creatinine)
  6. ตรวจระดับกรดยูริค (Uric Acid)
  7. ตรวจระดับไขมันในเลือด (Lipid Profile + LDL)
  8. ตรวจการทำงานของตับ (SGOT)
  9. ตรวจการทำงานของตับ (SGPT)
  10. ตรวจระดับฮอร์โมน Estradiol
  11. ตรวจระดับฮอร์โมน FSH
  12. ตรวจปัสสาวะสมบูรณ์แบบ (Urine Analysis)
  13. เอกซเรย์ทรวงอกเพื่อดูปอดและหัวใจ (Chest x-ray)
  14. ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
  15. ตรวจหาภาวะหลอดเลือดแข็งตัว และอุดตัน (ABI)
  16. อัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง (Ultrasound Lower Abdomen)
  17. โปรแกรมตรวจหามะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี(Thin Prep) โดยสูตินรีแพทย์
  18. ตรวจวัดความหนาแน่นมวลกระดูก (Bone Mineral Density)
  19. ตรวจหาความผิดปกติของเต้านมด้วยดิจิตอลแมมโมแกรม ร่วมกับอัลตร้าซาวน์เต้านม (Digital Mammogram + Ultrasound Breast)
  20. ตรวจสุขภาพตาโดยจักษุแพทย์ วัดลานสายตา วัดความดันตาด้วยระบบคอมพิวเตอร์

ราคา   11,500   บาท






รายการตรวจพิเศษเพิ่มเติม


รายการ ราคา
1. ตรวจหาความผิดปกติของเต้านม / คัดกรองมะเร็งเต้านม Digital Mammogram + Ultrasound breast 2,200 บาท
2. ตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test) 3,000 บาท
3. ตรวจวัดความหนาแน่นมวลกระดูก (Bone Mineral Density) สรุปผลการตรวจโดยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านกระดูกและข้อ 1,900 บาท
4. ตรวจคลื่นเสียงสะท้อนเป็นภาพหัวใจ (Echocardiogram) 2,900 บาท
5. ตรวจหามะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี Thin Prep 1,749 บาท
6. ตรวจหาเชื้อไวรัสต้นเหตุมะเร็งปากมดลูก (HPV Cervista) และตรวจหามะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Thin prep 2,650 บาท
7. ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งตับ (AFP) 380 บาท
8. ตรวจหาสารบ่งชี้ในกระเพาะอาหาร และลำไส้ (Cancer Marker for large intestine : CEA) 380 บาท
9. ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) 520 บาท
10. ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งตับอ่อน (CA19-9) 640 บาท
11. ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งรังไข่ (CA 125) 720 บาท
12. ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งรังไข่อย่างละเอียด (CA125+HE4) 1,800 บาท
13. ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี (HBsAg) 200 บาท
14. ตรวจหาภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบ บี (HBsAb) 300 บาท
15. อัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนบน (Ultrasound Upper Abdomen) 1,400 บาท
16. อัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง (Ultrasound Lower Abdomen) 1,400 บาท
17. อัลตราซาวด์อวัยวะในช่องท้องทั้งหมด (Ultrasound Whole Abdomen) 2,400 บาท
18. ตรวจสมรรถภาพของปอด (Pulmonary Function Test) 620 บาท
19. ตรวจสภาพหลอดเลือดหัวใจ และวัดปริมาณคราบหินปูน ด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ 128 สไลซ์ (CTA) 19,900 บาท
20. ตรวจวัดปริมาณแคลเซียมหรือคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Calcium Score) 4,000 บาท
21. ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งลำไส้จากอุจจาระ (Fecal Occult Blood & Infammation Screening) 1,150 บาท
22. ตรวจปริมาณไขมันแทรกตับ และ ภาวะตับแข็ง ด้วย Fibroscan 3,200 บาท





เพราะสุขภาพที่ดีเปรียบได้กับของขวัญที่มีค่าอันยิ่งใหญ่ หากขาดการดูแลอย่างสม่ำเสมอ อาจะทำให้เกิดการเจ็บป่วยและมีโรคร้ายแรงจนยากต่อการรักษาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม เช่น เบาหวาน หัวใจ หรือ ความดันโลหิตสูง ประกอบกับสภาพแวดล้อมและการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป อุปนิสัยในการบริโภค ความเครียด การสูบบุหรี่ และดื่มสุรา ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคต่างๆ ได้มากขึ้น

การตรวจสุขภาพไม่ใช่เพียงการเจาะเลือดหรือเอกซเรย์แต่สิ่งสำคัญที่สุดของการตรวจสุขภาพ คือ การพบแพทย์ ในการตรวจหากความผิดปกติ ตั้งแต่ก่อนมีอาการหรือก่อนที่โรคจะลุกลาม เพราะการรักษาโรคในระยะเริ่มต้นนั้นจะได้ผลดีกว่า

 

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพ

  1. งดอาหารอย่างน้อย 8-12 ชั่วโมง (ดื่มน้ำเปล่าได้ในปริมาณที่ไม่มากกว่าปกติ)
  2. งดอาหาร และน้ำอย่างน้อย 6 ชั่วโมง ในกรณีที่มีการตรวจอัลตราซาวด์
  3. ควรสวมเสื้อที่สะดวกในการเจาะเลือดที่ข้อพับแขน
  4. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
  5. กรณีตรวจอุจจาระ (Stool Examination, Stool Occult Blood) ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัวต์ หรือ ผลิตภัณฑ์จากเลือดสัตว์ และวิตมินซีอย่างน้อย 3 วัน
  6. ในสตรีที่ตั้งครรภ์ หรือ สงสัยว่าจะตั้งครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงการเอกซเรย์ หรือ การตรวจ Mammogram
  7. การตรวจภายในสตรี หรือ ตรวจมะเร็งปากมดลูก ควรตรวจหลังจากมีประจำเดือนวันสุดท้ายอย่างน้อย 7 วัน

 

การเตรียมตัวก่อนตรวจ Mammogram

  1. ควรหลีกเลี่ยงการตรวจแมมโมแกรมในช่วงก่อนที่มีประจำเดือน เพราะเป็นช่วงที่หน้าอกคัดตึงและขยาย อาจช่วยให้เจ็บหน้าอกน้อยลงและถ่ายภาพเต้านมได้ดีขึ้น
  2. แนะนำให้ตรวจหลังมีประจำเดือน 7-10 วัน
  3. ผู้ที่มีการเสริมหน้าอกต้องแจ้งผู้ตรวจล่วงหน้าว่ามีการเสริมหน้าอก
  4. ควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สะดวกต่อการถอดเปลี่ยนก่อนการเอกซเรย์บริเวณเต้านม
  5. ไม่ควรฉีดน้ำหอม ทาโลชั่น แป้ง หรือโรลออนใด ๆ บริเวณระหว่างช่องแขนลงไปจนหน้าอกก่อนตรวจแมมโมแกรม ซึ่งอาจทำให้เกิดความคาดเคลื่อนในการถ่ายภาพได้
  6. ในกรณีที่มีการตรวจแมมโมแกรมในสถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลแห่งใหม่ ควรมีการขอแฟ้มประวัติการตรวจแมมโมแกรมเดิมไปให้แห่งใหม่ เพื่อการเปรียบเทียบผลการตรวจที่แม่นยำ

** หญิงตั้งครรภ์หรือมีความเป็นไปได้ในการตั้งครรภ์อาจได้รับผลกระทบจากการตรวจแมมโมแกรม เนื่องจากขั้นตอนการตรวจที่ทำให้ร่างกายได้รับรังสี แม้ว่าระดับรังสีจะอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ แต่ก็มีโอกาสกระทบต่อการพัฒนาของทารกในครรภ์ จึงควรมีการแจ้งแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ฉายรังสีก่อนทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของทารกในครรภ์

 

***หมายเหตุ

  1. โปรแกรมดังกล่าวรวมค่าแพทย์ และค่าบริการโรงพยาบาล
  2. เงื่อนไขเป็นไปตามที่โรงพยาบาลกำหนดโรงพยาบาล
  3. ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงราคา โดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า

SHARE
Recommened Program & Packages

We Are Family Check-Up สุขภาพดี ยกตระกูล
We are family 1
ราคา
17,200 ฿
We Are Family Check-Up สุขภาพดี ยกตระกูล
We are family 2
ราคา
14,900 ฿
We Are Family Check-Up สุขภาพดี ยกตระกูล
We are family 3
ราคา
6,500 ฿