ผู้ป่วยโรคหัวใจต้องใส่ใจ “เรื่องการกิน”

22 ม.ค. 2567 | เขียนโดย รพ.สินแพทย์ เสรีรักษ์

ผู้ป่วยโรคหัวใจหลายท่านคงรู้สึกกังวลอยู่ลึกๆ เมื่อตรวจพบว่าตนเองเป็นโรคหัวใจและได้รับคำแนะนำมากมาย เรื่องการดูแลตนเองจากอายุรแพทย์โรคหัวใจ หนึ่งในนั้น คือ เรื่องการกินอาหารที่ต้องหยุดตามใจปากเพราะต้องดูแลตนเองอย่างเคร่งครัด



ผู้ป่วยโรคหัวใจหลายท่านคงรู้สึกกังวลอยู่ลึกๆ เมื่อตรวจพบว่าตนเองเป็นโรคหัวใจและได้รับคำแนะนำมากมาย เรื่องการดูแลตนเองจากอายุรแพทย์โรคหัวใจ หนึ่งในนั้น คือ เรื่องการกินอาหารที่ต้องหยุดตามใจปากเพราะต้องดูแลตนเองอย่างเคร่งครัด

 

แม้แต่คนที่ยังไม่เป็นโรคหัวใจ ยังต้องหมั่นสังเกตตัวเองว่า เข้าข่ายผู้ป่วยโรคหัวใจหรือไม่ หรือหากตรวจสุขภาพเบื้องต้นแล้ว และพบว่ามีไขมันในเลือดสูงก็ควรเริ่มควบคุมอาหาร และผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีไขมันสูงและเข้าข่ายว่าโคเลสเตอรอลในเลือดตามาแน่ๆ “การควบคุมอาหาร” จึงป็นสิ่งจำเป็น ดังนั้น การละ ลด เลิก อาหารประเภทไขมัน จะช่วยชะลอการตีบตันของหลอดเลือดหัวใจ รวมถึงถ้าผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการป้องกันตัวเอง ก็จะช่วยลดผลกระทบที่จะตามมากับหัวใจได้

 

➤ โรคหัวใจ ห้ามกินอาหารอะไร?

  1. อาหารเพิ่มไขมัน (LDL) อาหารจำพวกเบเกอรีเช่น เค้ก คุกกี้ พาย โดนัท พิซซ่า แฮมเบอร์เกอร์ หรือ อาหาร (Fast Food) ล้วนเป็นอาหารที่มีไขมัน และคอเลสเตอรอลสูง ทำอันตรายกับหัวใจโดยตรง
  2. อาหารแปรรูปไขมันสูงอาหารเนื้อสัตว์ปรุงกึ่งสำเร็จรูป เช่น เบคอน ไส้กรอก แฮม กุนเชียง หมูยอ หากยิ่งทานบ่อยๆหรือ ทอดกับน้ำมัน อาจจะทำให้เส้นเลือดอุดตันได้ง่าย
  3. อาหารที่มีไขมันสัตว์ในเมนูอาหารอาหารจานเดียว เช่น ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ ข้าวหน้าเนื้อหรือหมูที่แทรกไขมันมากรวมถึง หนังสัตว์ เครื่องในสัตว์
  4. อาหารรสเค็ม และหวานจัด
  • อาหารหมักดองหรือปรุงแต่งให้เค็ม เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม ผักดอง กุ้งแห้ง กะปิ ไข่เค็ม ไชโป้วเค็ม เพราะมีส่วนผสมของโซเดียมสูง (Sodium) และมีส่วนประกอบของผงชูรส ผงปรุงรสต่างๆ หรือซอส เพื่อใช้ในการถนอมอาหาร ความเค็มจะยิ่งมีมาก เพื่อให้สามารถเก็บอาหารได้นานยิ่งขึ้น
  • อาหารรสหวานจัด เช่น กลุ่มเบเกอรี ขนมปัง ที่มีส่วนประกอบของแป้ง นม เนย น้ำตาล ขนมหวานต่างๆ และน้ำอัดลม น้ำผลไม้ที่คั้นแล้วใส่น้ำตาล ผู้ป่วยควรเลี่ยงเป็นน้ำผลไม่คั้นสด หรือคั้นพร้อมกากแทน

ส่วนผลไม้ก็เลือกรับประทานเป็นเป็นผลไม้รสจืดหรืออมเปรี้ยว ให้วิตามินสูง เช่น แอปเปิ้ลเขียว ฝรั่ง ชมพู่ แก้วมังกร มันแกว หลีกเลี่ยงผลไม้รสหวาน เช่น ทุเรียน ขนุน ลำไย น้อยหน่า องุ่น ฯลฯ

  1. อาหารที่ปรุงด้วยน้ำมันผู้ป่วยโรคหัวใจควรระมัดระวังเรื่อง การใช้น้ำมันประกอบอาหาร ควรใช้ น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก น้ำมันข้าวโพด น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน ประกอบการทำอาหาร และไม่ควรใช้น้ำมันในปริมาณเยอะหรือรับประทานบ่อย เช่น อาหารที่ผ่านการทอด ควรเลี่ยงเป็นอาหารที่ต้มหรือนึ่งมากกว่า หากต้องรับประทานอาหาร ที่ผ่านการทอดให้ใช้น้ำมันรำข้าว หรือน้ำมันคาโนล่าทดแทน เนื่องจากมีจำนวนของไขมันดี (HDL) และรับประทานแล้วเกิดโทษต่อร่างกายและส่งผลต่อหัวใจน้อย
  2. อาหารทะเล อาหารทะเลบางชนิดเช่น กุ้ง ปลาหมึก หอยนางรม ยิ่งจะทำให้ปริมาณทั้งไขมันและคอเลสเตอรอลสูงยิ่งขึ้น เป็นไปได้จึงควรงดหลีกเลี่ยง หรือรับประทานแต่น้อย
  3. งดดื่มแอลกอฮอล์หากผู้ป่วยโรคหัวใจบริโภคเข้าไป จะเป็นโทษต่อร่างกาย และทำให้เกิดผลกระทบต่อหัวใจและเส้นเลือดหัวใจ
  4. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ น้ำอัดลมเนื่องจากมีสารคาเฟอีน มีผลกระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ใจสั่น ความดันโลหิตสูง หากต้องการบริโภคควรรับประทานแต่น้อยและปรึกษาแพทย์ โดยควบคุมการรับประทานของตนเองให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม

 

SHARE
ข่าวประชาสัมพันธ์อื่นๆ