ทารกแรกเกิด ร.พ.สินแพทย์ ได้รับการตรวจคัดกรอง

>10 มี.ค. 2563 | เขียนโดย รพ. เด็กสินแพทย์

ทารกแรกเกิด  ร.พ.สินแพทย์ ได้รับการตรวจคัดกรอง

  • โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
  • โรคเอ๋อ
  • การได้ยิน
  • ภาวะตัวเหลือง

 

ทารกแรกเกิด จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและละเอียดอ่อน เพื่อการเริ่มต้นชีวิตที่สมบูรณ์ที่สุด

ในปัจจุบันทารกแรกเกิดทุกรายของ ร.พงสินแพทย์ จะได้รับการดูแล โดยกุมารแพทย์ทารกแรกเกิด (Neonatologist) และได้รับการตรวจคัดกรองหาความผิดปกติ ของร่างกายในระบบต่างๆ ที่เป็นมาตรฐานเดียวกับการดูแลทารกแรกเกิดของสหรัฐอเมริกา (New York State Newborn Screening Program) ดังต่อไปนี้

  1. ตรวจคัดกรองโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียว (Cyanotic Cori genital Heart Disease Screening)
  2. ตรวจคัดกรองโรคเอ๋อ (ภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมน) (Hypothyroidism, Phenylketonuria)
  3. ตรวจคัดกรองการได้ยิน (Hearing Screening)
  4. การตรวจคัดกรองภาวะตัวเหลือง (Neonatal Hyperbilirubinemia Screening)

 

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียว

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เป็นสาเหตุให้ทารกเสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการดูแลและรักษาอย่างทันท่วงที โดยสถิติของการเกิดโรคนี้ ประมาณ 5-10 คน ต่อทารก 1000 คน

น.พ.ชาตรี เรืองฤทธิ์นำชัย กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจในเด็ก ซึ่งเป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลสินแพทย์ และคณะ ได้ใช้แทคนิคการวัดเปอร์เซนต์ออกซิเจนผ่านผิวหนังให้กับทารกแรกเกิดทุกราย เพื่อคัดกรองโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียว มาตั้งแต่ปี 2547 พบผลผิดปกติ 3 ราย ซึ่งปัจจุบันได้รับการผ่าตัดรักษาจนปลอดภัยแล้ว และเทคนิคนี้ได้รับการยอมรับและเผยแพร่ในการประชุมนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก The First Asia-Pacific Congress of pediatric Cardiology and Cardiac Surgery   (หัวใจเด็ก และ ศัลยกรรมหัวใจเด็ก ครั้งที่ 1) และผลการศึกษานี้ได้รับการตีพิมพ์ ในวารสารต่างประเทศ “IMAGES in Pediatric Cardiology”

 

วิธีการ

  • วัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด โดยการใช้เครื่อง Pulse Oximeter
  • วันในขณะที่เด็กนอนหลับ โดยติดสายวัดที่มือ และเท้าของทารกข้างเดียวกัน เปรียบเทียบค่าที่ได้ ค่าปกติต้องมากกว่า หรือเท่ากับ 95% หากน้อยกว่า 95% อาจต้องทำการตรวจเพิ่มเติม เช่น ตรวจ Echo ดูลักษณะของหัวใจ

 

ข้อแนะนำ

  • ผู้เลี้ยงดูควรสังเกตอาการที่ผิดปกติ ถ้าดูดนมได้ช้า ดูดนมแล้วหอบเหนื่อย เหนื่อยหอบง่าย เลี้ยงไม่โต หรือเติลโตช้า เขียวเวลาดูดนม ซึ่งเป็นอาการหนึ่งที่อาจสงสัยว่าเด็กเป็นโรคหัวใจ

 

โรคเอ๋อ

โรคเอ๋อ  หรือ ภาวะปัญญาอ่อนจากการพร่องธัยรอยด์ฮอโมนแต่กำเนิด ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของต่อมธัยรอยด์ หรือการขาดสารไอโอดีนของมารดาในขระตั้งครรภ์  สำหรับประเทศไทยพบทารกที่เป็นโรคเอ๋อ 1 คนต่อทารก 4,000 คน  ภาวะนี้ หากไม่ได้รับการรักษาโดยเร็วจะทำให้พัฒนาการของร่างกายและสติปัญญาล่าช้า เด็กที่ได้รับการรักษาภายใน 1 เดือน จะสามารถพัฒนาการได้ปกติตามวัย

 

วิธีการ

ในทารกที่มีอายุครบ 2 วัน หรือ วันก่อนกลับบ้าน จะมีการเจาะเลือดที่หลังมือใส่กระดาซับเลือด เพื่อส่งตรวจดูค่า TSH และ PKU กับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

 

ข้อแนะนำ

  • คุณพ่อคุณแม่ ควรให้เบอร์โทรศัพท์และที่อยู่ที่ติดต่อได้สะดวกที่สุดกับพยาบาล ก่อนกลับบ้าน เนื่องจากผลตรวจจะทราบหลังวันตรวจประมาณ 2-3 วัน
  • กรณีผลเลือดผิดปกติ ทางโรงพยาบาลจะรีบโทรติดต่อผู้ปกครองให้พาเด็กหลับมาตรวจซ้ำ และรีบให้การรักษาโดยเร็วที่สุด

 

 

การได้ยินในทารกแรกเกิด

เพราะเด็กมีการเรียนรู้จากการฟัง เพื่อให้เกิดพัฒนาการทางภาษาและการพูด หากเด็กไม่ได้ยินเสียงจะส่งผลให้พัฒนากการทางภาษาไม่เกิด  หรือมีพัฒนาการช้า โดยเฉพาะในช่วงขวบปีแรก โดยพบอัตราการสูญเสียการได้ยินในทารกแรกเกิด 1-3 คน ต่อทารก 1,000 คน และ 2-4 คน ต่อทารก 100 คน ที่มีปัจจัยเสี่ยง

 

วิธีการ

  • ตรวจวัดการได้ยินในขณะที่เด็กหลับ โดยใส่ Headphone ในรูหูเด็กทีละข้าง แล้วปล่อยเสียง Click ในระดับความดังที่ไม่เป็นอันตรายต่อหู และไม่รบกวนการนอนของเด็ก เครื่องจะแปลผลการได้ยินและทราบผลการตรวจทันที เป็นการตรวจวัดที่แม่นยำ และเชื่อถือได้

 

ข้อแนะนำ

หากพบมีความผิดปกติในการได้ยิน ตั้งแต่แรกเกิด เด็กควรได้รับการช่วยเหลือเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินก่อนอายุ 6 เดือน เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการใกล้เคียงกับเด็กปกติ และที่สำคัญคือคุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นคอยสังเกตพัฒนาการเด็กตามวัยอยู่เสมอ

 

ภาวะตัวเหลือง

ภาวะตัวเหลือง หรือที่เรียกว่าดีซ่าน เกิดจากทารกแรกเกิดไม่สามารถกำจัดสารสีเหลืองที่เรียกว่า บิลลิลูบิน (Bilirubin) ออกจากร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพทารกทุกคนจะพบมีอาการตัวเหลือง ไม่มากก็น้อยในช่วงอาทิตย์แรก แต่จะเหลืองมากที่สุดในช่วงวันที่สี่ ซึ่งสารนี้หากมีระดับที่สูงมากจะซึมเข้าไปในสมองของทารกทำลายเซลล์ประสาท ทำให้เกิดความพิการ ปัญญาอ่อนได้

 

วิธีการ

ด้วยเทคโนโลยีของเครื่อง Bilirubinometer จึงสามารถทำการตรวจวัดระดับบิลลิลูบินได้โดยไม่ต้องเจาะเลือด มีความแม่นยำสูง และทารกไม่ต้องเจ็บตัว โดยใช้เครื่องมือนี้แนบกับผิวหนังของทารกบริเวณกลางหน้าอก หรือกลางหน้าผาก แล้วปล่อยแสงคล้ายแฟลชของกล้องถ่ายรูป 1-3 ครั้ง ทราบผลการตรวจได้ทันที ในกรณีที่พบความผิดปกติ อาจต้องมีการตรวจเลือดเพื่อยืนยัน

 

ข้อแนะนำ

  • คุณพ่อ-คุณแม่ หรือผู้เลี้ยงดูทารกต้องฝึกสังเกตุอาการตัวเหลืองเป็นประจำอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง โดยสังเกตในที่ที่มีแสงสว่างพอเหมาะ หรือให้ทารกอยู่บนผ้าสีขาว ลูกตื่น ลืมตา  อาจใช้วิธีรีดไล่เลือดที่ฝ่าเท้า ตามที่ได้รับคำแนะนำจากกุมารแพทย์หากพบทารกมีอาการตัวเหลืองควรรีบพาไปพบแพทย์

 

พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์ทารกแรกเกิด ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ (คลิก link เพื่อนัดพบแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์ 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์

SHARE