การฉีดเกล็ดเลือดความเข้มข้นสูง PLATELET RICH PLASMA (PRP Therapy)

17 เม.ย. 2566 | เขียนโดย โรงพยาบาลสินแพทย์ เสรีรักษ์

การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมค่อนข้างจำกัด ทำให้ผู้ป่วยต้องทรมานกับอาการข้อเข่าเสื่อม เนื่องจากการบรรเทาอาการมีเพียงการใช้ยา จนในที่สุดก็ต้องจบด้วยการเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ในปัจจุบันทางเลือกแนวทางการรักษา และฟื้นฟูอาการข้อเข่าเสื่อม โดยใช้การเร่งกระบวนการซ่อมแซมของร่างกายตามธรรมชาติ หรือ Regenerative Injection Therapy by Platelet Rich (PRP) เป็นการรักษาโดยการฉีดเกล็ดเลือดหนาแน่นที่ได้มาจากเลือดของผู้ป่วยเอง เพื่อเข้าไปเร่งกระบวนการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อโดยไม่ต้องทำการผ่าตัด



“ข้อดีของการทำ PRP คือทำให้ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือแพ้จากการฉีด มีเพียงอาการบวมเพียงเล็กน้อยหลังการฉีด และจะหายบวมภายในไม่กี่วันหลังฉีด”

การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมค่อนข้างจำกัด ทำให้ผู้ป่วยต้องทรมานกับอาการข้อเข่าเสื่อม เนื่องจากการบรรเทาอาการมีเพียงการใช้ยา จนในที่สุดก็ต้องจบด้วยการเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ในปัจจุบันทางเลือกแนวทางการรักษา และฟื้นฟูอาการข้อเข่าเสื่อม โดยใช้การเร่งกระบวนการซ่อมแซมของร่างกายตามธรรมชาติ หรือ Regenerative Injection Therapy by Platelet Rich (PRP) เป็นการรักษาโดยการฉีดเกล็ดเลือดหนาแน่นที่ได้มาจากเลือดของผู้ป่วยเอง เพื่อเข้าไปเร่งกระบวนการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อโดยไม่ต้องทำการผ่าตัด

PRP หรือเกล็ดเลือดหนาแน่น มีองค์ประกอบของ Growth Factor ที่เป็นปัจจัยที่ช่วยเร่งกระบวนการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ โดยธรรมชาติของร่างกายอยู่ในปริมาณที่สูงกว่าปกติมาก ทำให้อัตราการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอทำได้เร็วขึ้น

เกล็ดเลือดทำหน้าที่อย่างไร?
เกล็ดเลือดเป็นเซลล์ที่ช่วยในการรักษาเนื้อเยื่อและซ่อมแซมผิวที่เสื่อมสภาพ เกล็ดเลือดเต็มไปด้วยโมเลกุล Growth Factor ยกตัวอย่างง่ายๆ เมื่อเราโดนมีดบาดจะมีเลือดออก จะมีเกล็ดเลือดออกมาเป็นลิ่มหรือเป็นก้อนบริเวณแผลเพื่อช่วยปกปิดและป้องกันแผลจากเชื้อโรคภายนอก นอกจากนี้เกล็ดเลือดยังช่วยซ่อมแซมผิวที่มีบาดแผลหรืออักเสบจากการบาดเจ็บโดยกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อและสเต็มเซลล์เพื่อซ่อมแซมผิวหนัง เมื่ออายุมากขึ้นผิวหนังจะเกิดการเสื่อมสภาพ เหี่ยวย่น มีโพรงใต้ผิวหนัง ถ้าฉีดเกล็ดเลือดเข้าไปในใต้ผิวหนังจะทำหน้าที่เข้าไปเติมเต็มและยกผิวที่เป็นโพรงที่เป็นสาเหตุ

PRP ใช้ในการรักษาอะไรบ้าง?

  • เอ็นอักเสบ ที่ข้อศอกด้านนอก Tennis elbow (common extensor tendinosis)
  • เอ็นร้อยหวายอักเสบ Achilles tendinosis
  • รองช้ำ Plantar fasciitis
  • เอ็นอักเสบ ที่ข้อศอกด้านนอก Tennis elbow (common extensor tendinosis)
  • เอ็นหน้าเข่าอักเสบ Jumper’s knee (patellar tendinosis)

การบาดเจ็บกล้ามเนื้อที่ใดบ้างที่สามารถรักษาโดยวิธี PRP?

  • กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง Hamstring Muscle ซึ่งมักพบในนักกีฬาฟุตบอล
  • กล้ามเนื้อน่อง Calf
  • กล้ามเนื้อต้นขาด้านนอก Quadriceps

การรักษาส่วนอื่นๆ โดยวิธี การฉีดPRP

  • โรคข้อเข่าเสื่อม และอักเสบ Knee osteoarthritis

 

SHARE
ข่าวประชาสัมพันธ์อื่นๆ