เลี้ยงลูกติดหวาน ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

>24 ส.ค. 2564 | เขียนโดย ศูนย์โรคระบบต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์

เนื่องจากต่อมรับรสหวาน เด็กพัฒนาได้เร็วและดีกว่ารสอื่น เด็กๆ จึงติดรสหวานได้ง่าย ส่วนหนึ่งมาจากกลไกของร่างกาย และที่สำคัญเมื่อกินน้ำตาลเข้าไปกระแสเลือดจะทำให้สมองหลั่งเอนโดฟินออกมาจึงทำให้มีความสุขสดชื่น สาเหตุนี้เองทำให้เด็กๆ ยิ้มรับทันทีหากได้ทานขนมหวานๆ หากลูกได้ลิ้มรสหวานเร็วเพียงใด  เมื่อโตขึ้นลูกจะยิ่งต้องการเพิ่มปริมาณความหวานของอาหาร ขนมที่รับประทานมากขึ้นไปอีก  เพราะลูกเคยชินกับรสชาติของความหวานแล้ว



เมื่อทารกคลอดออกมาก ลิ้นของทารกยังไม่รู้จักรสชาติใด นอกจากรสชาติของน้ำนมแม่ จึงมีการรณรงค์ให้ลูกกินนมแม่ และเริ่มอาหารเสริมเมื่ออายุ 6 เดือนขึ้นไป  และเน้นให้ลูกได้รับประทานอาหารรสชาติที่ไม่มีการปรุงแต่งใดๆ เพื่อป้องกันการติดรสหวานหรือติดอาหารที่มีรสชาติทำให้กลายเป็นเด็กเลือกกิน ทั้งยังส่งผลทำให้กินยาก และอาจต่อเนื่องไปจนถึงขาดสารอาหารได้ และมีผลกระทบกับสุขภาพด้านต่างๆ ขอเด็กได้

และยังมีโครงการเครือข่ายเด็กไทยไม่ติดหวาน ซึ่ที่มาของโครงการนี้เกิดจาก การรวมกลุ่มกันของกุมารแพทย์และนักวิจัยโภชนาการไทย ซึ่งจากการสำรวจแล้วพบว่า

  1. ตลอดเวลา 10 ปีที่ผ่านมา มีเด็กไทยอ้วนเพิ่มมากขึ้นถึงเท่าตัว และพบว่าวัยผู้ใหญ่เป็นโรคอ้วนมากขึ้นถึง 40%
  2. พบอัตราฟันผุของเด็กไทย ในวัยอายุ 3 ขวบ เด็กจะมีฟันผุประมาณ 60% และในวัยอายุ 6 ขวบ มีประมาณ 70-80%
  3. ซึ่งสาเหตุดังกล่าว จากการสำรวจพบว่าคนไทยกินหวานกันมากขึ้น

 

สาเหตุที่ทำให้เด็กติดรสหวาน

เนื่องจากต่อมรับรสหวาน เด็กพัฒนาได้เร็วและดีกว่ารสอื่น เด็กๆ จึงติดรสหวานได้ง่าย ส่วนหนึ่งมาจากกลไกของร่างกาย และที่สำคัญเมื่อกินน้ำตาลเข้าไปกระแสเลือดจะทำให้สมองหลั่งเอนโดฟินออกมาจึงทำให้มีความสุขสดชื่น สาเหตุนี้เองทำให้เด็กๆ ยิ้มรับทันทีหากได้ทานขนมหวานๆ หากลูกได้ลิ้มรสหวานเร็วเพียงใด  เมื่อโตขึ้นลูกจะยิ่งต้องการเพิ่มปริมาณความหวานของอาหาร ขนมที่รับประทานมากขึ้นไปอีก  เพราะลูกเคยชินกับรสชาติของความหวานแล้ว

 

ช่วงอายุของเด็กที่มีโอกาสติดรสหวาน

อายุ 0-1 ปี

เด็กวัยนี้ติดหวานเนื่องจาก เด็กทารก 50% ไม่ได้กินนมแม่เด็กจึงต้องกินนมผงดัดแปลงถึงแม้ว่ามีการกำหนดมาตรการ 6 เดือนแรกห้ามเติมน้ำตาลในนมผง แต่ก็สามารถเติมได้ในนมเด็กที่อายุ 6 เดือนขึ้นไปเมื่อเด็กเริ่มรสหวานตั้งแต่ 6 เดือน ถือว่าเป็นการเริ่มที่ค่อนข้างเร็วมาก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกนมที่ไม่มีน้ำตาลให้ลูกจะดีที่สุด

 

อายุ 1 ปีขึ้นไป

เมื่อเด็กติดรสหวานแล้ว อาหารที่ตามมาส่วนใหญ่มักจะเป็นน้ำอัดลม ขนม และเด็กจำนวนไม่น้อยที่กิจกรรมระหว่างวันหมดไปกับการดูทีวี หรือจอคอมพิวเตอร์ โทรศัทพ์ หรือ แทปเลต กินไปอยู่หน้าจอไป ทำให้เจริญอาหารและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อโตขึ้นขนมหวานส่วนใหญ่มักเข้าสู่วงจรชีวิตประจำวันโดยอัตโนมัติและจะมากขึ้นเรื่อยๆ

 

อายุ 3 ปีขึ้นไป

ผู้ใหญ่ก็เป็นอย่างในการรับประทานหวานของเด็ก เช่น เมื่อผู้ใหญ่เปิดตู้เย็นดื่มน้ำอัดลมที่มีอยู่เต็มตู้ จึงทำให้เด็กมีการเลียนแบบตาม รวมถึงโฆษณาชวนเชื่อก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่สำคัญด้วยในการเลือกรับประทานหวาน หรือการติดหวานของเด็ก

 

อันตรายจากการติดรสหวานของเด็ก

  • อาการติดรสหวานของเด็กเกิดจากการที่พ่อแม่หรือผู้ใหญ่หยิบยื่นให้ ยิ่งให้ลูกทานของหวานๆ เร็วเท่าใด โอกาสของการติดรสหวานจะตามมาเร็วเท่านั้น นอกจากความหวานจะทำให้เกิดฟันผุแล้วยังเกิดโรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และอาการที่รุนแรงที่สุด คือ ไตวาย
  • น้ำตาลจากความหวานให้พลังงานเพียงอย่างเดียว และหากมีมากเกินไปร่างกายจะทำการขับออก มิฉะนั้นอาจจะเป็นเบาหวานได้ ยิ่งในปัจจุบันนี้พบผู้ป่วยเป็นเบาหวานตั้งแต่ยังเด็กมีมากขึ้นเรื่อยๆ และเด็กที่ติดหวานเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่มีแนวโน้มจะชอบอาหารที่มีไขมันด้วย
  • ความหวานทำให้ฟันน้ำนมผุก่อนวัยอันควรและจะผุเร็วมากขึ้น และเชื้อฟันผุที่เกิดจากอาหารหวานจะลามไปเรื่อยๆ จนถึงฟันแท้เนื่องจากเชื้อเหล่านี้สามารถติดต่อกันได้ เมื่อกินหวานมากฟันผุ เด็กก็จะปวดฟัน เหงือกอักเสบ ไม่อยากเคี้ยวของแข็ง อยากกินแต่อาหารนิ่มๆ เช่น แป้ง ไขมัน หรืออาหารเหลว ไม่ยอมกินผักผลไม้ ทำให้ฟันยิ่งผุเข้าไปใหญ่แถมได้อาหารไม่ครบหมู่และส่งผลต่อร่างกายต่างๆ ตามมาได้

 

การป้องกันไม่ให้ลูกติดหวาน

  1. หลีกเลี่ยงนมผงดัดแปลงที่ผสมน้ำตาล ควรให้ดื่มนมรสจืดที่เป็นนมโคแท้ 100 %
  2. ให้เด็กรับประทานอาหารที่รสชาติหลากหลาย ควรให้ลูกทานผลไม้ที่มีรสหวานตามธรรมชาติ
  3. ไม่ควรยัดเยียดอาหารให้ลูก เช่น เห็นลูกกินนมหวานได้ดีก็ให้ลูกกินแต่นมหวานหรือบังคับให้ลูกกินบ่อยๆ
  4. การปรุงรสอาหาร เช่น ก๋วยเตี๋ยว หากไม่จำเป็นไม่ควรใส่น้ำตาลเพราะตามปกติแล้วคนขายอาหารมักจะเติมน้ำตาลลงในน้ำซุปแล้ว นอกจากนี้ควรเน้นให้ลูกดื่มน้ำเปล่า และหลีกเลี่ยงน้ำอัดลม
  5. ควรรักษาความสะอาดฟันให้ดี รับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างผักผลไม้ เพื่อรักษาฟันน้ำนมไม่ให้หลุดก่อนกำหนด ฟันแท้ที่ตามมาจะขึ้นได้รูปสวยงาม

 

ปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการด้าน โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม ศูนย์เบาหวานและต่อมไร้ท่อในเด็ก ได้ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์ 

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ 

โรงพยาบาลสินแพทย์ เสรีรักษ์ 

SHARE