การดูดเสมหะ

>20 ก.ค. 2563 | เขียนโดย รพ. เด็กสินแพทย์

การดูดเสมหะ (Nasopharyngeal Suction)

 

เป็นวิธีการช่วยกำจัดเสมหะในผู้ป่วยที่การไอไม่มีประสิทธิภาพและไม่สามารถบ้วนเสมหะได้ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็กหรือเด็กโตรวมถึงผู้ป่วยที่มีปัญหาทางระบบประสาทและกล้ามเนื้ออ่อนแรงโดยทั่วไปมักใช้การดูดเสมหะร่วมกับการพ่นยา และเคาะปอดหรือจัดท่าเพื่อระบายเสมหะ

 

การเตรียมตัวก่อนการดูดเสมหะ

 

แนะนำให้งดน้ำงดอาหาร 2 ชั่วโมงก่อนดูดเสมหะ เพื่อลดโอกาสการเกิดการสำลักอาหารหรือสิ่งแปลกปลอม

 

ขั้นตอนการดูดเสมหะ

 

– ห่อตัวเด็ก เนื่องจากเด็กมักไม่ให้ความร่วมมือ

– จับหน้าเด็กตะแคงไปด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้เกสะบัดหน้าไปมาขณะดูดเสมหะ และป้องกันไม่ให้เกิดการสูดสำลักเสมหะหรือสิ่งแปลกปลอม และเศษอาหารลงปอด เนื่องจากเด็กอาจเกิดการอาเจียนขณะดูดเสมหะได้

– ค่อยๆ สอดสายยางดูดเสมหะเข้าทางปากหรือช่องจมูกและกระตุ้นให้เด็กไอ เมื่อเด็กไอเสมหะจะหลุดออกจากทางเดินหายใจส่วนล่างขึ้นมาในลำคอ

 

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังการดูดเสมหะ

– อาจเกิดเลือดออกจากการระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินหายใจ

– อาจมีจุดจ้ำเลือดเล็กๆ ใต้ผิวหนังบริเวณใบหน้า

– ออกซิเจนต่ำในระหว่างดูดเสมหะ

– ทำให้หลอดลมหดเกร็งและอาจเกิดการหยุดหายใจได้

– เสี่ยงต่อการติดเชื้อ

– ความรู้สึกของบิดา มารดา ของเด็กเนื่องจากไม่สุขสบาย

 

พบแพทย์เฉพาะทาง ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ (คลิก link เพื่อนัดพบแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์ 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์

SHARE