ภาวะฉุกเฉินในเด็ก ตรวจได้แค่ปลายนิ้ว

>16 ก.พ. 2563 | เขียนโดย พอ.ผศ.นพ.ชาตรี เรืองฤทธิ์นำชัย

แผนกเด็ก ร.พ.สินแพทย์ ตรวจภาวะฉุกเฉินในเด็กได้จากการตรวจแค่ปลายนิ้ว เพิ่มมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังเป็นการป้องกันหรือช่วยลดอุบัติการณ์ที่อาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงกับผู้ป่วยได้ ถือเป็นการตรวจวัดสัญญาณชีพตัวที่5 ที่จากเดิมหรือมาตรฐานทั่วๆไป มีเพียง 4 ตัว โดยเป็นการตรวจวัดระดับเปอร์เซนต์ออกซิเจน (O2saturation) จากปลายนิ้วของเด็กด้วยเครื่อง Pulse Oximeter เป็นการตรวจที่ง่าย รวดเร็ว เด็กไม่ต้องเจ็บตัวจากการตรวจ โดยใช้เพียงอุปกรณ์ที่มีรังสีอินฟาเรด หนีบที่ปลายนิ้วของเด็ก ในเวลาไม่เกิน 10 วินาที รังสีจะวัดเปอร์เซนต์ของฮีโมโกลบินที่จับกับออกซิเจนภายในเม็ดเลือดแดง และบอกได้ว่าขณะนี้เด็กมีความต้องการออกซิเจนเพื่อการรักษาหรือไม่ หรือจำเป็นต้องได้รับการตรวจร่างกายอื่นๆ เพิ่มเติมหรือไม่ เช่น เอกซ์เรย์ดูปอดและหัวใจ ตรวจเลือด ตรวจคลื่นเสียงสะท้อนเป็นภาพหัวใจ(เอ็กโค่ : Echocardiography) หรือจำเป็นต้องรับไว้พักรักษาตัวในโรงพยาบาล เพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิด

 

โดยค่าที่วัดได้ จะกำหนดเป็นเกณฑ์ในการแยกประเภทผู้ป่วย เพื่อความเร่งด่วนในการตรวจรักษาดังนี้

 

ถ้าได้ค่า O2saturation ≥95% ถือว่าปกติ
ถ้าได้ค่า O2saturation = 90-94% จำเป็นต้องได้รับการดูแลและตรวจรักษาอย่างเร่งด่วน
ถ้าได้ค่า O2saturation < 90% จำเป็นต้องได้รับการดูแลและตรวจรักษาทันที รวมทั้งเฝ้าระวังติดตามอาการอย่างใกล้ชิด พร้อมวัดซ้ำหากไม่ดีขึ้นก็จำเป็นต้องพักรักษาตัวในร.พ.

 

จากข้อมูลในปี 2550ได้ทำการตรวจวัดระดับเปอร์เซนต์ออกซิเจนจากปลายนิ้วในเด็กที่เข้ารับการตรวจรักษาที่ร.พ.สินแพทย์ทุกราย ในแผนกผู้ป่วยนอกเด็กประมาณ 54,000 คน และในแผนกฉุกเฉิน ประมาณ 300 คน พบว่า

 

ที่แผนกผู้ป่วยนอกเด็ก ได้ค่า O2saturation <95% ทั้งหมด 19 คน คิดเป็น 0.03%
ที่แผนกฉุกเฉิน ได้ค่า O2saturation <95% ทั้งหมด 4 คน คิดเป็น 1.2%

 

ในจำนวนที่ได้ค่าเปอร์เซนต์ออกซิเจนต่ำกว่า95% นี้ พบว่ามีหลอดลมอักเสบ(Acute Bronchitis) 17 ราย, ภาวะชักจากไข้สูง(Febrile Convulsion) 4 ราย, ปอดอักเสบ(Pneumonia) 1 ราย, หอบหืด 1 ราย ซึ่งเด็กในกลุ่มนี้ได้รับการรักษาด้วยความเร่งด่วน และเฝ้าติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ไม่พบมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมา

 

จากผลการศึกษาในเรื่องนี้ ช่วยให้คนไข้ของร.พ.สินแพทย์ ได้รับการตรวจประเมินความเสี่ยงก่อนที่จะเกิดอันตรายที่ร้ายแรงต่อไปได้มาก รวมถึงใช้วิธีการวัดระดับเปอร์เซนต์ออกซิเจนในเลือดจากปลายนิ้วเป็นเกณฑ์มาตรฐาน ในการดูแลผู้ที่เข้ารับการตรวจและรักษาที่ร.พ.สินแพทย์ทุกรายอีกด้วย ในการนี้ นพ.ชาตรี ได้รับเกียรตินำผลการศึกษานี้ไปเสนอในที่ประชุมนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก หัวใจเด็กและศัลยกรรมหัวใจเด็ก ครั้งที่2 ที่เกาะเชจู ประเทศเกาหลี เมื่อวันที่ 27-30 พฤษภาคม 2551 ที่ผ่านมาอีกด้วย

 

พบแพทย์เฉพาะทาง แผนกกุมารเวช ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ (คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์ 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์

 

SHARE