โรคIPD (Invasive Pneumococcal Disease)

27 เม.ย. 2566 | เขียนโดย รพ.สินแพทย์ เสรีรักษ์

Invasive Pneumococcal Disease เป็นแบคทีเรีย ชื่อ นิวโมคอคคัส หากติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดและที่เยื่อหุ้มสมอง จะทำให้เกิดความรุนแรงถึงขั้นพิการและเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี เนื่องจากภูมิต้านทานโรคน้อย และยังมาสามารถบอกอาการเจ็บป่วยได้



โรคไอพีดี IPD

ย่อมาจาก Invasive Pneumococcal Disease เป็นแบคทีเรีย ชื่อ นิวโมคอคคัส หากติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดและที่เยื่อหุ้มสมอง จะทำให้เกิดความรุนแรงถึงขั้นพิการและเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี เนื่องจากภูมิต้านทานโรคน้อย และยังมาสามารถบอกอาการเจ็บป่วยได้

เชื้อชนิดนี้พบได้ทั่วไปในโพรงจมูกและลำคอ ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ติดต่อทางน้ำมูก น้ำลาย คล้ายโรคหวัด เช่น เวลาไอ หรือ จาม โดยเชื้อชนิดนี้จะมีชีวิตอยู่ในอากาศได้นานกวาปกติ และทำให้เกิดโรคได้ทุกกลุ่มอายุ ถ้าร่างกายแข็งแรงดีก็จะไม่มีอาการผิดปกติ แต่ถ้าร่างกายอ่อนแอ หรือ ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคนี้ จะทำให้เกิดอาการรุนแรง โดยเฉพาะเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันโรคพกพร่อง และผู้ที่มีโรคประจำตัว

ไอพีดี หรือ เชื้อนิวโมคอคคัส  ทำให้เกิดโรคอะไรบ้าง……?

  1. ปอดบวม หรือ ปอดอักเสบ
  2. เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือ พิการ หรืออาจเสียชีวิตได้
  3. โรคหูชั้นกลางอักเสบ (หูน้ำหนวก)
  4. โรคติดเชื้อในกระแสเลือด เกิดโลหิตเป็นพิษ และเชื้อแพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่นๆได้

จะทราบได้อย่างไรว่า ติดเชื้อ IPD

หากสงสัยว่ามีการติดเชื้อ IPD หรือไม่ แพทย์จะทำการตรวจตามอาการ และส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การย้อมสีดูชนิดของเชื้อ และเพาะเชื้อเพื่อตรวจ เช่น ถ้ามีอาการของโรคปอดอักเสบก็ต้องเอาเสมหะมาตรวจหาเชื้อ เป็นต้น

วิธีการป้องกัน  ไอพีดี หรือ เชื้อนิวโมคอคคัส

  1. เลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  2. ใส่ใจความสะอาดของใช้ลูก ล้างมือบ่อยๆ
  3. ปิดปากปิดจมูกทุกครั้งที่ไอ หรือ จาม
  4. ไม่สัมผัสหรือใกล้ชิดคนที่เป็นโรค
  5. หลีกเลี่ยงการพาลูกไปสถานที่แออัด หรือ ก่อโรค
  6. ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวัคซีน เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยอาการของโรค ไอพีดีเมื่อร่างกายได้รับเชื้อ IPD เข้าสู่ร่างกายแล้ว จะก่อให้เกิดอาการภายใน 3 วัน นับจากที่ได้รับ โดยจะมีอาการผิดปกติแสดงออดมาได้หลากหลาย ดังนี้
    • อาการไซนัสอักเสบ
    • อาการหูติดเชื้อหรือหูชั้นกลางอักเสบ
    • อาการปอดอักเสบหรือปอดบวม
    • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
    • ข้ออักเสบ กระดูกอักเสบ
    • เยื่อบุช่องท้องอักเสบ
    • ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด

    แนวทางในการรักษา

    1. การให้ยาฆ่าเชื้อ
    2. การรักษาตามอาการ

           **ปัจจุบันมีวัคซีนที่ป้องกันโรคติดเชื้อชนิดนี้ที่ทางสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทยแนะนำให้รับวัคซีนเสริม**

    เมื่อไหร่…..? ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรค ไอพีดี

    วัคซีนชนิดนี้สามารถให้ได้ตั้งแต่ อายุ 2 เดือนขึ้นไปถึงอายุ 5 ปี โดยปรึกษากุมารแพทย์ก่อนรับวัคซีนแต่สำหรับ คนที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง หรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่องเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อได้รับวัคซีนในการป้องกันโรค ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมสุขภาพให้บุตรหลานของท่าน

SHARE
ข่าวประชาสัมพันธ์อื่นๆ