โภชนาการบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคไขมันในเลือดสูง

30 ต.ค. 2566 | เขียนโดย รพ.สินแพทย์ เสรีรักษ์

ไขมันในเลือดผิดปกติ เป็นภาวะที่มีไขมันเลว (LDL - C) สูงและมีไขมันดี (HDL - C) ต่ำ ซึ่งจะทำให้เกิดหลอดเลือดแดงแข็งตีบ โดยเฉพาะหลอดเลือดที่ไปเลี่ยงหัวใจและสมอง ส่งผลให้มีโอกาสเป็นอัมพาต อัมพฤกษ์ และกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ ซึ่งความผิดปกตินี้จะดำเนินต่อไปเรื่อยๆโดยไม่มีอาการจนกระทั่งถึงจุดที่ทำให้เกิดอาการของโรคต่างๆที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้



ไขมันในเลือดผิดปกติ 

            เป็นภาวะที่มีไขมันเลว (LDL – C) สูงและมีไขมันดี (HDL – C) ต่ำ ซึ่งจะทำให้เกิดหลอดเลือดแดงแข็งตีบ โดยเฉพาะหลอดเลือดที่ไปเลี่ยงหัวใจและสมอง ส่งผลให้มีโอกาสเป็นอัมพาต อัมพฤกษ์ และกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ ซึ่งความผิดปกตินี้จะดำเนินต่อไปเรื่อยๆโดยไม่มีอาการจนกระทั่งถึงจุดที่ทำให้เกิดอาการของโรคต่างๆที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

สาเหตุที่ทำให้เกิด

  1. คนอ้วนรับประทานอาหารไขมันสูง และไม่ค่อยออกกำลังกาย
  2. อายุเพิ่มมากขึ้นออกกำลังกายน้อยลง
  3. ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่เป็นประจำจึงทำให้เกิดการสะสมไตรกลีเซอไรด์
  4. มักพบในเพศชายมากว่าเพศหญิง
  5. กรรมพันธุ์
  6. โรคเรื้อรังบางอย่าง เช่น เบาหวาน ไต ตับ
  7. การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด

ระดับไขมันในเลือดที่ดี

โคเลสเตอรอล  < 200 mg / dL

ไตรกลีเซอไรด์  < 150 mg / dL

LDL – C   < 130 dL

HDL – C   ชาย   45 mg / dL

หญิง    55 mg / dL

อันตรายจากภาวะไขมันในเลือดสูง

 ภาวะโคเลสเตอรอลในเลือดสูง

  • ทานไขมันสัตว์ (น้ำมันหมู, น้ำมันไก่) เนื้อสัตว์ติดมัน / หนัง
  • อาหารทะเล
  • เบเกอรี่

ทำให้ผนังหลอดเลือดขาดความยืดหยุ่นในที่สุด ผนังหลอดเลือดก็จะแข็งและตีบ โดยพาะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองและหัวใจ

     

ภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง

  • ชอบทานไขมัน น้ำตาลทราย ขนมหวานในปริมาณมา
  • ดื่มสุรา

 ทำให้เกิดอาการหลายอย่าง เช่น

  • ปวดท้อง (ไขมันอุดตันหลอดเลือดที่เลี้ยงอวัยวะในช่องท้อง)
  • ตับและม้ามโต (ไขมันไปคั่งอยู่)
  • ระบบประสาททำงานผิดปกติ (ไขมันแทรกในเนื้อเยื่อประสาทมาก)
  • ปวดข้อ (ร่างกายรับน้ำหนักมากเกินไป
  • หลอดเลือดแข็งตัว

สิ่งที่ควรปฏิบัติ

      ควบคุมอาหาร

  • จำกัดปริมาณการทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวหรือโคเลสเตอรอล ได้แก่ อาหารทอด กะทิ เครื่องในสัตว์ / เนื้อสัตว์ติดหนัง / ติดมัน
  • เลือกใช้ไขมันไม่อิ่มตัวในการประกอบอาหาร เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก
  • หลีกเลี่ยงเบเกอรี่

      ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

  • ลดระดับไตรกลีเซอไรด์
  • เพิ่มการเผาผลาญอาหาร โดยเฉาพะโคเลสเตอรอล
  • เพิ่มระดับ HDL – C ซึ่งป้องกันหลอดเลือดแดงแข็ง
  • ออกกำลังกายอย่างน้อย 3 – 5 ครั้ง / สัปดาห์ ครั้งละ 30 – 40 นาที

      งดบุหรี่

  • บุหรี่ ทำให้ HDL – C ต่ำลงและเลี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด

      งดแอลกอฮอล์

  • แอลกอฮอล์ ส่งเสริมการสร้างไตรกลีเซอไรด์
  • งดดื่มแอลกอฮอล์ จะทำให้ไขมันในเลือดลงอย่างรวดเร็ว

ร้ายกว่าไขมันอิ่มตัว ก็ไขมันทรานส์นี่แหละ !!!!

ไขขมันทรานส์ เป็นการนำน้ำมันมาผ่านกระบวนการทางเคมีเพื่อทำให้เก็บรักษาได้นานขึ้นโดยไม่เหม็นหืนพบได้ในมาการีน, เนยขาว, ครีมเทียน, วิปปิ้งครีม, อาหารฟาสต์ฟู้ด และเบเกอรี่ เมื่อทานมากจะเพิ่มระดับ LDL – C และลดระดับ HDL – C ในเลือด เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

SHARE
ข่าวประชาสัมพันธ์อื่นๆ