ปวดศีรษะ แบบไหนอันตราย

27 พ.ย. 2566 | เขียนโดย รพ.สินแพทย์ เสรีรักษ์

อาการปวดศีรษะ เป็นอาการแสดงของโรคไม่ใช่ตัวโรคเอง มีโรคอยู่หลายอย่างตั้งแต่โรคที่เป็นอันตรายรุนแรง อย่างโรคเนื้องอกในสมอง โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคไม่รุนแรง เช่น ปวดศีรษะจากความเครียด จะทราบได้อย่างไรว่าปวดศีรษะจากสาเหตุใด ?



อาการปวดศีรษะ เป็นอาการแสดงของโรคไม่ใช่ตัวโรคเอง มีโรคอยู่หลายอย่างตั้งแต่โรคที่เป็นอันตรายรุนแรง อย่างโรคเนื้องอกในสมอง โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคไม่รุนแรง เช่น ปวดศีรษะจากความเครียด

จะทราบได้อย่างไรว่าปวดศีรษะจากสาเหตุใด ?

โดยทั่วไปเรามักแบ่งโรคปวดศีรษะ ออกเป็น 2 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มที่มีรอยโรคอยู่ในสมองและศีรษะจริง ซึ่งเป็นอันตรายรุนแรงได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลา โดยอาจเกิดอันตรายรุนแรงถึงชีวิตได้ เช่น โรคเนื้องอกในสมอง, หลอดเลือดสมองโป่งพอง, เลือดออกในเยื่อหุ้มสมอง, เลือดคั่งในสมอง และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มที่ไม่ได้มีรอยโรคในสมอง หรือเยื่อหุ้มสมองเลย แต่เป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะเอง เช่น โรคไมเกรน, ปวดศีรษะจากความเครียด, ปวดศีรษะจากเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ, ปวดศีรษะจากเส้นประสาทใบหน้าอักเสบ

 

แล้วเราจะแยกได้อย่างไรล่ะครับว่าเราปวดศีรษะจากสาเหตุใน กลุ่มที่ 1 หรือกลุ่มที่ 2 ?

อาการปวดศีรษะในกลุ่มที่ 1 หรือกลุ่มที่มีรอยโรคในสมอง และมักเป็นอันตราย จะมีลักษณะ
อาการปวดศีรษะ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างเช่น

  1. ปวดทันทีและรุนแรงมาก
  2. ปวดมากแบบที่ไม่เคยปวดมาก่อนเลยในชีวิต
  3. ปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ ในเวลาหลายวัน หรือหลายสัปดาห์ โดยไม่มีช่วงหายดีเลย
  4. ปวดแบบใหม่ ซึ่งไม่เหมือนกับที่เคยปวดมาเป็นประจำ
  5. ปวดรุนแรง พร้อมกับมีอาการคอแข็ง หรืออาเจียนมาก
  6. ปวด พร้อมกับมีอาการอ่อนแรง มองเห็นภาพซ้อน ตามัว ซึมลง สับสน ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด หรือหมดสติ
  7. ปวดเมื่อ ไอ จาม หรือ เบ่งถ่ายอุจจาระจะยิ่งทวีความปวดขึ้น
  8. ปวดครั้งแรก เมื่ออายุมากกว่า 50ปี โดยไม่ได้มีโรคปวดหัวใด ๆ มาก่อน

ปัจจุบันเรื่องของการรักษาและเทคโนโลยี เป็นอย่างไรบ้าง

การตรวจเหล่านี้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้เลือกให้เหมาะสมกับอาการของโรคที่เราสงสัย และลักษณะของผู้ป่วย
เช่น ถ้าสงสัยภาวะเลือดคั่งในสมอง หรือเส้นโลหิตในสมองแตก ควรตรวจด้วยเครื่องเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) เนื่องจากเป็นภาวะฉุกเฉิน เครื่องนี้จะตรวจได้ไว และไม่จำเป็นต้องเตรียมการตรวจซับซ้อน ถ้าสงสัยหลอดเลือดขอดในสมอง, เนื้องอกในสมอง อาจต้องทำการตรวจด้วย เครื่องสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) โดย  MRI-Scan หรือ MRA-Scan เพื่อดูอย่างละเอียดทั้งในส่วนของสมองและหลอดเลือด ถ้าสงสัยภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือเลือดออกซึมในขั้นเยื่อหุ้มสมอง นอกจากการตรวจ CT-Scan หรือ MRI-Scan  แล้ว แพทย์จำเป็นต้องเจาะตรวจน้ำไขสันหลังเพื่อตรวจทางห้องปฏิบัติการอย่างละเอียดต่อไป

หากมีอาการปวดที่ชวนสงสัยโรคทางสมองที่กล่าวมาแล้ว ควรรีบพบแพทย์ หรือหากมีอาการไม่เหมือนข้อใดเลย แล้วรักษาไม่หาย ปวดศีรษะอยู่นาน ก็ควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาการใช้ยาที่ถูกต้อง ลดความเสี่ยงการเกิดผลข้างเคียงจากการกินยา อย่าลืมว่าโรคปวดศีรษะต้องรักษาที่ต้นเหตุของโรค

 

 

 

 

 

 

 

SHARE
ข่าวประชาสัมพันธ์อื่นๆ