เทคโนโลยี TMS คืออะไร?

9 ก.ย. 2564 | เขียนโดย ศูนย์ระบบประสาทและสมอง,แผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาล สินแพทย์ เสรีรักษ์

เครื่องกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยใช้หลักการการเกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ตามหลักการของ Faraday เมื่อปล่อยกระแสไฟฟ้าผ่านขดลวด (หัว Coil ของเครื่อง) จะเหนี่ยวนำทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก ผ่านกะโหลกศีรษะ ลงไปกระตุ้น ตัวกลางที่มีคุณสมบัตินำไฟฟ้าได้ คือ เซลล์ประสาท ซึ่งเปรียบเสมือน ขดลวดเหนี่ยวนำที่สอง จึงทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลเวียนในสมองได้ โดยที่เราไม่ต้องผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าสู่สมองโดยตรง



คือ เครื่องกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยใช้หลักการการเกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ตามหลักการของ Faraday เมื่อปล่อยกระแสไฟฟ้าผ่านขดลวด (หัว Coil ของเครื่อง) จะเหนี่ยวนำทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก ผ่านกะโหลกศีรษะ ลงไปกระตุ้น ตัวกลางที่มีคุณสมบัตินำไฟฟ้าได้ คือ เซลล์ประสาท ซึ่งเปรียบเสมือน ขดลวดเหนี่ยวนำที่สอง จึงทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลเวียนในสมองได้ โดยที่เราไม่ต้องผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าสู่สมองโดยตรง

      การกระตุ้นให้เซลล์ประสาทเกิดกระแสไฟฟ้า จะเป็นการกระตุ้นเซลล์สมองส่วนต่าง ๆ (modulate neuronal excitability) ทำให้เซลล์สมองมีการเชื่อมต่อที่ดีมากขึ้น (increase neuronal synapse plasticity) ปรับการทำงานของสารสื่อประสาท (modulation of neurotransmitter) ทำให้เซลล์สมองสั่งการหรือทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้การกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ายังเป็นการเพิ่มการทำงานของเซลล์ผนังหลอดเลือด ทำให้เพิ่มการไหลเวียนของเลือดบริเวณที่ได้รับการกระตุ้นมากขึ้น (increase regional blood flow)

      TMS นำมาใช้รักษาโรคอะไรได้บ้าง?

จากหลักการดังกล่าว จึงได้มีการใช้เครื่อง TMS ทั้งในงานวิจัย และในการรักษาผู้ป่วย สำหรับโรคที่ได้รับการรับรองให้สามารถใช้ในการรักษา โดย The US Food and Drug Administration (FDA) คือ

  • โรคซึมเศร้า ที่ดื้อต่อการรักษาด้วยยา
  • โรคย้ำคิดย้ำทำ
  • โรคปวดศีรษะจากไมเกรน

      โรคอื่นๆที่รักษาได้ผลและมีงานวิจัยรองรับ

  • โรคพาร์กินสัน
  •  โรคลมชัก
  • โรคสมองหรือไขสันหลังได้รับการบาดเจ็บ
  •  กลุ่มโรคปวดที่เกิดจากระบบประสาท
  • ฟื้นฟูอาการอัมพฤกษ์ อัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง
  • ภาวะสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ (Alzheimer)
  • อาการปวดเรื้อรัง (Chronic pain)
  • อาการพูดไม่ชัด,อาการกลืนลำบาก

      ทำไมถึงต้องทำ TMS ?   

  • ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ถึงแม้การฟื้นฟูร่างกายด้วยวิธีกายภาพบำบัดหรือกิจกรรมบำบัดจะสามารถช่วยส่งเสริมให้ร่างกายของผู้ป่วยได้กลับมาใช้งานได้ดีขึ้น แต่ต้องอาศัยระยะเวลานาน และต้องทำอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง การทำ TMS จึงเป็นอีกทางเลือก ที่สามารถทำควบคู่ไปกับการทำกายภาพบำบัด เหมือนเป็นตัวเร่ง ที่ช่วยกระตุ้นทำให้เซลล์สมองกลับมาสั่งการได้ดีขึ้น
  • ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา และผู้ป่วยที่ทุกข์ทรมาณกับอาการปวดศีรษะของไมเกรนแล้ว การทำ TMS นอกจากจะเป็นวิธีการรักษาที่ไม่ทำให้ผู้ป่วยเจ็บตัวแล้ว ยังเพิ่มโอกาสและทางเลือก ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาที่นอกเหนือจากยา ช่วยทำให้ผู้ป่วย กลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ ได้เร็วยิ่งขึ้น

      หากต้องการทำ TMS ควรเตรียมตัวอย่างไร และมีขั้นตอนอย่างไร?   

  • ควรเข้ารับการซักประวัติ และตรวจร่างกายโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาทและสมอง เพื่อซักประวัติถึงอาการและโรคที่เป็น ภาวะแทรกซ้อนและปัญหาของผู้ป่วยที่มีในปัจจุบัน และวางแผนกำหนดเป้าหมายในการรักษาด้วยเครื่อง TMS ร่วมกัน โดย ผู้ป่วยและญาติใกล้ชิดที่ทราบประวัติ ควรมาพบแพทย์ พร้อมด้วยประวัติการรักษาจากโรงพยาบาลก่อนหน้า ภาพถ่ายเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง(ถ้ามี)
  • เมื่อแพทย์ได้กำหนดแผนการรักษาด้วยเครื่อง TMS กับผู้ป่วยแล้ว ขั้นตอนการรักษา จะเริ่มจาก การนำหัวคอยล์ (Coil) ที่จะทำหน้าที่ส่งคลื่นแม่เหล็ก มาวางที่ศีรษะ หรือแขนขา ตามจุดที่วางแผนการรักษาไว้ และทำการปล่อยสัญญาณกระแสไฟฟ้า ระหว่างที่ทำ TMS ผู้ป่วยอาจรู้สึกถึงการกระตุกของกล้ามเนื้อแขนขา ฝั่งตรงข้ามกับสมองข้างที่ถูกกระตุ้น
  • การรักษาด้วยเครื่อง TMS จะไม่สร้างความเจ็บปวดหรือปวดเกร็ง หากทำด้วยกระแสไฟฟ้าที่มีความถี่และความรุนแรงที่เหมาะสม โดยต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ตลอดระยะเวลาที่กระตุ้นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง ใช้เวลาประมาณ 30-60 นาทีต่อครั้ง สามารถรักษาแบบผู้ป่วยนอกได้ โดยไม่ต้องใช้ยาดมสลบ ไม่จำเป็นต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาล

 

     ข้อควรระวัง หรือ ข้อห้าม ในการใช้เครื่อง TMS คืออะไรบ้าง?   

  • มีประวัติชักมาก่อน
  • มีโลหะฝังอยู่ในสมอง เช่น คลิปหนีบเส้นเลือดโป่งพองในสมอง เป็นต้น
  • ฝังอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ต่างๆ เช่น เครื่องกระตุ้นหัวใจ เป็นต้น

 

.

พบแพทย์เฉพาะทาง คลินิกอายุรกรรมโรคระบบประสาทและสมอง 

ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ 

(คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา  

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์  

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์ 

โรงพยาบาลสินแพทย์ เสรีรักษ์

 

 

 

SHARE
ข่าวประชาสัมพันธ์อื่นๆ