ศูนย์ผู้มีบุตรยาก Synphaet Fertility Center
พร้อมให้การดูแล โดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการ

ศูนย์ผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา  Synphaet Fertility Center

ศูนย์ผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา  Synphaet Fertility Center

ในปัจจุบันพบภาวะมีบุตรยากมากขึ้น เนื่องจากคู่สมรสมักแต่งงานเมื่อมีอายุมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการมีบุตรยาก

 

เมื่อไรจึงเรียกว่ามีบุตรยาก

ภาวะมีบุตรยาก หมายถึง การที่คู่สมรสนั้นไม่สามารถตั้งครรภ์ภายในระยะเวลา 1 ปี โดยไม่มีการคุมกำเนิด และมีเพศสัมพันธุ์กันสม่ำเสมอ

 

สาเหตุของการมีบุตรยาก

พบว่าปัญหาส่วนใหญ่ของการมีบุตรยาก เกิดจากฝ่ายชาย 40% และจากฝ่ายหญิงประมาณ 50% อีก 10% ไม่พบสาเหตุของการมีบุตรยาก

ฝ่ายชาย :

เกิดจากการสร้างเชื้ออสุจิที่ผิดปกติ ทั้งคุณภาพ และปริมาณ

ฝ่ายหญิง :

เกิดจากความผิดปกติของการสร้าง หรือ การตกไข่ ภาวะฮอร์โมนผิดปกติ ของมดลูก และท่อนำไข่ ความผิดปกติของปากมดลูก และ ความผิดปกติของช่องคลอด เช่น มีแผ่นกั้นช่องคลอด

ปัจจัยอื่นๆ :

การมีเพศสัมพันธ์ ห่างเกินไปความเครียด หรือ โรคประจำตัวทางร่างกายอื่นๆ

 

การหาสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก ควรทำพร้อมกันทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง เพื่อจะได้รักษาและแก้ไขที่สาเหตุได้ถูกต้อง

สำหรับฝ่ายหญิง :

จะได้รับการซักประวัติโรคประจำตัว ประวัติการเจ็บป่วย การมีประจำเดือน และการมีเพศสัมพันธุ์ พร้อมทั้งตรวจร่างกายและตรวจเลือดอย่างละเอียด ดูระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวข้อง บางรายอาจจำเป็นต้องฉีดสารทึบแสงเอกซเรย์ เพื่อตรวจดูโพรงมดลูกและท่อนำไข่ว่าปกติหรือไม่ ทำอัลตราซาวด์ หรือส่องกล้องตรวจช่องท้อง หรือ ส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก เพื่อตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะภายใน การพิจารณาตรวจนั้นแพทย์จะค่อยๆ ทำไปทีละขั้นตอน

 

สำหรับฝ่ายชาย :

ทำได้ง่าย เพียงตรวจน้ำเชื้อดูปริมาณและคุณภาพของตัวอสุจิก็สามารถบอกได้ว่า มีสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก หรือไม่

 

เทคโนโลยีช่วยในการเจริญพันธุ์

  1. การคัดเลือกเชื้ออสุจิฉีดผสมเทียม (Intrauterine insemination : IUI)  เป็นการคัดเลือกตัวเชื้ออสุจิที่แข็งแรง และรูปร่างดี ในปริมาณที่มากพอฉีดเข้าสู่โพรงมดลูก โดยฉีดผ่านสายที่สอดผ่านปากมดลูกเข้าไปในโพรงมดลูก เพื่อช่วยให้อสุสิมีโอกาสพบกับไข่ได้ง่ายขึ้น
  2. เด็กหลอดแก้ว (In-Vitro Fertilization : IVF)  วิธีนี้ แพทย์จะนำเอาไข่และเชื้ออสุจิมาเพาะเลี้ยงในหลอดทดลอง จนกระทั่งเกิดการปฏิสนธิ แล้วเลี้ยงต่อในห้องปฏิบัติการจนเป็นตัวอ่อน อีกประมาณ 2-3 วัน ซึ่งจะได้ตัวอ่อนในระยะ 4-8 เซลล์ หรือเลี้ยงจนถึงระยตัวอ่อนวันที่ 5 หรือ เรียกว่า บลาสโตซีสท์ (Blastocyst)  แล้วจึงนำเอาตัวอ่อนย้ายกลับเข้าไปฝังในโพรงมดลูก เพื่อให้เกิดการเจริญเติบโตและฝังตัวต่อไป ในการเตรียมตัวอ่อนนี้อาจจะมีตัวอ่อนที่เหลือ และแข็งแรก็สามารถทำการแช่แข็งและเก็บไว้ใช้ในรอบการรักษาต่อไปได้
  3. อิ๊กซี่ ( Intracytoplasmic Sperm Injection : ICSI) เป็นขั้นตอนหนึ่งในการทำการเด็กหลอดแก้ว ซึ่งการทำอิ๊กซึ่จะเป็นวิธีช่วยปฏิสนธิ โดยใช้เข็มขนาดเล็กดูดตัวอสุจิเพียง 1 ตัว ผ่านเครื่องมือและกล้องจุลทรรศน์ ชนิดพิเศษที่มีความละเอียดมาก มีกำลังขยาย 200-400 เท่า มีอุปกกรณ์เฉพาะที่เรียกว่า Micromanipulator ชนิด 3 มิติ ติดตั้งอยู่จากนั้นทำการเจาะไข่และฉีดตัวอสุจิเข้าไปภายนิวเคลียสของไข่ หลังจากนั้นนำไข่ที่ได้รับการฉีดเชื้ออสุจิไปตรวจสอบการปฏิสนธิ แล้วเลี้ยงต่อในห้องปฏิบัติการจนเป็นตัวอ่อน หรือ จนถึงระยบลาสโตซีสท์จากนั้นก็ใส่กลับเข้าไปในโพรงมดลูก
  4. การวินิจฉัยความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนฝังตัว ( Preimplantation Genetic Diagnosis : PGD ) การตรวจหาโรคทางพันธุกรรมของทารกในครรภ์ มีหลายวิธีได้แก่ การตรวจโครโมโซมจากการเจาะตรวจน้ำคร่ำ การตรวจโครโมโซมจากรก การวัดระดับฮอร์โมนจากเลือดมารดา การตรวจอัลตราซาวด์เพื่อหาความผิดปกติ เพื่อหลีกเลี่ยงการคลอดบุตรที่ผิดปกติ หรือ ต้องทำแท้งเพื่อยุติการตั้งครรภ์ ปัจจุบันมีเทคโนโลยีทางด้านอณูพันธุศาสตร์ เพื่อวินิจฉัยความผิดปกติของตัวอ่อนมาตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรมในห้องปฏิบัติการ จากนั้นแพทย์จะเลือกเอาเฉพาะตัวอ่อนที่ไม่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม ใส่คืนกลับเข้าไปเพื่อให้ฝังตัวในโพรงมูดลูกของมารดา เทคโนโลยี PGD นี้จึงสามารถทำได้เฉพาะกรณีการทำเด็กหลอดแก้ว
  5. การเลี้ยงตัวอ่อนระยะบลาสโตซีสท์ ( Blastocyst Culture)  คือการเลี้ยงตัวอ่อนภายหลังการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย ในห้องปฏิบัติการเป็นระยะเวลาประมาณ 5 วัน จากตัวอ่อนระยะ 1 เซลล์ แบ่งตัวเป็น 2 เซลล์เป็น 4 เซลล์ เป็น 8 เซลล์ เป็น 32 เซลล์ จนมีจำนวน มากกว่า 100 เซลล์ และรวมกันเป็นก้อน เรียกก้อนนี้ว่า Compacted Stage Embryo หลังจากนั้นจะเจริญเป็นตัวอ่อนระยะบลาสโตซีสท์ในที่สุดเนื่องจากตัวอ่อนในระยะนี้ คือ เป็นตัวอ่อนที่มีคุณภาพที่สุด เป็นระยะที่อยู่โพรงมดลูกจริง ตามธรรมชาติ เมื่อถูกนำกลับคืนเข้าสู่โพรงมดลูกจึงมีสภาพเหมือนกับธรรมชาติมากที่สุดเป็นผลให้มีโอกาสในการตั้งครรภ์สูงขึ้น
  6. เทเซ่ (Testicular Sperm Extraction : TESE) กรณีที่ฝ่ายชายเป็นหมันไม่พบตัวอสุจิในน้ำเชื้อที่หลั่งออกมาเลย ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจาก ท่อนำอสุจิอุดตัน ไม่มีท่อนำอสุจิตั้งแต่กำเนิด มีปัญหาเกี่ยวกับการหลั่งอสุจิ ตัวอสุจิที่หลั่งออกมาตายหมด เคยมีการอักเสบของอัณฑะทำให้มีการสร้างเชื้ออสุจิน้อยมาก จะใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า เทเซ่ เป็นวิธีการผ่าตัดเล็กๆ และมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก โดยจะตัดเอาเนื้อเยื่อบางส่วนเล็ก หรือ ใช้เข็มดูดเนื้อเยื่อของอัณฑะมาบดหาตัวอสุจิ ซึ่งส่วนใหญ่พบว่า มักจะยังมีการสร้างตัวอสุจิอยู่ จากนั้นก็ดำเนินการด้วยวิธี  ICSI ต่อไป
  7. เลเซอร์เจาะเปลือกตัวอ่อน (Laser Assisted – Hatching) เป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่นำมาใช้ในกระบวนการรักษาภาวะมีบุตรยาก เพราะถึงแม้ว่าจะมีการใช้เทคโนโลยีเด็กหลอดแก้ว หรือ อิ๊กซี่แล้ว ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จทั้งที่ได้ไข่จำนวนที่มากพอ ได้ตัวอ่อนที่มีคุณภาพ และมีการเคลื่อนย้ายตัวอ่อนในช่วงเวลาที่เหมาะสมแล้ว แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ ในปัจจุบันเชื่อว่าน่าจะเป็นปัญหาเรื่องความพร้อมของมดลูก หรือ ความสมบูรณ์ของตัวอ่อน หรือ บางกรณีอาจเกิดจากการที่ตัวอ่อนไม่สามารถฟักตัวออกมาจากเปลือกของไข่ได้ เพราะมีเปลือกที่หนา หรือ เหนียวเกินไป จนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความล้มเหลว เทคโนโลยีเจาะเปลือกตัวอ่อนด้วยเลเซอร์ จะมาช่วยในการเจาะเปิดเปลือกไข่ โดยใช้เทคนิคของแสงเลเซอร์ ซึ่งจะมีความแม่นยำ และปลอดภัย สามารถกำหนดขนาดของการเจาะและความลึกได้ ช่วยให้เปลือกของไข่บางลงตัวอ่อนจะฟักตัวออกมาจากเปลือกได้ง่ายขึ้น วิธีนี้จะช่วยลดความเสี่ยงที่ตัวอ่อนอาจได้รับความบอบช้ำจากการใช้สารเคมี หรือ ใช้เข็มขนาดเล็กสะกิดแบบวิธีดั้งเดิม
  8. การแช่แข็งไข่ (Oocyte Freezing) ผู้หญิงเมื่ออายุมากขึ้น ปริมาณและคุณภาพของไข่ก็จะลดลงไปด้วย จึงเป็นสาเหตุให้มีบุตรยาก การแช่แข็งไข่เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยเก็บรักษาคุณภาพของไข่ไว้ ไม่ให้ลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น การฝากไข่ แช่แข็งไข่เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นหลังการกระตุ้นรังไข่และเจาะเก็บไข่ออกจากรังไข่ หลังจากนั้นนำมาเก็บรักษาไข่โดยการแช่แข็งไข่ ด้วยเทคนิคการแช่แข็งแบบผลึกแก้ว (Vitrification) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีล่าสุด โดยไข่จะถูกแช่แข็งโดยลดอุณหภูมิ -196°C  อย่างรวดเร็วทำให้ไม่เกิดผลึกน้ำแข็งในเซลล์ไข่ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของเซลล์ไข่ได้ หลังละลายออกมา เมื่อผู้ป่วยต้องการใช้ไข่ที่แช่แข็งไว้ ก็จะละลายออกมาผสมกับอสุจิ ด้วยวิธี ICSI ต่อไป
แพทย์ประจำศูนย์