โรคแพนิค (Panic Disorder)

1 ก.ย. 2565 | เขียนโดย

เป็นโรคที่ได้รับความสนใจในยุคปัจจุบันที่การรับรู้ข่าวสารเข้าถึงง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งในโลกของโซเชียลมีเดียที่เต็มไปด้วยการแชร์ข้อมูลข่าวสารที่หลากหลาย ทำให้หลายคนมีภาวะตื่นตระหนก เกิดความเครียดสะสม กังวล จนอาจถึงภาวะเสี่ยงเป็นโรคแพนิคได้

การสังเกตตนเอง

                หากพบว่าตนเองใจจดใจจ่อกับข้อมูลข่าวสารตลอดเวลา ก็ครุ่นคิดแต่เรื่องนั้นมากจนเกินไป จนเรื่องดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ซึ่งจะส่งผลกระทบการใช้ชีวิต ทั้งการทำงาน การรับประทานอาหาร การพักผ่อน อาจสันนิษฐานได้ว่าเป็นอาการของโรคแพนิค

การดูแลตนเองเพื่อรับมือกับภาวะแพนิค

  • กำหนดเวลาชัดเจนในการใช้สื่อโซเชียล มีเดีย
  • จัดช่วงเวลาผ่อนคลายร่างกายและอารมณ์ เพื่อลดความเครียดสะสม
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อลดอาการง่วงซึมระหว่างวัน
  • ควบคุมอาหารบางประเภทที่กระตุ้นให้อาการกำเริบ เช่นคาเฟอีนหรือน้ำอัดลม
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

การหลีกหนีตัวเองออกมาจากสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีหรือการรับรู้ข่าวสารต่างๆที่ไปในทางลบ  พยายามพาตัวเองเข้าไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพื่อผ่อนคลายจากความเครียดและความวิตกกังวล ดูแลจิตใจตัวเองให้เข้มแข็งมีความสุขกับทุกวัน จะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันทางร่างกายและจิตใจ

SHARE
ข่าวประชาสัมพันธ์อื่นๆ