“โรคคอตีบร้ายแรง แต่ป้องกันได้”

>16 ก.พ. 2563 | เขียนโดย พญ.ร่มเย็น ศักดิ์ทองจีน

คอตีบ หรือ ดิฟทีเรีย (Diphtheria)

เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่เกิดจากติดเชื้อแบคทีเรียชนิด Corynebacterium diphtheriae ผ่านทางการไอ จาม รดกัน หรือใช้สิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อร่วมกัน ทําให้เกิดการอักเสบขึ้นในช่อง ทางเดินหายใจ ตั้งแต่โพรงจมูกจนถึงทางเดินหายใจส่วนล่าง ในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีแผ่นเยื่อลักษณะเป็น ปื้นสีขาวเทาหรือเหลืองเทาเกิดขึ้นในช่องลําคอจนทําให้มีภาวะทางเดินหายใจตีบแคบและอุดตันได้ และเป็น ที่มาของชื่อโรค “คอตีบ” ผู้ป่วยบางรายมีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงเกิดขึ้น เช่น ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เส้น ประสาทอักเสบ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้มักเป็นสาเหตุทําให้ผู้ป่วยเสียชีวิต

 

ประเทศไทยยังพบโรคคอตีบอยู่บ้างประปรายตลอดทั้งปี และเคยมีการระบาดใหญ่ของโรคคอตีบในผู้ใหญ่ เนื่อง จากผู้ใหญ่โดยเฉพาะกลุ่มอายุ 20-50 ปี มีระดับภูมิคุ้มกันไม่เพียงพอต่อการป้องกันโรคคอตีบ เนื่องจากไม่ได้รับ การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นทุก 10 ปี ส่วนในกลุ่มเด็กเล็กประเทศไทยมีโปรแกรมการฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ตั้งแต่ ทารกอายุได้ 2 เดือน การระบาดที่เกิดขึ้นประปรายแต่ละครั้งจึงมักพบในเด็กที่ยังไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนหรือ ฉีดวัคซีนไม่ครบ ซึ่งมักจะเป็นกลุ่มเด็กที่มีฐานะยากจนหรืออาศัยอยู่บริเวณชายแดน หรือเป็นกลุ่มคนที่อพยพ มาจากประเทศเพื่อนบ้าน

 

โรคคอตีบติดต่อกันอย่างไร?

สามารถติดต่อกันได้ง่ายและระบาดได้รวดเร็ว จากคนสู่คน โดยเชื้อจะอยู่ในนํ้ามูก นํ้าลาย หรือเสมหะของผู้ป่วย หรือผู้ที่เป็นพาหะของโรค (ไม่แสดงอาการแต่ยังคงแพร่เชื้อได้) และอาจพบเชื้อที่ผิวหนังได้ด้วย ดังนั้นเมื่อผู้ ป่วยไอหรือจามรด รวมถึงการพูดคุยกับผู้ป่วยในระยะประชิด การใช้สิ่งของร่วมกัน (เช่น ช้อน แก้วนํ้า ผ้าเช็ดตัว ของเล่น) ผู้สัมผัสก็สามารถติดเชื้อได้

 

ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ?

ผู้ที่ยังไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนหรือฉีดวัคซีนไม่ครบ, ผู้ใหญ่ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนกระตุ้น, ผู้ที่สัมผัสกับผู้ป่วย ที่เป็นโรคคอตีบ, ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคตํ่าหรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง, ผู้ที่อยู่อาศัยในสิ่งแวดล้อมที่แออัดและ ขาดสุขอนามัย และผู้ที่เดินทางไปยังสถานที่ที่มีการระบาดของโรค

 

อาการของโรคคอตีบ

หลังได้รับเชื้อประมาณ 1-7 วัน (โดยเฉลี่ย 3 วัน) ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ตํ่า ๆ ปวดศีรษะ ครั่นเนื้อครั่นตัว เจ็บคอ มาก กลืนลําบาก คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลียมาก บางรายจะพบอาการต่อมนํ้าเหลืองบริเวณลําคอโต และพบแผ่นเยื่อสีเทาหรือเหลืองปนเทา ดูคล้ายเศษผ้าสกปรกยึดติดแน่นกับเนื้อเยื่อปกติอยู่บริเวณต่อมทอนซิล คอหอย ลิ้นไก่ และเพดานปาก (แผ่นเยื่อนี้เกิดจากการเจริญเติบโตของกลุ่มเชื้อแบคทีเรียซึ่งมีการสร้างสารพิ ษออกมาทําให้เนื้อเยื่อบริเวณโดยรอบตายลงและซ้อนทับกัน โดยจะพบเกิดได้ตั้งแต่ในโพรงจมูกลงไปจนถึง ลําคอ แต่พบได้บ่อยที่สุดในบริเวณต่อมทอนซิลและคอหอย) ซึ่งแผ่นเยื่อนี้จะเขี่ยออกได้ยาก ถ้าฝืนเขี่ยออก จะทําให้มีเลือดออกได้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการคอบวมมาก คล้าย ๆ คอวัว เรียกว่า “อาการคอวัว” (Bull neck) ซึ่งบางรายอาจกดทับหลอดเลือดดําที่คอ ทําให้ใบหน้ามีสีคลํ้าจากการมีเลือดคั่ง กรณีดังกล่าวผู้ป่วยจะมี อาการหายใจเสียงดัง วี๊ด หายใจลําบาก เหนื่อยหอบ ซึ่งเป็นอาการแสดงของทางเดินหายใจอุดตัน ซึ่งหากไม่ ได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้

 

ภาวะแทรกซ้อนของโรคคอตีบ

  • ภาวะทางเดินหายใจตีบตัน มักเกิดในช่วงวันที่ 2-3 ของโรคในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หากผู้ ป่วยไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ผู้ป่วยมักจะเสียชีวิต
  • ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ มักเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 10-14 ของการเจ็บป่วย (แต่อาจพบได้ใน 6 สัปดาห์) ทําให้มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจบีบตัวผิดปกติ เกิดภาวะหัวใจวาย และอาจทําให้เสียชีวิตอย่าง ฉับพลันได้ ซึ่งจะมีอัตราการเสียชีวิตจากภาวะนี้สูงถึง 50%
  • ภาวะเส้นประสาทอักเสบ ทําให้กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า ลูกตา กล้ามเนื้อที่ควบคุมการกลืนเป็น อัมพาต ผู้ป่วยอาจมีอาการกลืนลําบาก พูดเสียงขึ้นจมูก ขย้อนนํ้าและอาหารออกทางจมูก อาจมีอาการตาเหล่ มองเห็นภาพซ้อน บางรายอาจมีการอ่อนแรงของกระบังลมร่วมด้วยทําให้หายใจลําบาก และอาจทําให้เสียชีวิตได้
  • ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น ภาวะไตวาย ไตทํางานผิดปกติ มีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ

 

การวินิจฉัยโรคคอตีบ

แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคนี้ได้จากประวัติอาการ ประวัติการสัมผัสโรค ประวัติการฉีดวัคซีน การตรวจร่างกาย การนําหนองหรือสารคัดหลั่งจากหลังโพรงจมูกหรือจากลําคอไปตรวจย้อมดูเชื้อและเพาะเชื้อ และอาจมีการ ตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยและดุลยพินิจของแพทย์

วิธีรักษาโรคคอตีบ

เมื่อแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคคอตีบ แพทย์จะรับตัวเข้ารักษาในโรงพยาบาลและให้อยู่ในห้องแยกโรคเพื่อ ป้องกันการแพร่กระจาย และพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะ และยาต้านพิษ เชื้อคอตีบ ตามข้อบ่งชี้ แพทย์จะเฝ้าระวัง เรื่องภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเรื่องระบบหายใจ และระบบไหลเวียนโลหิตเนื่องจากโรค คอตีบอาจจะทําให้เกิดภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ รวมถึงสํารวจและซักประวัติผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย เพื่อ วินิจฉัยและให้การรักษาผู้ที่มีเชื้ออยู่ และให้วัคซีนป้องกันโรคคอตีบแก่ผู้สัมผัส

 

วิธีป้องกันโรคคอตีบ

โรคคอตีบสามารถป้องกันได้ด้วยวิธีง่าย ๆ โดยการรักษาสุขอนามัยทั่วไปเป็นประจําสมํ่าเสมอ หลีกเลี่ยงการอยู่ ใกล้ชิด

การสัมผัสผู้ป่วยในระยะติดต่อ การใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกัน และป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน ดังนี้

  • สําหรับเด็กให้ฉีดวัคซีนตามโปรแกรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันของกระทรวงสาธารณสุข คือ ให้ฉีดในรูปแบบของวัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก และไอกรน (DTP vaccine) ทั้งหมด 5 เข็ม เป็น ระยะ ๆ จากอายุ 2 เดือนจนถึงอายุ 6 ปี โดยเข็มแรกให้ฉีดที่อายุ 2 เดือน, เข็มที่ 2 อายุ 4 เดือน, เข็มที่ 3 อายุ 6 เดือน, เข็มที่ 4 อายุ 18 เดือน และเข็มที่ 5 เมื่ออายุประมาณ 4-6 ปี ต่อจากนั้นให้ฉีดกระตุ้นเมื่ออายุได้ประมาณ 12-16 ปี
  • ในผู้ใหญ่ถ้าเคยได้รับวัคซีนครบมาก่อนแล้ว ควรมีการฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี (Td vaccine และ ให้กระตุ้นด้วย Tdap หนึ่งครั้ง)
  • ถ้าไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน ให้เริ่มรับการฉีดวัคซีนทันที
  • ผู้ป่วยที่หายจากโรคคอตีบแล้ว อาจไม่มีภูมิคุ้มกันโรคเกิดขึ้นอย่างเต็มที่ จึงอาจมีโอกาสเป็นโรค คอตีบซํ้าได้อีก ดังนั้น จึงต้องมีการฉีดกระตุ้นเพื่อป้องกันโรคแก่ผู้ป่วยที่หายแล้วทุกคน

 

 

พบแพทย์เฉพาะทาง แผนกกุมารเวช ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ (คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์ 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์

SHARE