การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง endoscope (Endoscopic spine surgery) เป็นหนึ่งในการผ่าตัดบาดเจ็บน้อย (minimally invasive spine surgery) เป็นการใช้เทคโนโลยี และ เทคนิคในการผ่าตัดสมัยใหม่ โดยจุดประสงค์เพื่อให้มีการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อโดยเฉพาะกล้ามเนื้อให้น้อยที่สุด และผลการรักษาไม่ด้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดแผลปกติ (conventional operation)
การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง endoscope (Endoscopic spine surgery) เป็นหนึ่งในการผ่าตัดบาดเจ็บน้อย (minimally invasive spine surgery) เป็นการใช้เทคโนโลยี และ เทคนิคในการผ่าตัดสมัยใหม่ โดยจุดประสงค์เพื่อให้มีการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อโดยเฉพาะกล้ามเนื้อให้น้อยที่สุด และผลการรักษาไม่ด้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดแผลปกติ (conventional operation)
การผ่าตัดโดยใช้ endoscope ถือเป็น gold standard ในการผ่าตัดบางชนิด เช่น การผ่าตัดเส้นเอ็นข้อเข่า และการผ่าตัดซ่อมเอ็นในข้อไหล่ ปัจจุบันการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง endoscope ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเริ่มเป็นที่แพร่หลายในบางพื้นที่ เป็นทางเลือกที่มีความน่าสนใจ
หลักการคือเป็นการผ่าตัดผ่านกล้อง endoscope ซึ่งมีขนาดน้อยกว่า 1 เซนติเมตร เป็น single portal อาศัยระบบน้ำ เพื่อช่วยให้การมองเห็นชัดเจนเป็นอย่างดี (lens optic under fluid) และลดเลือดออกในการผ่าตัด โดยในขณะผ่าตัดมองผ่านจอ monitor
ข้อดีของการผ่าตัดผ่านกล้อง endoscope
- ทำงานภายใต้การมองเห็นที่ดี (working under excellent visual)
- มีการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อและกระดูกน้อย (minimized resection of bone and ligaments, possible reduction of surgery-induced instabilities)
- แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กประมาณ 1 เซนติเมตร เจ็บแผลน้อย และลดเวลาในการนอนโรงพยาบาล (reduce pain and short hospitalization)
- ลดการเกิดแผลเป็นในโพรงกระดูกสันหลัง ทำให้ถ้าต้องมีการผ่าตัดในครั้งต่อไป เป็นไปด้วยความไม่ยากลำบาก (reduced epidural scarring, subsequent operations are not made more difficult)
- ใช้เวลาในการผ่าตัดน้อยในกรณีที่มีความชำนาญ
ข้อบ่งชี้ที่ใช้ในการผ่าตัดผ่านกล้อง endoscope
- หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Lumbar disc herniation) (ได้ทุกชนิด ทุกตำแหน่ง)
- โพรงประสาทตีบแคบทับเส้นประสาท หรือ ที่เรียกกันว่ากระดูกทับเส้นประสาท (Spinal canal stenosis) โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังร้าวลงขาเพียงข้างเดียว
- ถุงน้ำจากข้อต่อกระดูกสันหลัง (Facet cyst)
การดูแลหลังผ่าตัด
- นอนโรงพยาบาลหลังผ่าตัด 1-2 คืน
- สามารถลุกเดินได้เลยหลังผ่าตัด
- ในกรณีที่ต้องตัดไหม ตัดไหม 2 สัปดาห์หลังผ่าตัด
- ใส่ที่พยุงหลัง (L-S support) เพื่อพักเนื้อเยื่อ และเป็นตัวช่วยเตือนในการจำกัด activity 4 สัปดาห์
- สามารถกลับไปทำงานได้ 2-4 สัปดาห์ (ขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่ทำ)
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
เหมือนการผ่าตัดแบบเปิดแผลปกติ ภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้น้อย เช่น การติดเชื้อที่บริเวณหมอนรองกระดูกสันหลัง (discitis) แผลผ่าตัดติดเชื้อ (wound infection) ถุงหุ้มเส้นประสาทฉีกขาด (dural tear) มีโอกาสที่ต้องเปลี่ยนจากผ่าตัดส่องกล้องเป็นผ่าตัดแบบเปิดแผลปกติ โอกาสเกิดเป็นซ้ำของหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท (recurrent disc herniation) อยู่ที่ประมาณ 6%
ในปัจจุบันการผ่าตัดโดยวิธีใช้กล้อง endoscope เป็นที่นิยมมากขึ้น และคาดว่าจะเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นในอนาคต โดยวิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีที่ดึงดูด น่าสนใจ และได้ผลดี แผลผ่าตัดเล็ก บาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อน้อย อาการเจ็บปวดจากแผลผ่าตัดน้อย ใช้เวลาในการนอนโรงพยาบาลสั้น ใช้ได้ในการผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาททุกชนิด และ โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบทับเส้นประสาทที่เป็นระดับเดียว (lateral recess or central spinal stenosis) และโรคถุงน้ำจากข้อต่อกระดูกสันหลัง (facet cyst) โดยได้ผลการรักษาที่ดีไม่ต่างจากการผ่าตัดแบบเปิดแผลปกติ
ในปัจจุบันการผ่าตัดโดยวิธีใช้กล้อง endoscope เป็นที่นิยมมากขึ้น และคาดว่าจะเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นในอนาคต โดยวิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีที่ดึงดูด น่าสนใจ และได้ผลดี แผลผ่าตัดเล็ก บาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อน้อย อาการเจ็บปวดจากแผลผ่าตัดน้อย ใช้เวลาในการนอนโรงพยาบาลสั้น ใช้ได้ในการผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาททุกชนิด และ โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบทับเส้นประสาทที่เป็นระดับเดียว (lateral recess or central spinal stenosis) และโรคถุงน้ำจากข้อต่อกระดูกสันหลัง (facet cyst) โดยได้ผลการรักษาที่ดีไม่ต่างจากการผ่าตัดแบบเปิดแผลปกติ