เด็กตัวเตี้ย…..รักษาได้ถ้ารู้เร็ว!!!

30 พ.ค. 2563 | เขียนโดย พญ. สิรินยา บุญธนาพิบูลย์ กุมารแพทย์ต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม
  • เด็กจะสูงหรือเตี้ย “กรรมพันธุ์” เป็นปัจจัยที่สำคัญ
  • แต่ทว่าเด็กที่มีการเจริญเติบโตช้าหรือเตี้ยกว่าปกติ อาจจะมีความผิดปกติบางอย่างแอบซ่อนอยู่
  • การรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสมจะช่วยให้เด็กกลับมามีการเจริญเติบโตและความสูงปกติได้

 

สังเกตุอย่างไรว่าลูกโตช้า หรือ ตัวเตี้ยกว่าปกติ ?

  • ลูกดูตัวเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับพี่น้องท้องเดียวกันเมื่ออายุเท่าๆกัน
  • ตัวเล็กกว่าเพื่อนๆในวัยเดียวกัน
  • มีอัตราการเจริญเติบโตลดลงโดยดูจากกราฟการเจริญเติบโตหรือไม่เติบโตเลย
  • ส่วนสูงอยู่ต่ำกว่าเส้นล่างสุดของกราฟการเจริญเติบโตตามเพศและอายุของเด็ก

 

เด็กตัวเตี้ย เกิดจากอะไรได้บ้าง ?

  • เตี้ยตามพันธุกรรม (familial short stature) เป็นภาวะที่พบได้บ่อย ถือเป็นภาวะปกติและไม่ต้องทำการรักษาใดๆ
  • เตี้ยชนิด ม้าตีนปลาย (constitutional delayed of growth and puberty) เด็กกลุ่มนี้จะเตี้ยร่วมกับเข้าสู่วัยหนุ่มสาวช้ากว่าปกติ แต่หลังจากเข้าสู่วัยหนุ่มสาวแล้วจะกลับมาเติบโตและมีความสูงปกติ
  • ภาวะฮอร์โมนผิดปกติ เช่น ขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต (growth hormone) ขาดฮอร์โมนไทรอยด์ (thyroid hormone) ความผิดปกติของฮอร์โมนคอร์ติซอล (cortisol)
  • ภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวเร็วกว่าปกติ (precocious puberty) ในภาวะนี้ฮอร์โมนเพศมีผลทำให้เด็กสูงเร็วในช่วงแรก หลังจากเมื่อเข้าภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวแล้วก็จะหยุดสูงในทันที
  • การขาดสารอาหาร
  • โรคกระดูก การขาดวิตามินดี
  • โรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคทางระบบทางเดินอาหาร โรคไต โรคติดเชื้อ โรคมะเร็ง
  • การได้รับยาบางชนิดเป็นเวลานาน เช่น สเตียรอยด์
  • เตี้ยโดยไม่ทราบสาเหตุ

 

เมื่อมาพบแพทย์ ต้องตรวจอะไรบ้าง ?

  • ประเมินดูอัตราการเจริญเติบโตเปรียบเทียบกับกราฟการเจริญเติบโต
  • ดูประวัติของเด็กและครอบครัว เช่น ประวัติการตั้งครรภ์ การคลอด น้ำหนักและความยาวแรกเกิด ประวัติการเจ็บป่วย อาหารที่ได้รับ ความสูงและการเข้าสู่วัยหนุ่มสาวของบิดามารดาและพี่น้อง
  • การตรวจร่างกาย ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความยาวของส่วนแขน ขา และเส้นรอบศีรษะ และตรวจหาความผิดปกติอื่นๆที่พบร่วมกัน
  • การเอ็กซเรย์ฝ่ามือและข้อมือ เพื่อประเมินดูการเจริญเติบโตของกระดูก
  • การตรวจอื่นๆทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือดวัดระดับของฮอร์โมนต่างๆ

 

ภาวะเด็กตัวเตี้ยรักษาอย่างไร ?

  • แพทย์จะให้การรักษาตามสาเหตุของเด็กแต่ละคน เช่น การรักษาโรคเรื้อรังที่เป็นสาเหตุ การฉีดฮอร์โมนการเจริญเติบโต (growth hormone) การให้ยาชะลอความเป็นหนุ่มเป็นสาว (GnRH-analogue) การให้ไทรอยด์ฮอร์โมน การให้วิตามินดี

 

พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์ต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ (คลิก link เพื่อนัดพบแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์ 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์

SHARE