ภาวะชักจากไข้สูงในเด็ก

20 ธ.ค. 2562 | เขียนโดย พญ.พัชรวลัย รัศมิทัต กุมารแพทย์ทารกแรกเกิด

พบบ่อยในเด็กเล็ก เมื่อลูกมีอาการชักจะเป็นที่น่าตกใจสำหรับคุณพ่อคุณแม่และผู้ดูแล เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติเบื้องต้นสำหรับคุณพ่อคุณแม่ เราจึงควรทำความรูจักภาวะนี้

 

ภาวะชักจากไข้สูง เกิดในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5-6 ปี ที่มีไข้มากกว่า 38 oC

 

อุบัติการณ์

เกิดได้ 2-4 % ของเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี (ข้อมูลจากต่างประเทศ)

 

สาเหตุ

เด็กจะมีไข้จากการติดเชื้อที่ระบบใดระบบหนึ่งในร่างกายที่ไม่ใช่ในระบบประสาทและสมอง เช่น ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร แล้วทำให้เกิดอาการชักขึ้น เนื่องจากสมองของเด็กยังไม่เจริญเต็มที่

 

ปัจจัยเสี่ยง

มีประวัติชักในครอบครัว

 

อาการแสดง

อาการชักมักเกิดขึ้นในวันแรกของไข้ แต่บางครั้งก็พบว่าอาการชักนำมาก่อนอาการเจ็บป่วยอื่นๆ เช่น มีไข้แล้วก็มีชักเลยอาการน้ำมูก ไอ หวัด อาจตามมาที่หลังได้ส่วนใหญ่มักจะมีไข้มากกว่า 39 oC

ลักษณะของการชัก

  1. มีอาการชักเกร็ง กระตุกของหน้า แขนขา และหมดสติ ส่วนใหญ่จะชักไม่นานประมาณ 1-2 นาที (แต่บางรายชักนานได้ถึง 15 นาที) หลังชักเด็กมีอาการง่วงซึมหลับไป ไม่พบมีอาการแขนขาอ่อนแรง พบได้มากที่สุดในภาวะชักจากไข้สูง
  2. มีอาการชักนานกว่า 15 นาที อาจมีภาวะแขนขาอ่อนแรงด้วยพบได้น้อยกว่าแบบที่ 1

ข้อควรปฏิบัติเมื่อลูกชัก

เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายจากการชัก เช่น สำลัก หรือชักนานจนเกิดภาวะขาดออกซิเจนให้ปฏิบัติ ดังนี้

  1. จับลูกตะแคงซ้าย (เพื่อป้องกันการสำลัก)
  2. ห้ามนำช้อนหรืออุปกรณ์หรือนิ้วมือเข้าไปในปากลูกขณะชัก
  3. เช็ดตัวเพื่อให้ไข้ลง
  4. รีบนำส่งโรงพยาบาลใกล้บ้านทันที

 

ภาวะชักจากไข้สูงจะทำให้เกิดอันตรายต่อสมอง หรือมีผลต่อการพัฒนาการ หรือสติปัญญาหรือไม่ โดยทั่วไป ถ้าชักไม่นาน 2-3 นาที ไม่มีเขียวร่วมด้วย มักไม่มีผลต่อสมอง

 

มีโอกาสชักซ้ำหรือไม่

มีโอกาสชักซ้ำ 30-35% ซึ่งมักเกิดภายใน 1-2 ปีแรก

 

การป้องกัน

เมื่อมีไข้ให้รับประทานยาลดไข้ เช็ดตัวให้ไข้ลงและไปพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุของไข้ ไม่แนะนำให้รับประทานยากันชักป้องกัน เมื่ออายุ 5-6 ปี ภาวะชักจากไข้สูงจะหายไปเอง

 

พบแพทย์เฉพาะทางสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ #คลิ๊กเลย

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์ 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์

SHARE