การผ่าตัดกล้องทางนรีเวช

27 ก.พ. 2566 | เขียนโดย

การผ่าตัดส่องกล้องทางนรีเวช

  • ปวดประจำเดือน
  • ปวดท้องน้อยเรื้อรัง
  • มีบุตรยาก

ถ้าคุณมีอาการและปัญหาหรือโรคดังต่อไปนี้ 

  • ปวดท้องน้อยเรื้อรัง
  • ปวดประจำเดือน
  • เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ถ่ายอุจจาระปวดเบ่งเวลามีประจำเดือน
  • เลือดระดูผิดปกติ ระดูมามาก มานาน หรือมากะปริดกะปรอย
  • ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
  • เนื้องอกในรังไข่หรือช็อคโกแลตซีสต์ค่าผลอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก
  • ติ่งเนื้อหรือพังผืดในโพรงมดลูก
  • พังผืดในอุ้งเชิงกราน
  • ภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก
  • ภาวะมีบุตรยากหรือภาวะแท้งซ้ำซาก การทำหมัน อื่นๆ

ข้อเสียของการผ่าตัดแบบเดิม (แบบเปิดหน้าท้อง)

            หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะมีอาการปวดแผลมาก ทำให้เคลื่อนไหวได้ลำบาก การทำงานของลำไส้กลับมาช้า จึงมีความจำเป็นต้องงดน้ำ และอาหารอย่างน้อย 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด เพื่อลดอาการท้องอืดและคลื่นไส้อาเจียน เนื่องจากความเจ็บปวดดังกล่าวพบว่าผู้ป่วยมีการใช้ยาแก้ปวดมากกว่าการผ่าตัดผ่านกล้อง ส่งผลให้การทำงานของลำไส้ลดลง ทำให้เกิดพังผืดในช่องท้องได้ง่ายและมีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรังได้

สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้คุณได้

การใช้กล้องเพื่อการส่องตรวจวินิจฉัยโรค และการรักษาทางนรีเวช คือ การนำกล้องผ่านเข้าไปในช่องท้อง โดยการเปิดแผลบริเวณสะดือขนาด 0.5 – 1 ซม.และนำกล้องซึ่งมีกำลังขยายสูงผ่านแผลบริเวณดังกล่าวเข้าไปสู่ช่องท้องทำให้แพทย์สามารถเห็นพยาธิสภาพ และรอยโรคภายในช่องท้อง ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการผิดปกติดังกล่าวข้างต้นได้อย่างชัดเจน และสามารถทำการผ่าตัดรักษาโดยการเปิดแผลบริเวณหน้าท้องขนาด 0.5 – 1 ซม. อีก 2 – 3 แห่ง เพื่อนำเครื่องมือเข้าไปทำการผ่าตัดภายในท้องได้ไม่แตกต่างจากการผ่าตัดแบบเดิมที่จำเป็นต้องเปิดแผลบริเวณหน้าท้องยาวประมาณ 10 – 15 ซม.

สามารถใช้การผ่าตัดผ่านกล้องทางหน้าท้องร่วมไปกับการทำหัตถการบางอย่างได้ด้วย เช่น

  • การส่องกล้องดูภายในโพรงมดลูก การฉีดสีในผู้ที่มีปัญหามีบุตรยาก เพื่อตรวจดูลักษณะของท่อน้ำไข่
  • การขูดมดลูก ซึ่งเป็นการผ่าตัดเอาเยื่อบุโพรงมดลูก ไปตรวจเพื่อวินิจฉัย หรือเพื่อการรักษา

 

ข้อดีของการผ่าตัดผ่านกล้อง

ผู้ป่วยใช้เวลาอยู่โรงพยาบาลเพียง 1 – 2 วันและพักฟื้นเพียง 5 – 7 วัน ก็สามรถไปทำงานได้ปกติ เนื่องจากแผลมีขนาดเล็กทำให้ปวดแผล และเสียเลือดน้อยกว่า แพทย์สามารถมองเห็นรายละเอียดของตำแหน่งที่จะทำการผ่านตัดแบบเดิมที่ดูด้วยตาเปล่า ไม่ต้องงดน้ำ งดอาหารนาน ผู้ป่วยสามารถดื่มน้ำ หรือรับประทานอาหารหลังผ่าตัดได้เร็วกว่าการผ่าตัดแบบเดิม โอกาสเกิดพังผืดมีน้อยกว่า ทำให้ลดเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดได้ดีกว่า

           แต่อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดผ่านกล้องไม่สามารถทดแทนการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องได้ทุกกรณี

           ดังนั้นการเลือกผู้ป่วยให้เหมาะสมชนิดของการผ่าตัด จึงเป็นเรื่องสำคัญเพื่อผู้ป่วยจะได้รับประสิทธิภาพของการรักษาสูงสุดและลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนให้ได้มากที่สุด

ศูนย์สุขภาพสตรี (woman’s Center) ชั้น 4 พร้อมให้บริการ

  • ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก
  • ตรวจความพร้อมก่อนมีบุตร
  • ตรวจภาวะมีบุตรยาก
  • การฉีดเชื้อผสมเทียม
  • เด็กหลอดแก้ว
  • การผ่าตัดส่องกล้อง
  • ตรวจดูครรภ์ , ดูแลมารดาและทารกในครรภ์
  • อัลตร้าซาวนด์ 4 มิติ
  • ตรวจภายใน , ตรวจมะเร็งปากมดลูก
  • วางแผนคุมกำเนิด , วางแผนครอบครัว
  • ทำหมันสตรี , ปรึกษาสตรีวัยหมดระดู
  • ตรวจมวลกระดูก
  • รักษาภาวะมีบุตรยากที่เกิดจากภาวะเพศหญิงหรือเพศชายเป็นหมัน
  • ตรวจความสมบูรณ์ของน้ำเชื้อ
  • ผ่าตัดเนื้องอก
  • รักษาสตรีปวดท้อง , ปวดประจำเดือน
SHARE
ข่าวประชาสัมพันธ์อื่นๆ