ยาพ่น ดีกว่ายากินเป็นพันเท่าจริงหรือ??

>9 มี.ค. 2563 | เขียนโดย รพ. เด็กสินแพทย์

ยาพ่น จะมีปริมาณน้อยกว่า ยากินเป็นพันเท่า ยาพ่นจึงปลอดภัยมาก ถึงแม้จะต้องสูดหรือพ่น เป็นเดือน หรือ เป็นปีก็ตามเมื่อไร…? ต้องพ่นยา

 

ถ้าเด็กหายใจเร็ว มีเสียงวี๊ดในทรวงอก ไอมาก ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นหลอดลมตีบ จากหลอดลมอักเสบ หรือ ปวดบวมสามารถใช้ยาพ่นได้เลย ถ้าในสถานที่ที่รักษานั้นมีหรือในบ้านมีก็ควรใช้ยาพ่นมากกว่ายากินเพราะออกฤทธิ์เร็วกว่ายากิน วิธีใช้ก็ง่ายไม่ว่าจะเป็นแบบใช้เครื่องพ่นฝอยละออง หรือ แบบมีกระบอก พ่นยา หรือ แบบสูด ทำให้อาการไอ หรือ แน่หน้าอกของเด็กดีขึ้นอย่างรวดเร็ว

 

ส่วนในกรณีที่ต้องใช้ยาพ่นแบบควบคุมแพทย์จะเป็นผู้ตัสสินใจ และวางแผนการรักษาให้ เช่น กรณีที่ไอเรื้อรังต้องใช้ยาขยายหลอดลมบ่อยๆ มีอาการเหนื่อยหอบ ชอบไอตอนกลางคืนไอหลังออกกำลังกาย

 

ยาพ่นจะช่วยขยายหลอดลม ช่วยให้ผู้ป่วยหายใจสะดวกขึ้น นอกจากนั้นยังมีผลช่วยให้เสมหะหรือน้ำมูกอ่อนตัวลงง่ายต่อการขับออกมาโดยการ ไอ จาม หรือสั่งออกมาการพ่นยา ใช้เวลาประมาณ  10- 15 นาที

 

ขณะพ่นยาทำไมจึงต้องหายใจลึกๆ…?

การสูดลมหายใจเข้า-ออกลึกๆ จะชวยให้ละอองของยาถูกสดเข้าไปในทางเดินหายใจ และปอดได้ลูกขึ้น นอกจากนั้นยังจะไปช่วยขยายหลอดลม ขับเสมหะได้ลึกมากขึ้นขณะพ่นยาทำไมจึงมีควันสีขาว…?

การพ่นยา คือ การใช้ออกซิเจนพ่นน้ำยาให้แตกตัวเป็นละอองเล็กๆ เหมือนควันเพื่อให้สามารถสูดดมเข้าไปในทางเดินหายใจได้ง่าย และทำให้ยาเกิดประสิทธิภาพสูงสุดควันสีขาว จากการพ่นยาไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อตา

 

หลังการพ่นยา…ทำไมถึงไอมากขึ้น…?

เนื่องจากยาไปช่วยกระตุ้นให้เสมหะอ่อนตัวจึงทำให้เกิดการไอ เพื่อขับเสมหะออกมา ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้ป่วยยาพ่น…อันตรายมากกว่ายากินจริงหรือ…?

ไม่จริง  ยาพ่นชนิดกระตุ้นประสาทเบต้า (Beta agonist) สามารถให้ โดยคำนวณตามน้ำหนักของผู้ป่วยเด็ก ซึ่งเมื่อสูดดมแล้วอาการตีบของหลอดลมจะดีขึ้นทันทีส่วนชนิด MDI หรือ สูดใน 1 puff จะมีขนาดของยาต่ำมากกว่ายากินหลายเท่า เพราะยาออกฤทธิ์โดยตรงที่หลอดลม ในขณะที่ยากิน 1 ช้อนชา หรือ 1 เม็ด จะมีปริมาณยามากกว่า เพราะยาใช้ เวลาเดินทางนานกว่าและดูดซึมช้ากว่าแต่อาจจะทำให้มือสั่น ใจสั่น และ หัวใจเต้นผิดปกติมากกว่า

 

ใช้ยาพ่นมานานๆ จะปลอดภัยหรือไม่…?

ปลอดภัย เนื่องจากปริมาณยาพ่นต่างจากยากินเป็นพันเท่า ยาพ่นจึงปลอดภัยมากถึงแม้จะต้องสูดหรือพ่นเป็นเดือนหรือเป็นปีก็ตาม สเตียรอยด์ในยาเม็ดถ้ากินนานเกิน 2 สัปดาห์ จะกดการทำงานของต่อมหมวกไต และมีผลต่อการเจริญเติบโตของกระดูก แต่การใช้ยาชนิดนี้ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์

 

พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์โรคระบบางเดินหายใจ ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ (คลิก link เพื่อนัดพบแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์ 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์

SHARE