Cath Lab ดูแลเรื่องหัวใจ

10 ส.ค. 2563 | เขียนโดย โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์

Cath Lab คือคำตอบ เครื่องเดียวครบ..จบทุกการดูแลเรื่องหัวใจ

 

“โรคหัวใจ” เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้จากหลากหลายปัจจัย ดังนั้นเพื่อประสิทธิภาพในการรักษาและตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยได้อย่างแท้จริง จำเป็นต้องมีการวินิจฉัยโรคให้เกิดความแม่นยำที่สุด

 

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์ จึงได้นำเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีความทันสมัย มาใช้เพื่อเป็นทางเลือกในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจด้วยห้อง Cath Lab หรือห้องสวนหัวใจ ซึ่งเปรียบดั่งห้องวิเศษ ที่ช่วยชีวิตใครมานักต่อนัก หลายคนอาจมีความกลัว และกังวล แต่ด้วยความเชี่ยวชาญของแพทย์ ทำให้เรื่องยาก ไม่ยากมาก ทั้งยังเจ็บน้อย และช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของคนไข้ได้มากขึ้น

 

เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้ป่วย เราจะขอพาไปทำความรู้จักว่าห้อง Cath Lab ว่าคืออะไรกันให้มากขึ้น รวมถึงมีวิธีการตรวจรักษาอย่างไรบ้าง พร้อมมีวิดีโอแสดงเทคนิคการรักษามาให้ได้ชมในท้ายบทความ

 

ห้องปฏิบัติการสวนหัวใจ Cardiac Catheterization Lab หรือ Cath Lab คืออะไร?

 

ห้องปฏิบัติการสวนหัวใจ Cardiac Catheterization Lab หรือเรียกง่าย ๆ ว่า Cath Lab คือห้องปฏิบัติการฉีดสีสวนหลอดเลือดหัวใจเพื่อตรวจการทำงานของหัวใจ ด้วยเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงในการประมวลภาพของหลอดเลือดหัวใจหรือบริเวณอื่น ๆ ของร่างกาย โดยหลังจากที่เครื่องประมวลผลภาพแล้ว จะฉายขึ้นจอและถูกบันทึกเป็นไฟล์ในระบบดิจิทัล เพื่อให้แพทย์สามารถปรับหมุนดูซ้ำได้รอบทิศทาง และเห็นภาพทุกมุมได้อย่างละเอียดอีกด้วย

 

วิธีการสวนหัวใจ (Cardiac Catheterization) คืออะไร?

 

สำหรับวิธีการสวนหัวใจ (Cardiac Catheterization) คือการสอดสายขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร สวนผ่านเข้าไปทางหลอดเลือดแดงที่บริเวณปลายขาหนีบหรือข้อมือ จนปลายสายเข้าไปถึงบริเวณหลอดเลือดหัวใจ หลังจากนั้นจะทำการฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจ และทำการเอกซเรย์ด้วยความเร็วสูง และทำการบันทึกภาพของหลอดเลือดหัวใจแต่ละเส้น เพื่อให้แพทย์ได้ดูจากหน้าจอภาพแบบดิจิทัลผ่านกล่องเอกซเรย์พิเศษ และนำข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ ไปใช้ในการวินิจฉัยโรคต่อไป

 

ในการสวนหัวใจแต่ละครั้งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 20 นาที ซึ่งผู้ป่วยสามารถมั่นใจได้ว่าปลอดภัย เพราะดำเนินการโดยแพทย์เฉพาะทางที่มีความชำนาญการสูง หลังจากทำการตรวจวินิจฉัยเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะดึงสายสวนหัวใจออก และใช้พลาสเตอร์ยาปิดแผลห้ามเลือดจุดที่ใส่สายสวนหัวใจสักระยะหนึ่ง เพื่อเป็นการปิดปากแผล และเพื่อทำให้เลือดหยุดไหล

 

สำหรับข้อดีของการตรวจวินิจฉัยโรคด้วยวิธีนี้ คือ ไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้คนไข้เจ็บตัวน้อย สามารถฟื้นตัวได้เร็ว และกลับไปทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติอีก

 

เมื่อใดควรทำการสวนหัวใจ (Cardiac Catheterization)

 

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการแน่นหน้าอก หรือเจ็บบริเวณหน้าอกมากกว่า 5 นาที หรือมีอาการเหนื่อยง่าย สำหรับผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตัน จำเป็นต้องได้รับการสวนหัวใจ (Cardiac Catheterization) เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคและวางแผนการรักษา อีกทั้งยังเหมาะกับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันจากโรคหัวใจอีกด้วย

 

การดูแลตัวเองก่อน-หลังการสวนหัวใจ (Cardiac Catheterization)

 

การดูแลตัวเองก่อนการสวนหัวใจ

  • ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจร่างกายในเบื้องต้นก่อน เช่น การตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด ตรวจคลื่นหัวใจ เป็นต้น
  • ผู้ป่วยต้องงดน้ำและอาหารก่อนเข้าตรวจประมาณ 6 ชั่วโมง
  • ผู้ป่วยต้องอาบน้ำชำระล้างร่างกาย และเปลี่ยนเสื้อผ้าก่อนเข้าตรวจ

 

การดูแลตัวเองหลังการสวนหัวใจ

  • หลังการตรวจเสร็จแล้ว ผู้ป่วยควรนอนพักนิ่ง ๆ โดยนอนราบแล้วปรับเตียงให้ศีรษะสูง 30-45 องศา และใช้หมอนทรายกดทับไว้บริเวณแผลขาหนีบเพื่อห้ามเลือดอย่างน้อย 2-4 ชั่วโมง
  • หลังจากพักฟื้น ผู้ป่วยสามารถเดินหรือนั่งได้ตามปกติ แต่หลีกเลี่ยงการยกของหนัก
  • ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงไม่ให้แผลถูกน้ำ และจะอาบน้ำได้หลังจากแผลแห้งสนิทเท่านั้น
  • ผู้ป่วยควรดื่มน้ำมาก ๆ อย่างน้อยวันละ 2,000 ซีซี ต่อวันเพื่อให้ไตขับสารทึบแสงออกทางปัสสาวะ

 

เมื่อได้รู้แล้วว่า Cath Lab คืออะไร รวมถึงมีวิธีการทำและการดูแลตนเองก่อนและหลังทำอย่างไรบ้าง คงช่วยให้ผู้ป่วยตัดสินใจเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรักษาได้ง่ายขึ้น ซึ่งถ้าหากสนใจสามารถนัดหมายเพื่อรับคำปรึกษาจากแพทย์ หรือสอบถามเพิ่มเติมที่

 

โทร: 0-2761-5999

แอดไลน์: @synphaet-tpr

ทั้งยังสามารถติดตามข่าวสารอื่น ๆ ได้ที่ https://www.facebook.com/synphaettpr

สินแพทย์ CATH LAB เครื่องเดียวครบ จบที่การดูแลเรื่องหัวใจ

สินแพทย์ CATH LAB เครื่องเดียวครบ จบที่การดูแลเรื่องหัวใจ.“บางคนหัวใจหยุดเต้นไปแล้ว 20-30 นาที ทั้งช็อตไฟฟ้า ทั้งปั๊ม พอมาห้อง CATH LAB ฉีดสีดูว่าเส้นเลือดไหนตัน ใส่ขดลวดขยาย ก็รอดชีวิต”.เพราะโรคหัวใจเกิดด้วยปัจจัยเสี่ยงที่หลากหลาย ดังนั้นเพื่อหาสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจ และวินิจฉัยโรคให้ได้แม่นยำที่สุด หนึ่งในทางเลือกนั้นคือ ห้อง CATH LAB เปรียบดั่งห้องวิเศษ ที่ช่วยชีวิตใครมานักต่อนัก หลายคนอาจมีความกลัว และกังวล แต่ด้วยความเชี่ยวชาญของแพทย์ ทำให้เรื่องยาก ไม่ยากมาก เจ็บน้อย และช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของคนไข้ได้มากขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีนี้ไม่ได้มีอยู่ทุกที่ทั่วไป แต่ที่สินแพทย์เรามีพร้อมให้บริการอย่างครบครัน.มาทำความรู้จักห้อง CATH LAB และดูเทคนิคการรักษแบบต่างๆ ได้ในวิดีโอนี้เลย#ให้สินแพทย์เป็นเพื่อนคุณ#โรงพยาบาลสินแพทย์ #เบื้องหลังทุกการรักษา

โพสต์โดย โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์ Synphaet Theparak Hospital เมื่อ วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม 2020

SHARE
ข่าวประชาสัมพันธ์อื่นๆ