ผ่าตัดสะโพก

25 ม.ค. 2567 | เขียนโดย

ข้อสะโพกเสื่อม: โรคที่เกิดขึ้นได้ทุกวัย ไม่ว่าใครก็มีสิทธิ์เป็น

โรคข้อสะโพกเสื่อม เป็นโรคที่นอกจากจะสร้างความเจ็บปวดแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ และที่อันตรายก็คือ หากเพิกเฉยต่ออาการที่เป็นสัญญาณเตือน และปล่อยทิ้งไว้ ก็อาจกลายเป็นอาการที่รุนแรงในที่สุด

 

โดยปกติแล้วคนทั่วไปมักเข้าใจกันว่า โรคข้อสะโพกเสื่อมคือโรคที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว อาการข้อสะโพกเสื่อม เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย แม้ผู้ที่มีอายุน้อยก็มีโอกาสเจ็บป่วยด้วยโรคนี้ได้ เพราะมีหลายปัจจัยที่เป็นสาเหตุทำให้ข้อสะโพกเสื่อม ดังนั้น การรู้เท่าทันอาการ และการเข้ารับการตรวจวินิจฉัยอย่างทันท่วงที เพื่อเข้ารับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม ทั้งการรักษาแบบไม่ผ่าตัด และการรักษาด้วยการผ่าตัดสะโพก จะช่วยเพิ่มโอกาสให้หายได้ และทำให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้ดังเดิม

 

สาเหตุของโรคข้อสะโพกเสื่อม

  • เกิดจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น เมื่ออายุมากขึ้นข้อต่อต่าง ๆ ในร่างกายเริ่มสึกหรอ จากการใช้งานมาเป็นเวลานาน
  • เกิดจากกรรมพันธุ์ มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นโรคข้อเสื่อมมาก่อน หรือคนในครอบครัวมีปัญหาข้อสะโพกคด โก่ง งอผิดรูป
  • มีประวัติการบาดเจ็บที่ข้อสะโพก เช่น เคยได้รับอุบัติเหตุข้อสะโพกหลุดหรือถูกกระแทกจนแตกหักมาก่อน
  • มีการใช้งานที่ไม่เหมาะสม เช่น การทำงานหนัก การออกกำลังกายผิดวิธี จนทำให้ข้อต่าง ๆ เสื่อมสภาพ
  • มีโรคประจำตัวที่ทำให้ข้อต่อเสื่อมสภาพ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
  • มีประวัติการติดเชื้อ การติดเชื้อในบริเวณสะโพก จะทำให้มีโอกาสเป็นโรคข้อสะโพกเสื่อมได้ง่ายมากขึ้น
  • มีการใช้ยาในกลุ่มสเตอรอยด์ หรือดื่มแอลกอฮอล์หนัก จนทำให้เซลล์ข้อสะโพกถูกทำลาย และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของโรคข้อสะโพกเสื่อม

 

สัญญาณเตือนโรคข้อสะโพกเสื่อม

  • มีอาการเจ็บบริเวณขาหนีบ
  • มีอาการปวดบริเวณต้นขา
  • ไม่สามารถนั่งท่าต่าง ๆ ได้ตามปกติ เช่น นั่งไขว่ห้างไม่ได้ นั่งพับเพียบไม่ได้ นั่งกางขาได้ไม่สุด
  • รู้สึกปวดเวลาที่ขยับร่างกาย ไม่ว่าจะยืน เดิน หรือนั่ง
  • ลำตัวโยกเอียงผิดปกติระหว่างเดิน

 

คนแก่ ผู้สูงอายุ ปวดข้อสะโพกเสื่อม

การรักษาโรคข้อสะโพกเสื่อม

การรักษาโรคข้อสะโพกเสื่อม สามารถแบ่งได้เป็นสองวิธี คือ

 

  • การรักษาแบบไม่ผ่าตัด แพทย์จะให้ผู้ป่วยพักการใช้งานข้อสะโพก และควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยในระหว่างการพักรักษาจะต้องงดการยกของหนัก, งดการนั่งท่าที่ต้องบิดงอข้อสะโพก และงดการนั่งลงบนพื้นที่เตี้ย ๆ ซึ่งแพทย์จะจ่ายยาแก้ปวด และให้ผู้ป่วยทำกายภาพบำบัดควบคู่ไปด้วย หากไม่ได้ผล แพทย์จะใช้วิธีฉีดยาเข้าข้อสะโพกเพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บปวด
  • การรักษาแบบผ่าตัด ในกรณีที่การรักษาด้วยการรับประทานยาและการทำกายภาพบำบัดไม่ได้ผล อีกทั้งผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมากจนไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ แพทย์จะแนะนำการรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
    • การตรวจ X-Ray หรือ CT Scan เพื่อนำข้อมูลไปวางแผนการผ่าตัดสะโพก
    • เมื่อได้ข้อมูลแล้ว แพทย์จะวางแผนการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เหมาะกับปัญหาและสภาพกระดูกของผู้ป่วยแต่ละราย
    • ทำการผ่าตัดสะโพก โดยการใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด เพื่อให้ได้ตำแหน่งที่แม่นยำ ลดความผิดพลาด ลดการบาดเจ็บ ลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน และช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว

 

ข้อห้ามหลังผ่าตัดสะโพก และการดูแลตัวเองที่เหมาะสม

คำถามที่หลายคนมักจะกังวลใจก็คือ หลังผ่าตัดสะโพกพักฟื้นกี่วัน และต้องดูแลตัวเองอย่างไรบ้าง ซึ่งการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันนี้ ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถลุกเดินได้ทันทีภายในวันที่ผ่าตัด และสามารถกลับบ้านได้ภายใน 3-4 วันหลังพักฟื้น แต่หลังจากนั้นผู้ป่วยก็จะต้องใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะในช่วง 2 เดือนแรก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการแทรกซ้อน และช่วยให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูร่างกายได้อย่างเต็มที่

 

ถึงแม้ว่าโรคข้อสะโพกเสื่อมจะมาพร้อมอาการเจ็บปวดที่กวนใจ และส่งผลต่อการใช้ชีวิต แต่หากเข้ารับการตรวจได้ทันท่วงที ก็จะช่วยให้แพทย์สามารถหาวิธีรักษาที่เหมาะสม ทั้งการรักษาแบบไม่ต้องผ่าตัด และการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เจ็บน้อย ฟื้นตัวไว ทำให้เราสามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติได้อย่างรวดเร็ว หากใครที่มีอาการเจ็บปวดผิดปกติ หรือสงสัยว่ามีความเสี่ยงโรคข้อสะโพกเสื่อม สามารถเข้าพบแพทย์เพื่อปรึกษาและรับการวินิจฉัยเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์โรคกระดูกสันหลังและข้อ โรงพยาบาลสินแพทย์ เสรีรักษ์ หรือติดต่อ Call Center 02-761-9888

 

SHARE
ข่าวประชาสัมพันธ์อื่นๆ