การผ่าตัดผ่านกล้องทางโพรงจมูก…ทางเลือกในการรักษาเนื้องอกต่อมใต้สมอง

25 ต.ค. 2565 | เขียนโดย โรงพยาบาลสินแพทย์ เสรีรักษ์

ต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) เป็นอวัยวะขนาดเล็กที่อยู่บนฐานสมอง เป็นต่อมที่สร้างฮอร์โมนหลายชนิดผ่านเข้าไปในกระแสเลือด เพื่อควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายให้สมดุล



ต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) เป็นอวัยวะขนาดเล็กที่อยู่บนฐานสมอง เป็นต่อมที่สร้างฮอร์โมนหลายชนิดผ่านเข้าไปในกระแสเลือด เพื่อควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายให้สมดุล ตัวอย่างของฮอร์โมนเหล่านี้ ได้แก่ Prolactin เกี่ยวกับการหลั่งน้ำนม, เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของร่างกาย Growth hormone, ฮอร์โมนไทรอยด์, ฮอร์โมนเพศ (FSH,LH) ฮอร์โมนต่อมหมวกไต (ACTH,Cortisol) ซึ่งถ้าผู้ป่วยมีเนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง จะทำให้ฮอร์โมนเหล่านี้บางตัวถูกสร้างขึ้นมามากกว่าปกติ และบางตัวก็จะมีการสร้างลดลงกว่าปกติ ทำให้มีอาการต่างๆ ตามมา

สัญญาณเตือน “เนื้องอกต่อมใต้สมอง”

ถ้า Prolactin สูง ในผู้หญิงก็จะมีอาการมีน้ำนมไหล ไม่มีประจำเดือน ส่วนในผู้ชายอาจพบว่านมโต ความต้องการทางเพศลดลง

ในรายที่ Growth hormone สูง รูปร่างของผู้ป่วยจะสูงใหญ่กว่าคนปกติมาก ถ้าเป็นโรคนี้มาตั้งแต่เด็ก แต่ถ้าเป็นหลังจากร่างกายหยุดเติบโตแล้ว จะเห็นการเปลี่ยนแปลงเฉพาะโครงสร้างของใบหน้า, มือและเท้า ซึ่งจะใหญ่ขึ้น

นอกจากนี้ ก้อนเนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง ถ้าทิ้งไว้จะโตขึ้นเรื่อยๆ ไปกดเส้นประสาทตา ทำให้การมองเห็นลดลงจนถึงตาบอดได้ นอกจากนั้นยังลุกลามไปกดเบียดสมองส่วนอื่นๆ ได้

การวินิจฉัยค้นหาสาเหตุ
แพทย์จะซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจยืนยันโดยการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT brain) หรือ การตรวจโดยคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI brain) จะเห็นขอบเขตของเนื้องอกและขนาดอย่างชัดเจน นอกจากนั้นการตรวจดูระดับฮอร์โมนในกระแสเลือดก็จะมีประโยชน์ในการวินิจฉัยและรักษาด้วยเช่นกัน

แนวทางการรักษา

การรักษาทางยา ส่วนใหญ่ใช้สำหรับก้อนที่มีขนาดเล็กยังไม่ได้กดเบียดเส้นประสาทตา และใช้ได้เฉพาะเนื้องอกที่ผลิตฮอร์โมนบางตัวเท่านั้น เช่น Prolactin ซึ่งจะได้ผลดีกว่าตัวอื่นๆ

SHARE
ข่าวประชาสัมพันธ์อื่นๆ