ปวดหลัง…ภัยร้ายที่ไม่อยากเจอ

1 ก.ย. 2565 | เขียนโดย

อาการปวดหลัง…เป็นอาการที่พบบ่อยในคนทำงานที่ใช้ทำงานออฟฟิศที่นั่งในท่าเดียวเป็นเวลานาน หรือคนที่ใช้แรงงาน อาการปวดหลังโดยส่วนใหญ่จะสามารถหายได้เอง แต่ในผู้ป่วยส่วนหนึ่งที่จะมีอาการเรื้อรัง ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมาน รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงาน ดังนั้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเช่น การเปลี่ยนท่านั่งในการทำงาน ทุกๆ 1 ชั่วโมง หรือหากมีอาการปวดไม่หายหรือปวดมากขึ้นเรื่อยๆจะแนะนำให้มาพบแพทย์

สาเหตุ

  • โครงสร้างของกระดูกสันหลังผิดปกติมาแต่กำเนิด
  • เกิดการบาดเจ็บของหลัง เช่น จากการยกของหนักบ่อยๆ หรือที่นั่งและที่นอนไม่เหมาะสม
  • ความผิดปกติของกระดูกสันหลัง เช่น กระดูกบางหรือกระดูกเสื่อม

การรักษา

การรักษาอาการปวดหลังโดยไม่ต้องผ่าตัด มีหลักการรักษาหลังให้อยู่ในท่าที่ถูกสุขลักษณะ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการปวดหลัง ได้เช่น

1.การนั่ง

ควรนั่งเก้าอี้ที่สูงพอดี เท้าทั้งสองข้างแตะพื้นและไม่ห่างจากโต๊ะทำงานมากเกินไป มีพนักพิงที่มีส่วนโค้งนูนเล็กน้อย เพื่อรองรับส่วนเว้าของบั้นเอวด้านหลัง ควรนั่งหลังตรง

2.การนอน

ความแข็งของที่นอน ต้องไม่นิ่มหรือแข็งจนเกินไป เมื่อนอนแล้วไม่ยุบตามน้ำหนักตัว

3.การยืน

เมื่อทำกิจกรรมใดๆ ขณะยืน ขาข้างใดข้างหนึ่ง วางบนที่พักขา หรือยืนพักสลับขาสักครู่หนึ่งสลับกันกับยืนทิ้งน้ำหนักบนขาสองข้างย่อเข่าเล็กน้อยให้หลังตรง

4.การเดิน

ไม่ใส่รองเท้าที่สูงเกินไป (ไม่เกิน 2 นิ้ว) เดินตัวตรง

5.ขณะยกสิ่งของ 

ค่อยๆย่อเข่าและสะโพก อย่าก้มตัวพยายามรักษาแนวกระดูกสันหลังส่วนเอวให้ตรงอยู่เสมอ ใช้กำลังข้อเข่ายืนขึ้นอย่าเอียงตัวขณะยกของหนักโดยให้สิ่งของอยู่ชิดกับลำตัวมากที่สุด

6.การเอื้อมหยิบของในที่สูง

ขณะหยิบของบนที่สูงให้ใช้เก้าอี้ที่มีความมั่นคง ต่อตัวขึ้นไปหยิบแทนการเอื้อมหรือเขย่ง

7.การขับรถ

ขยับเก้าอี้ให้ใกล้พวงมาลัยพอสมควร ให้ข้อเข่าอยู่ระดับเดียวกับข้อสะโพก นั่งตัวตรง หรือใช้หมอนบางๆหนุนรองที่บริเวณด้านหลังส่วนเอว

หรือในกรณีรักษาแบบไม่ผ่าตัดโดยการใช้ยา

  • ฉีดยาระงับปวดเข้าช่องไขสันหลัง (ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์)
  • ฉีดยาระงับปวดเข้าข้อต่อกระดูกสันหลัง
  • การทำกายภาพบำบัดและเข้าโปรแกรมออกกำลังกายฟื้นฟูสมรรถภาพ

การรักษาแบบผ่าตัด

  • ผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาทหรือไขสันหลัง
  • ผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังพร้อมกับใส่โลหะยึดกระดูก ในกรณีที่กระดูกสันหลังเสียความแข็งแรง
  • ฉีดสารยึดกระดูกในผู้ป่วยที่มีการยุบตัวของกระดูกสันหลังที่ปวดมากและมีภาวะกระดูกพรุน
SHARE
ข่าวประชาสัมพันธ์อื่นๆ