ไขมันเกาะตับ

20 ม.ค. 2564 | เขียนโดย ศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลสินแพทย์ เสรีรักษ์

ไขมันเกาะตับ หรือ ไขมันพอกตับ ได้อ่านชื่อโรคแล้วอาจดูคล้ายว่าเป็นโรคใหม่ ความจริงแล้วไม่ใช่โรคใหม่ แต่เป็นโรคที่ใกล้ตัวเรา เกิดขึ้นได้กับคนทั่วไป เกี่ยวข้องอย่างมากกับการดำเนินชีวิตในปัจจุบันของเรา



ไขมันเกาะตับ หรือ ไขมันพอกตับ ได้อ่านชื่อโรคแล้วอาจดูคล้ายว่าเป็นโรคใหม่ ความจริงแล้วไม่ใช่โรคใหม่ แต่เป็นโรคที่ใกล้ตัวเรา เกิดขึ้นได้กับคนทั่วไป เกี่ยวข้องอย่างมากกับการดำเนินชีวิตในปัจจุบันของเรา

 

ไขมันเกาะตับอีกหนึ่งตัวการร้ายโรคตับแข็งและมะเร็งตับ

ไขมันเกาะตับ หรือ ไขมันพอกตับ ไขมันแทรกตับ ได้อ่านชื่อโรคแล้วอาจดูคล้ายว่าเป็นโรคใหม่ ความจริงแล้วไม่ใช่โรคใหม่ แต่เป็นโรคที่ใกล้ตัวเรา เกิดขึ้นได้กับคนทั่วไป เกี่ยวข้องอย่างมากกับการดำเนินชีวิตในปัจจุบันของเรา

ภาวะไขมันเกาะตับ ในที่นี้ไม่ใช่กลุ่มเดียวกับผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำ ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคนี้ จึงมักจะไม่เคยทราบมาก่อนว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นกับตัวเอง อาจไม่ได้ใส่ใจหรือสนใจจนกระทั่งตรวจพบโดยบังเอิญ จากการตรวจสุขภาพประจำปี เพราะภาวะนี้ในระยะแรกๆ จะไม่มีอาการผิดปกติใดๆ หรือบางคนอาจมีอาการเล็กน้อย เช่น ปวดแน่นชายโครงด้านขวา อ่อนเพลีย หรือคลื่นไส้เล็กน้อย จนแทบจะไม่เป็นที่สังเกตได้ชัด ถ้าตรวจเลือดจะพบเอนไซม์ตับผิดปกติ แสดงถึงมีภาวะตับอักเสบ ถ้าขาดการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง อาจนำไปสู่การเป็นโรคตับแข็ง และมะเร็งตับได้

 

มีวิธีการตรวจภาวะนี้อย่างไรบ้าง

  • การตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนบน เป็นวิธีการตรวจที่สะดวก แต่ความไวของการตรวจพบจะไม่มาก
  • การตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) หรือเอ็กซเรย์คลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI) ความไวของการตรวจพบความผิดปกติจะเร็วมากขึ้น
  • ตรวจด้วย ไฟโบรสแกน (Fibroscan) ทราบผลทันที ไม่ต้องเจาะตับ ไม่เจ็บ แม่นยำ

การรักษาภาวะไขมันเกาะตับ

 

ต้องลดความเสี่ยง + ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

  • ถ้าอ้วนหรือน้ำหนักเกิน ควรลดน้ำหนักและควบคุมอาหาร จำพวกแป้ง น้ำตาล และของมัน
  • ออกกำลังกาย ให้สม่ำเสมอ โดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบแอโรบิค 30-45 นาที ต่อวัน อย่างน้อย 3-5 วันต่อสัปดาห์
  • ลดและเลิกการดื่มสุรา เพื่อลดผลเสียต่อตับ
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานยา หรืออาหารเสริมที่ไม่จำเป็น
  • ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบในคนที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน
  • ตรวจสุขภาพประจำปีสม่ำเสมอ เพื่อดูค่าเอนไซม์ การทำงานของตับ (SGOT,SGPT)
  • รับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์ เช่นใช้ยารักษาเบาหวาน ยารักษาไขมันในเลือดสูง และยารักษาโรคความดันโลหิตสูง

โรคไขมันเกาะตับ เหมือนภัยร้ายแฝง อาจเป็นได้แบบไม่รู้ตัว หรือแทรกซ้อนอยู่กับโรคอื่นๆ ยิ่งหากไม่ได้ดูแล หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อาจนำสู่โรคตับแข็งและมะเร็งตับได้

SHARE
ข่าวประชาสัมพันธ์อื่นๆ