รักแท้จากอกแม่ Breastfeeding

>16 ก.ย. 2563 | เขียนโดย รพ. เด็กสินแพทย์

น้ำนมแม่ ถือเป็นอาหารที่วิเศษสุดตามธรรมชาติที่สร้างขึ้นมาเพื่อลูกรักตัวน้อยโดยเฉพาะ น้ำนมแม่ เป็นอาหารบำรุง มีสารอาหารครบถ้วนทั้งชนิดและปริมาณที่เหมาะสม ทั้งยังมีภูมิคุ้มกันที่ช่วยป้องกันโรคได้อย่างดีเยี่ยมเหนือสิ่งอื่นใด

 

ช่วงหลังคลอดเป็นช่วงเวลาที่คุณแม่สามารถให้นมลูกได้อย่างเต็มที่ แต่คุณแม่หลายท่านมักจะไม่มั่นใจและวิตกกังวลว่าตนเองมีน้ำนมไม่เพียงพอกับความต้องการของลูกลูกจึงไม่ยอมดูดนมตนเอง ทำให้หันไปพึ่งพาการป้อนนมผสมด้วยขวดมากขึ้น รวมถึงอาจมีปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ หลายประการที่ทำให้ไม่ประสบผลสำเร็จในการให้นมแม่ มีวิธีทำให้น้ำนมมาเยอะและประสบความสำเร็จมาฝากดังนี้ค่ะ

 

พักผ่อนให้เพียงพอ
เนื่องจากการเฝ้าดูลูกน้อยอยู่ตลอดเวลาหรือมุ่งมั่นกับการให้นมแม่มากเกินไป จนไม่ได้พักผ่อน เนื่องจากลูกตื่นขอดูดนมแม่บ่อยตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน เพราะนมแม่มักสร้างไม่เพียงพอในช่วงแรกๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการผ่าท้องคลอด

คำแนะนำ ตัดภาระหน้าที่อื่นๆ แล้วพยายามหาผู้ช่วยทำแทนถ้าเป็นไปได้ เช่น งานบ้าน งาน office โทรศัพท์มือถือ facebook internet จนกว่าแม่จะทำงานที่สำคัญที่สุดคือการผลิตนมแม่ให้เพียงพอ จนลูกอิ่มได้ จึงจะเริ่มทำงานชิ้นอื่นที่สำคัญน้อยกว่านี้ได้ การฝึกให้หลับพร้อมลูก และตื่นพร้อมลูกตามธรรมชาติ จะช่วยให้จังหวะการเลี้ยงลูกเหนื่อยน้อยน้อยลง หากลูกกินบ่อย งอแง อาจเกิดจากการให้นมลูกไม่พอหรือเจ็บป่วย ควรรีบแก้ไข

 

ทานอาหารให้หลากหลาย
คุณแม่หลายท่านไม่มีเวลาทานอาหาร จากการที่ต้องดูแลลูกน้อยตลอดเวลา หรือถูกห้ามทานอาหารบางอย่าง
คำแนะนำ ให้พยายามทานอาหารให้ครบหลัก 5 หมู่ และดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่าลืมว่า ถ้าแม่ไม่ทานอาหารก็จะไม่มีน้ำนมให้ลูกเช่นกัน

 

ภาวะจิตใจต้องไม่เครียด
ความวิตกกังวลของแม่เกี่ยวกับลูกน้อยจะยับยั้งการสร้างและการหลังของน้ำนมแม่ได้มาก
คำแนะนำ คุณแม่ควรทำจิตใจให้สงบ อาจเปิดเพลงฟัง จิบน้ำอุ่น น้ำผลไม้ มองหน้าลูก สร้างบรรยากาศให้ผ่อนคลายขณะให้นมลูก

ให้ลูกดูดนมแม่แบบถูกวิธี
ลูกงับหัวนมไม่ถูกวิธีทำให้ไม่สามารถดึงเอาน้ำนมจากเต้าออกมาได้ ส่งผลให้ลูกปฏิเสธการดูดนมแม่ และส่งผลทำให้หัวนมแตกเป็นแผล หรือมีอาการเจ็บได้

 

คำแนะนำ ให้ฝึกการงับหัวนมของลูกใหม่ โดยต้องให้งับลึกถึงลานนม ลูกจะดูดโดยแม่ไม่เจ็บเลย และควรได้ยินเสียงกลืนเป็นระยะๆ ถ้ามีน้ำนมพอให้ลูกกลืน
รวมถึงอุ้มลูกในท่าที่ถนัด การงับที่ไม่ถูกวิธีหรือจากการให้ลูกดูดนมแม่แต่ละข้างนานเกินไป อาจส่งผลทำให้ภายหลังเต้านมไม่เท่ากัน ทำให้หัวนมแตกได้

คำแนะนำ ฝึกการงับหัวนมของลูกใหม่เมื่อนมแม่มีมากเพียงพอ ( สังเกตจากเมื่อลูกดูด น้ำนมข้างหนึ่งอยู่ จะมีน้ำนมหยดที่นมอีกข้างหนึ่ง ) ในช่วงแรกที่นมแม่ที่ยังไม่มี คือดูดอย่างเดียว แต่ไม่มีเสียงกลืนนม ลูกจะได้แต่ลม #คำแนะนำ ให้ลูกดูดแค่ข้างละ 5-7 นาที แต่เมื่อน้ำนมมาเยอะ ( สังเกตจากที่ลูกดูดแล้วได้ยินเสียงกลืน สามารถให้ลูกดูดให้เกลี้ยงเต้าได้ ทราบโดยเสียงกลืนหายไป และเร่งความถี่ในการดูดขึ้น )

 

พบแพทย์เฉพาะทาง ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ (คลิก link เพื่อนัดพบแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์ 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์

SHARE