เมื่อไร ?…ต้องพ่นยา

>14 ม.ค. 2564 | เขียนโดย ศูนย์โรคระบบทางเดินหายใจในเด็ก รพ.เด็กสินแพทย์

ต้องพ่นยาเมื่อไร ?

ถ้าเด็กหายใจเร็ว มีเสียงวี๊ดในทรวงอก ไอมาก ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นหลอดลมตีบ จากหลอดลมอักเสบ หรือ ปvดบวมสามารถใช้ยาพ่นได้เลย ถ้าในสถานที่ที่รักษานั้นมีหรือในบ้านมีก็ควรใช้ยาพ่นมากกว่ายากินเพราะออกฤทธิ์เร็วกว่ายากิน วิธีใช้ก็ง่ายไม่ว่าจะเป็นแบบใช้เครื่องพ่นฝอยละออง หรือ แบบมีกระบอก พ่นยา หรือ แบบสูด ทำให้อาการไอ หรือ แน่หน้าอกของเด็กดีขึ้นอย่างรวดเร็ว  ส่วนในกรณีที่ต้องใช้ยาพ่นแบบควบคุมแพทย์จะเป็นผู้ตัสสินใจ และวางแผนการรักษาให้ เช่น กรณีที่ไอเรื้อรังต้องใช้ยาขยายหลอดลมบ่อยๆ มีอาการเหนื่อยหอบ ชอบไอตอนกลางคืนไอหลังออกกำลังกาย ยาพ่นจะช่วยขยายหลอดลม ช่วยให้ผู้ป่วยหายใจสะดวกขึ้น นอกจากนั้นยังมีผลช่วยให้เสมหะหรือน้ำมูกอ่อนตัวลงง่ายต่อการขับออกมาโดยการ ไอ จาม หรือสั่งออกมา  การพ่นยา ใช้เวลาประมาณ 10- 15 นาที  ยาพ่น  จะมีปริมาณน้อยกว่า ยากินเป็นพันเท่า ยาพ่นจึงปลอดภัยมาก ถึงแม้จะต้องสูดหรือพ่น เป็นเดือน หรือ เป็นปีก็ตาม

 

ขณะพ่นยา ทำไมจึงต้องหายใจลึกๆ ?

การสูดลมหายใจเข้า-ออกลึกๆ จะช่วยให้ละอองของยาถูกสูดเข้าไปในทางเดินหายใจและปอดได้ลึกขึ้น นอกจากนั้นยังช่วยขยายหลอดลม ขับเสมหะได้ลึกมากขึ้น

 

ขณะพ่นยา ทำไมจึงมีควันสีขาว ?

การพ่นยา คือ การใช้ออกซิเจนพ่นนํ้ายาให้แตกตัวเป็นละอองเล็กๆ เหมือนควันก็เพื่อให้สามารถสูดดมเข้าไปในทางเดินหายใจได้ง่าย และทำให้ยาเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

* ควันสีขาวจากการพ่นยาไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อตา

 

หลังการพ่นยา ทำไมถึงไอมากขึ้น?

เนื่องจากยาไปช่วยกระตุ้นให้เสมหะอ่อนตัวจึงทำให้เกิดการไอ เพื่อขับเสมหะออกมา หากเสมหะถูกขับออกมาก็จะเป็นผลดีต่อผู้ป่วย

 

ยาพ่น อันตรายมากกว่าอยากกินจริงหรือ ?

ไม่จริง! ยาพ่นชนิดกระตุ้นประสาทเบต้า(Beta agonist) สามารถให้โดยคำนวณตามน้ำหนักตัวของเด็ก ซึ่งเมื่อสูดดมแล้วอาการตีบของหลอดลมจะดีขึ้นทันทีส่วนชนิด MDI หรือ สูดใน 1 puff จะมีขนาดของยาต่ำมากกว่าอยากกินหลายเท่า เพราะยาออกฤทธิ์โดยตรงที่หลอดลมในขณะที่กินยา 1 ช้อนชาหรือ 1 เม็ด จะมีปริมาณยามากกว่า เพราะอยากให้ใช้เวลาเดินทางนานกว่าและดูดซึมช้ากว่าและอาจจะทำให้มีอาการมือสั่น ใจสั่น และ หัวใจเต้นผิดปกติมากกว่า

 

ใช้ยาพ่นนานๆ ปลอดภัยหรือไม่ ?

ปลอดภัยเนื่องจากปริมาณยาพ่นต่างจากยากินเป็นพันเท่า ยาพ่นจริงปลอดภัยมากถึงแม้จะต้องสูดหรือพ่นเป็นเดือนหรือเป็นปีก็ตาม สเตียรอยด์ในยาเม็ดถ้ากินนานเกิน 2 สัปดาห์ จะกดการทำงานของต่อมหมวกไตมีผลต่อการเจริญเติบโตของกระดูกแต่การใช้ยาชนิดนี้ควรอยู่ภายใต้ความดูแลและคำแนะนำของแพทย์

 

สามารถปรึกษาแพทย์ได้ที่>> https://www.synphaet.co.th/children-ramintra/

#โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์
#โรงพยาบาลสินแพทย์
#เบื้องหลังทุกการรักษาคือความใส่ใจ
#ให้สินแพทย์เป็นเพื่อนคุณ

ด้วยความห่วงใย จาก…โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร.0 2793 5000
หรือคลิกแอดไลน์ โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์ https://goo.gl/ysdW8g
IDline:@synphaetline

พบแพทย์เฉพาะทาง ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ (คลิก link เพื่อนัดพบแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์ 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์

โรงพยาบาลสินแพทย์ เสรีรักษ์

โรงพยาบาลสินแพทย์ กาญจนบุรี

SHARE