โรคอ้วนในเด็ก มีผลเสียรอบด้าน !

1 ม.ค. 2563 | เขียนโดย รพ. เด็กสินแพทย์

โรคอ้วนเป็นปัญหาที่พบมากขึ้นในเด็ก สาเหตุเกิดจากกรรมพันธุ์และ lifestyle อาหารการกินที่เปลี่ยนแปลงไป น้องๆหลายๆคนมีปัญหาติดเกมส์ ชอบดูทีวี ไม่ออกกำลังกาย ชอบกินขนมกันมากขึ้น

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกมีภาวะน้ำหนักเกิน หรือ อ้วน หรือไม่ ?

  • เด็กที่มีดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับเปอร์เซ็นไทล์ที่ 85 ของค่าปกติตามอายุและเพศ ถือว่ามีภาวะน้ำหนักเกิน
  • เด็กที่มีค่าดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับเปอร์เซ็นไทล์ที่ 95 ของค่าปกติตามอายุและเพศ ถือว่าเป็นโรคอ้วน

ภาวะแทรกซ้อนตามระบบของเด็กที่เป็นโรคอ้วน

  • ระบบทางเดินหายใจ: มีภาวะนอนกรน หยุดหายใจขณะหลับจากภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น ทำให้สมองขาดออกซิเจน การเรียนแย่ลง หากไม่ได้รับการรักษาจะเกิดความดันในเลือดปอดสูง นำมาซึ่งภาวะหัวใจซีกขวาล้มเหลว
  • ระบบหัวใจและหลอดเลือด: เกิดความดันในเลือดสูง หลอดเลือดแดงมีผนังหนาและอุดตัน ทำให้กล้ามเกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้
  • ระบบต่อมไร้ท่อ: เกิดเบาหวานชนิดที่สอง ไขมันในเลือดสูง กลุ่มอาการเมตาบอลิก นอกจากนี้ในเด็กหญิงก่อนเข้าวัยรุ่นอาจมีภาวะเป็นสาวก่อนวัย หลังเข้าวัยรุ่นอาจมีประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มีสิว ขนดก หนวดขึ้น ซึ่งเกิดจากกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่หรือที่เรียกว่า polycystic ovary syndrome
  • ระบบกระดูกและข้อ: น้ำหนักที่มากทำให้เกิดแรงกดด้านในต่อเซลล์กระดูกอ่อนในข้อเข่ามากขึ้นทำให้ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ขาจึงโก่ง ผู้ป่วยมักมีอาการปวดเข่า เข่าไม่มั่นคงและอาจเกิดกระดูกสะโพกเลื่อนได้ด้วย
  • ระบบทางเดินอาหารและตับ: ทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับและตับอักเสบได้
  • ระบบความนึกคิด: ทำให้เด็กขาดความมั่นใจ ถูกเพื่อนล้อและอาจมีอาการซึมเศร้าได้

แนวทางการป้องกันและรักษาโรคอ้วนในเด็ก

  • ควบคุมอาหารหลีกเลี่ยงอาหารจำพวก fast food ของทอดที่มีไขมันและเกลือสูง น้ำอัดลม ส่งเสริมให้รับประทานผัก และผลไม้สดแทนน้ำผลไม้ ลดปริมาณแคลอรี่ของอาหารที่บริโภคลง 500-1,000 กิโลแคลอรี่ต่อวันจะช่วยให้ลดน้ำหนักลง 5-1 กิโลกรัมต่อสัปดาห์
  • ปรับพฤติกรรมจำกัดเวลาดูTV และเล่นเกมส์วันละไม่เกิน 2 ชั่วโมง ออกกำลังกายวันละ 30-60 นาที
  • ตรวจหาภาวะแทรกซ้อน วัดระดับน้ำตาล ไขมัน และการทำงานของตับ
  • รักษาภาวะแทรกซ้อนอาทิ เช่น รับประทานยารักษาเบาหวานในรายที่ตรวจพบระดับน้ำตาลสูงผิดปกติ รับประทานยาลดระดับไขมันในเลือดกรณีที่ไขมันในเลือดสูง ใช้เครื่องเป่าความดันลมเพื่อเปิดขยายทางเดินหายใจในผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการที่มีไขมันสะสมที่เนื้อเยื่อลำคอมากขึ้น ทางเดินหายใจแคบลง ทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ ผ่าตัดแก้ไขขาโก่งในกรณีที่มีอาการรุนแรง เป็นต้น

พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์พัฒนาการเด็กและพฤติกรรม ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ (คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์ 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์

SHARE