เตรียมตัว อย่างไร เพื่อทดสอบโรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Skin prick test)

>30 ธ.ค. 2562 | เขียนโดย รพ. เด็กสินแพทย์

ในปัจจุบัน มีการทดสอบทางภูมิแพ้หลากหลายวิธี นอกจากจะช่วยในเรื่องของการวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้องแม่นยำแล้ว ยังช่วยในเรื่องของการพิจารณาทางเลือกในการรักษา การพยากรณ์โรคและการหลีกเลียงป้องกันเพื่อให้ความรุนแรงของโรคลดลง และไม่เกิดการเป็นซ้ำได้อีก

 

การทดสอบทางภูมิแพ้ เมื่อสงสัยภาวะภูมิแพ้ต่างๆ

  1. การทดสอบทางผิวหนัง (Skin prick test) คือการสะกิดผิวหนังด้วย สารน้ำยาสกัดจากโปรตีนสารก่อภูมิแพ้แต่ละชนิด ใช้ปลายเข็มหรืออุปกรณ์สะกิดผิวหนัง duotip สะกิดบริเวณหลัง หรือท้องแขนของผู้ป่วย การแปลผล การให้ผลบวก คือ การที่มีตุ่มนูนแดงขึ้น ขนาดมากกว่า 3 มิลลิเมตรขึ้นไป

ข้อดี สามารถทราบผลการทดสอบได้ภายใน 15-20 นาที และสามารถทดสอบสารก่อภูมิแพ้ได้หลายชนิดพร้อมกัน

ข้อเสีย ต้องหยุดยาแก้แพ้ทุกชนิด อย่างน้อย 7-10 วัน และเด็กเล็กมักจะมีความไวของผิวหนังน้อยกว่าเด็กโต

 

  1. การตรวจเลือดเจาะจงต่อสารก่อภูมิแพ้ (Serum Allergen specific lgE) คือ การตรวจเลือด เพื่อหาระดับภูมิ ต่อต้านที่จำเพาะต่อโปรตีนของสารก่อภูมิแพ้แต่ละชนิด โดยความน่าเชื่อถือใกล้เคียงกับการทดสอบทางผิวหนัง

ข้อดี ไม่จำเป็นต้องหยุดยาแก้แพ้ เจ็บตัวครั้งเดียวแค่ตอนเจาะเลือด เหมาะสำหรับเด็กที่มีปัญหาผื่นแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis) มากๆ

ข้อเสีย ยังไม่สามารถรู้ผลได้ทันที ต้องรออย่างน้อย 10-14 วัน และมีค่าใช่จ่ายที่ค่อนข้างสูง

 

  1. การทำ Challenge test ในเด็ก นิยมทำเฉพาะ Oral challenge test เท่านั้น คือ การให้ผู้ป่วยลองรับประทานอาหารชนิดที่สงสัยภายใต้การดูแลของแพทย์และสังเกตุอาการที่เกิดขึ้น เป็นวิธีการทดสอบที่ดีและแม่นยำที่สุด แต่มีความเสี่ยง ในการเกิดอาการแพ้ตามมาด้วย ในหลายกรณีจะใช้ประวัติการกิน หรือสัมผัสด้วยความบังเอิญแล้วเกิดอาการ มาช่วยในการวินิจฉัยมากกว่า

 

การเตรียมตัว สำหรับการทดสอบภูมิแพ้ด้วยการสะกิดผิวหนัง (SKIN PRICK TEST)

  1. งดยาแก้แพ้ทุกชนิด อย่างน้อย 7-10 วัน
  2. ผู้ป่วยที่มีอาการแพ้หรือมีผื่นผิวหนังอักเสบ (Atopic dermatitis) ต้องรักษาให้อาการทางผิวหนังดีขึ้นก่อน เพื่อให้มีบริเวณที่จะทำการสะกิดผิวหนัง

 

ขั้นตอนและวิธีการตรวจ (Skin prick test)

  1. เช็ดทำความสะอาดผิวบริเวณที่จะทำการทดสอบ เช่น ท้องแขน แผ่นหลัง
  2. ขีดเส้น เพื่อแสดงตำแหน่งที่จะหยดน้ำยาชนิดต่างๆ สำหรับการทดสอบ
  3. หยดสารน้ำยาสกัดจากโปรตีนสารก่อภูมิแพ้แต่ละชนิดที่สงสัย
  • ผู้ป่วยภูมิแพ้อากาศ หอบหืด ใช้สารก่อภูมิแพ้แบบสูดละออง (Inhalant allergen) เช่น ไรฝุ่น แมลงสาบ หญ้าชนิดต่างๆ ขนสุนัข ขนแมว เชื้อรา นุ่น และยุง ฯลฯ
  • ผู้ป่วยแพ้อาหาร ใช้สารก่อภูมิแพ้โปรตีนในอาหาร (Food allergen) เช่น นมวัว ถั่วเหลือง ไข่แดง ไข่ขาว แป้งสาลี ถั่ว อาหารทะเลต่างๆ ฯลฯ
  1. สะกิดบริเวณผิวหนังที่หยดสาร ด้วย หัวเข็มฉีดยา (needle) ปลายเข็มสะกิด (lancet) หรือเข็มสะกิดผิวแบบพิเศษ (duotip)
  2. ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที
  3. แปลผลปฏิกิริยาทางผิวหนังต่อสารก่อภูมิแพ้ชนิดต่างๆ ด้วยการวัดขนาดตาม อาการบวมแดงของผิวหนัง
  4. อาการบวมแดงที่ผิวหนังจากการแพ้ที่เกิดจากการทดสอบจะดีขึ้นได้เองภายใน 2 นาที

 

พบแพทย์เฉพาะทางสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ #คลิ๊กเลย

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์ 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์

SHARE