การเตรียมเต้านมก่อนให้นมลูก

>21 ก.ค. 2563 | เขียนโดย รพ. เด็กสินแพทย์

การเตรียมเต้านมให้พร้อม ช่วยให้คุณแม่มีความมั่นใจ และประสบผลสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้

 

วิธีตรวจและเตรียมเต้านม

 

1. ดูขนาดของเต้านม และ หัวนม

เพื่อค้นหาความผิดปกติ เช่น ก้อนผิดปกติในเต้านม ลักษณะหัวนมสั้น แบนบุ๋ม

 

2. ทดสอบความยืดหยุ่นของลานหัวนม

โดยใช้นิ้วชี้ และ นิ้วหัวแม่มือ จับฐานหัวนมดึงยืดขึ้นแล้วปล่อยเป็นจังหวะ

  • ถ้าดึงแล้วมีความรู้สึกว่า หัวนมและลานนมยืดตามแรงดึงได้ดีแสดงว่ายืดหยุ่นดี
  • ถ้าดึงแล้วมีแรงต้านมาก แสดงว่าความยืดหยุ่นน้อย
  • ถ้าดึงแล้วหัวนมไม่ตั้งขึ้น แต่กลับบุ๋มลงไป เรียกว่า หัวนมบุ๋ม

 

3. ดูลักษณะหัวนม

ลักษณะหัวนม  

  • หัวนมสั้น แบน บุ๋ม

โดยทั่วไปหัวนมยาวประมาณ 1 เซ็นติเมตร หากสั่นกว่านี้ และที่ผิวหนังบริเวณลานหัวนมตึงแข็ง จับดึงยืดหยุ่นไม่ได้ เด็กอาจจะดูดนมลำบาก แต่ในกรณีที่โคนหัวนมใหญ่ แต่ถ้าลานหัวนมยืดหยุ่นได้ดี แม้หัวนมสั้นลูกก็สามารถดูดได้ไม่ยาก

 

  • หัวนมบอด

เกิดจากหัวนมที่มีพังผืดยึดไว้ ตรวจได้โดยใช้นิ้วชี้ และหัวแม่มือกดปลิ้นหัวนมจับดึงขึ้นมา ถ้าสามารถดึงขึ้นมาได้บ้างจะใช้เวลาไม่นานแต่ถ้าไม่สามารถจับดึงขึ้นมาได้ ต้องรีบแก้ไขแต่เนิ่นๆ เพราะว่าอาจใช้เวลาเป็นเดือน

 

  • ความยืดหยุ่นของลานหัวนม

มีความสำคัญมากกว่าความยาวของหัวนม

 

4. การแก้ปัญหาหัวนมและลานหัวนมตึง โดยใช้อุปกรณ์

การใช้อุปกรณ์ช่วยในระยะก่อนคลอด อาจเป็นการกระตุ้นให้มีการหลั่งฮอร์โมน ที่กระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัว จึงควรระวังในผู้ที่มีประวัติแท้ง หรือ มีประวัติคลอดก่อนกำหนด ควรปรึกาาสูตินรีแพทย์ก่อนเสมอ

 

  • ลานหัวนมตึง / หัวนมสั้น

ประทุมแก้ว

ใช้ปทุมแก้วครอบให้หัวนมอยู่ตรงกลางรูของฐานปทุมแก้ว หัวนมจะยื่นขึ้นมาที่ขอบรู และส่วนปทุมแก้วที่นาบกับลานหัวนม จะช่วยนวดผิวหนังให้นุ่มในขณะแม่ขยับแขน เวลาเคลื่นไหว ควรติดตามผลถ้าลานหัวนมยืดหยุ่นดีแล้วหยุดการใช้ปทุมแก้ว มิฉะนั้นอาจทำให้ลานหัวนมหย่อนยาน อาจใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ ถึง 1 เดือน

 

  • หัวนมบอด

ดึงหัวนม

ดึงหัวนมด้วยอุปกรณ์ดึงหัวนม (Nipple puller) ดึงบ่อยๆ ทำวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ครั้งละ 10 นาที

 

5. สร้างความมั่นใจให้คุณแม่ในเรื่องขนาดของเต้านม

ขนาดเล็กหรือใหญ่ แตกต่างกันที่ปริมาณของไขมันในเต้านม แต่มีต่อมน้ำนมเท่ากัน สามารถสร้างน้ำนมให้มีปริมาณน้ำนมเพียงพอกับความต้องการของลูกได้เท่ากัน

 

6. ควรใส่ยกทรงที่มีขนาดพอเหมาะ

ปรับสายให้ตัวเสื้อรับน้ำหนักเต้านมได้พอดี ควรใส่ตลอดเวลาทั้งกลางวัน และ กลางคืน เพื่อพยุงเต้านมไว้มิให้หย่อนยานจากขนาดที่ใหญ่และหนักกว่าเดิม 2-3 เท่า

 

7. ทำความสะอาดเต้านมด้วยน้ำธรรมดาไม่ใช้สบู่

เพราะจะทำให้เต้านมแห้งและแตกง่าย

 

8. ดูแลไม่ให้ลานหัวนมอับชิื้น หรือผิวหนังเปื่อยแตกง่าย

ใช้ผ้าซับให้แห้ก่อนใส่เสื้อชั้นในทุกครั้ง ทั้งขณะที่ตั้งครรภ์และหลังคลอด

 

พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์ทารกแรกเกิด ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ (คลิก link เพื่อนัดพบแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์ 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์

SHARE