ในช่วงวัยแรกเกิดของลูก ถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่คุณพ่อ คุณแม่ต้องใส่ใจ ดูแล สังเกตทุกการเปลี่ยนแปลง และความผิดปกติของลูกน้อยอย่างใกล้ชิด เพื่อการเจริญเติบโตที่แข็งแรงและพัฒนาการต่างๆที่สมวัย ปัญหาที่พบบ่อยในทารกแรกเกิดที่คุณพ่อ คุณแม่สามารถสังเกตได้เช่น
ถ่ายอุจจาระบ่อย
- ทารกอาจถ่ายได้มากกว่า 10 ครั้ง/วัน ขณะดูดนมแม่ บิดตัว และผายลม
- น้ำนมเหลืองที่ออกมาช่วง 5 วันแรกหลังเกิด จะมีคุณสมบัติย่อยง่ายและช่วยระบายท้อง
- นมแม่ โดยเฉพาะส่วนบนมีส่วนผสมของแลคโตสซึ่งมีคุณสมบัติอุ้มน้ำ ทำให้ถ่ายบ่อย แก้ไขโดยการให้กินนมหมดเต้า หรือบีบนมส่วนหน้าทิ้ง ให้กินเฉพาะส่วนหลัง
- อุจจาระที่ปากติ จะต้องมีลักษณะเป็นแป้งเปียก สีเหลืองทอง ไม่มีมูกเลือด และไม่มีฟองปน
ไม่ถ่ายอุุจจาระทุกวัน
- ทารกปกติอาจถ่ายวันเว้นวัน ไปจนถึงสัปดาห์ละครั้ง หากได้รับนมผสมในปริมาณมาก
- ทารกปกติ หากไม่ถ่ายทุกวัน ต้องไม่มีอาการท้องอืด หรืออาเจียน เป็นสีเขียวเหลือง ลักษณะอุจจาระ ควรนิ่มคล้ายแป้งเปียก ไม่แข็ง
- หากลักษณะอุจจาระแข็ง คล้ายลูกกระสุนหรือทารกต้องออกแรงเบ่ง และมีอาการท้องอืดร่วมด้วย ควรมาพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ เช่น ลำไส้อุดตัน ขี้เทาเหนียวอุดลำไส้ ลำไส้ขาดเส่นประสาทส่วนไส้ตรง แร่ธาตผิดปกติ
ทารกนอนมาก
สาเหตุ
มาจากอาการเจ็บป่วย น้ำตาลต่ำ กินนมไม่พอ อุณหภูมิร่างกายต่ำ และทารกเกิดก่อนกำหนด
การรักษา
- หาสาเหตุ ที่ผิดปกติ เช่น ซึม ติดเชื้อ ต้องมาพบแพทย์
- ให้น้ำนมอย่างเพียงพอ โโยการปลุกทุก 2 – 3 ชั่วโมง กินให้อิ่ม เป็นมื้อๆ เพื่อสร้างวงจรการกินนมและการนอนหลับให้กับทารก
- กระตุ้นทารกด้วยการลูบบริเวณศีรษะและหลัง ใช้นิ้วเขี่ยฝ่าเท้า คลายผ้าที่ห่อตัวทารกออก
ทารกร้องกวน
หาสาเหตุและแก้ไขตามความเหมาะสม
- น้ำนมแม่ไม่พอ หิวนม
- น้ำนมแม่มีมากเกินไป ได้รับนมส่วนหน้าที่มีน้ำตาลเยอะ ทำให้ไม่สบายท้อง (Colic) มักมีอาการ ท้องอืด ถ่ายเหลว ก้นแดงมีแผลที่ก้น ถ่ายเป็นมูกเลือด ผายลมบ่อย แหวะนม
การแก้ไข
ปั๊มนมส่วนหน้าทิ้งก่อน ปั๊มนมส่วนหน้าทิ้งก่อน บีบบริเวณลานนมขณะให้นมเพื่อให้น้ำนมไหลช้าลง ปั๊มนมไม่ต้องเกลี้ยงเต้า แค่พอให้หายคัด เพื่อให้ร่างกายลดการร้างน้ำนม ยกศีรษะสูง 30 องศาขณะให้นม
- ผ้าอ้อมชื้นหรือแฉะหรือระคายเคียงผิวหนัง
- ไฟสว่าง มีเสียงรบกวน
- คัดจมูก หายใจไม่ออก
การแก้ไข
ใช้น้ำเกลือหยอดจมูกและลูกยางแดงดูดน้ำมูก สำลีพันปลายเช็ดน้ำมูก เปลี่ยนท่า หรือจัดท่าไม่ให้คอพับจนกดทางเดินหายใจ
แพ้โปรตีนในนมแม่
สามารถมีอาการได้ตั้งแต่วันแรกของชีวิต แต่มักพบในช่วง 2-6 สัปดาห์หลังเกิด
อาการ
ปวดท้องร้องกวน ถ่ายเป็นมูกเลือด ก้นแดง มีผื่นรอบก้น มีผื่นผิวหนัง โดยอาการอื่นๆของทารกจะปกติ
สาเหตุ
พันธุกรรม คุณแม่มักมีประวัติทานผลิตภัณฑ์จากนมเยอะในช่วงตั้งครรภ์
การรักษา
- ไม่มียารักษาเฉพาะ
- คุณแม่งดอาหาร ทีละอย่าง อย่างน้อย 2-4 สัปดาห์แล้วสังเกตุอาการทารก ซึ่งหากตอบสนองมักดีขึ้นภายใน 3-4 วัน
- ตัวอย่างอาหารที่แพ้ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากนมวัว ไข่ ถั่ว แป้งสาลี ช็อคโกแลต
- หากทารกตอบสนองต่อการรักษาสามารถให้นมแม่ต่อได้โดยงดอาหารที่แพ้ต่อนาน 2-4 สัปดาห์
- เมื่อคุณแม่งดอาหาร ครบ ให้คุณแม่ลองทานอาหารที่แพ้ใหม่ หากยังมีอาการให้งดต่อเนื่องงาน 6 เดือน
- กรณีการแพ้รุนแรงจน ซีด โปรตีนในเลือดต่ำ การเจริญเติบโตไม่ดี อาจพิจารณาเปลี่ยนนมเป็นนม HA และส่งต่อแพทย์เฉพาะทาง
กรดไหลย้อน
เป็นภาวะทางกายภาพที่ปกติในทารกแรกเกิด
สาเหตุ
แรงดันบริเวณหูรูดระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารต่ำ ทำให้หูรูดหลวมในช่วงแรกเกิด ซึ่งจะค่อยๆแน่นขึ้นภายในอายุ 6 เดือน
การรักษา
จัดท่าทางการนอนด้วยการตะแคง ลดปริมาณน้ำนมต่อมื้อ แต่ให้มื้อถี่มากขึ้น
อาการที่ต้องรักษาด้วยยา / ผ่าตัด
อาเจียนมากจนน้ำหนักขึ้นน้อย ร้องกวนมาก ปฏิเสธอาหาร ตัวเขียว หยุดหายใจ
สะดือแฉะ
การเช็ดสะดือ เช็ดภายนอกสะดือด้วย 70 % แอลกอฮอล์ และเช็ดภายในสะดือบริเวณซอก/รอยพับด้วยน้ำเกลือเช็ดทุกครั้งหลังอาบน้ำและเวลาเปื้อนอุจจาระและปัสสาวะ โดยเช็ดทุกวันจนสะดือหลุด
- สะดือจะหลุดประมาณ 7-21 วัน
- หากสะดือหลุดแล้ว แต่ยังแฉะ หรือมีเนื้อแดงภายในสะดือ สามารถรักษาด้วยการใช้สารซิลเวอร์จี้ ภายหลังจี้บริเวณเนื้อแดงจะกลายเป็นสะเก็ดแห้งสีขาว หรือ อาจเป็นรอยไหม้สีดำ สามารถเช็ดสะดือได้ตามปกติและจะหลุดลอกไปเอง หากภายใน 1 สัปดาห์ หากสะดือยังแฉะ อาจต้องจี้สะดือซ้ำ
อาการที่ต้องมาพบแพทย์
- มีไข้ / ตัวเย็น
- ซึม ตัวลาย ไม่ดูดนม หรือร้องกวนผิดปกติ
- ท้องอืด ตึง ไม่ถ่ายอุจจาระ
- ท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นมูกเลือด / เป็นฟอง
- อาเจียนมีสีเขียวปน
- ตัวเหลืองมาก อุจจาระซีด ปัสสาวะเข้ม
- หายใจหอบเหนื่อย มีอกยก ซี่โครงบาน ตัวเขียว
- อาการที่มารดาหรือผู้เลี้ยงดู รู้สึกว่าผิดปกติไปจากเดิม