แนวทางในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก
แนวทางในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก
- ควรเริ่มการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกในสตรีภายหลังเริ่มมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 3 ปี หรือเมื่อมีอายุครบ 21 ปี
- ระยะห่างของการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก ถ้าเป็นการตรวจด้วย Convention Pap Smear ควรทำทุกๆปี แต่ถ้าตรวจด้วย Liquid-based Cytology ควรตรวจทุก 2 ปี
- ถ้าผลการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นปกติติดต่อกัน 3 ครั้งและสตรีนั้นไม่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก เช่น ประวัติเคยได้รับ Diethylstilbestrol (DES) ตั้งแต่อยู่ในครรภ์,มีการติดเชื้อ HIV หรือมีภูมิต้านทานบกพร่องจากการปลูกถ่ายอวัยวะ หรือได้รับยาเคมีบำบัด สูบบุหรี่, คู่นอนหลายคน, มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย เป็นต้น อาจจะเว้นระยะห่างของการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นทุก 2 – 3 ปี
- ในผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะรับยาเคมีบำบัด,รับยา Steroid อย่างต่อเนื่องหรือติดเชื้อ HIV ควรได้รับการตรวจปีละ 2 ครั้งในปีแรก หลังจากนั้นปีละครั้ง
- ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดมดลูกแล้วไม่จำเป็นต้องตรวจมะเร็งปากมดลูก ยกเว้นผู้ป่วยที่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น CIN 2/3 ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปากมดลูก กรณีดังกล่าวยังได้รับการตรวจภายในอีก อย่างน้อย 10 ปี
การเตรียมตัวก่อนรับการตรวจ
- ต้องไม่มีการตรวจภายในมากก่อน 24 ชั่วโมง
- ไม่มีการเหน็บยาในช่องคลอดมาก่อน 48 ชั่วโมง
- ห้ามล้างหรือทำความสะอาดภายในช่องคลอดมาก่อน 24 ชั่วโมง
- งดการมีเพศสัมพันธ์คืนวันก่อนมารับตรวจ
วิธีการตรวจหามะเร็งปากมดลูก มี 3 วิธี ได้แก่
- Pap Smear (แป๊ปเสมียร์) โดยแพทย์จะเก็บเซลล์บริเวณปากมดลูกด้วยไม้พายจากนั้นป้ายลงบนกระจกแก้ว นำส่งห้องปฏิบัติการเพื่อย้อมสีและตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ วิธีนี้ผลการตรวจมีความคลาดเคลื่อนสูงทางการแพทย์จึงไม่นิยมใช้
- Liquid Prep (ลิควิดแพร็บ) เป็นวิธีที่แม่นยำมากขึ้น โดยแพทย์จะใช้แปรงที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษเก็บเซลล์บริเวณปากมดลูกแล้วปลดส่วนหัวของแปรงลงในขวดน้ำยา ซึ่งจะช่วยรักษาสภาพของเซลล์ที่เก็บได้จะถูกส่งไปยังห้องแล็บ จึงทำให้แพทย์อ่านและแปลผลได้ง่าย
- Thin Prep Pap Test (ตินแพร็บ) พัฒนามาจาก Pap Smear ให้มีประสิทธิภาพและแม่นยำมากขึ้น แพทย์จะเก็บเซลล์บริเวณปากมดลูกด้วยอุปกรณ์เฉพาะ จากนั้นใส่ลงในขวดน้ำยา Thin Prep นำส่งห้องปฏิบัติการเพื่อเตรียมกระจกแก้วด้วยเครื่องอัตโนมัติ จากนั้น จึงทำการย้อมสีและตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์