เด็กติดเกม ถ้าลูกเรา เป็นแบบนี้ล่ะเราจะจัดการอย่างไรดี?

>5 มี.ค. 2563 | เขียนโดย นพ. ทรงภูมิ เบญญากร จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น

พ่อแม่รายหนึ่งพา“เอก” ลูกชายวัย 11 ปี มาหาหมอด้วยปัญหาเล่นเกมตลอดทั้งวันไปนอกบ้านก็ยังมองแต่ IPad ไม่มองจานข้าวกลางคืนไม่ยอมนอนเล่นแต่เกมทำให้ตอนกลางวันง่วงจนเรียนไม่รู้เรื่องคุยกับเพื่อนเรื่องเกมตลอดเวลา เริ่มทะเลาะกับแม่บ่อยๆ ผลการเรียนตกมีพฤติกรรมก้าวร้าวชกต่อยน้องชายพ่อและแม่จึงพามาพบจิตแพทย์เด็ก

 

อ่านเรื่องนี้จบแล้วพ่อแม่ทุกท่านคงบอกเหมือนกันว่า “ถ้าเลือกได้ขออย่าให้ลูกเราเป็นแบบนี้เลย” แต่ถ้าลูกเรา เป็นแบบนี้ล่ะเราจะจัดการอย่างไรดี? แล้วเราจะป้องกันปัญหานี้อย่างไร?ทั้งหมดนี้หมอมีคำตอบกับ “เรื่องเด็กติดเกม” ครับ คำว่า“เด็กติดเกม”เพิ่งมาฮิตๆกันหลังจากสังคมอินเตอร์เน็ตพัฒนาขึ้นอย่างเฟื่องฟูในระยะ10 ปี หลังนี้จริงๆแล้ว เด็กติดเกมเป็นคำที่เรียกเด็กที่มีความต้องการเล่นเกมแทบจะตลอดเวลาจนกระทั่งส่งผลกระทบต่อ พัฒนาการหลายๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นการเข้าสังคมลดลง อารมณ์หงุดหงิด หรือขาดสมาธิ พูดง่ายๆก็คือ “เล่นเกมจนไม่สนใจตัวเองและคนอื่น นั่นเองอาการหลักๆของเด็กติดเกมจะเหมือนกับผู้ป่วยติดยาเสพติดคือต้องเล่นเกมมากขึ้นเรื่อยๆต้องการหรือโหยหาเกม อยู่ตลอดเวลาเมื่อเล่นเกมก็ไม่สามารถควบคุมการเล่นเกมของตัวเองได้แต่อย่าเพิ่งตกใจว่าเด็กติดเกมจะดูน่ากลัวเหมือนคนติดยาเสพติดครับ

 

สาเหตุของเด็กติดเกมมีหลายประการไม่ว่าจะเป็นกรรมพันธุ์พื้นอารมณ์ของเด็กที่ต้องการสิ่งแปลกใหม่อยู่เสมอ รวมไปถึงสาเหตุจากโรคทางจิตเวชเด็กที่พ่อแม่หลายๆ ท่านรู้จักกันดีคือโรคสมาธิสั้น ทั้งหมดนี้ทำให้สมอง ของเด็กเกิด การเปลี่ยนแปลงโดยในช่วงแรกเมื่อเด็กเริ่มเล่นเกมโดยเฉพาะเกมที่ตอบสนองรุนแรงและรวดเร็วจะทำให้สมองหลั่ง สารเคมีแห่งความสุขออกมาและร่างกายก็จะตอบสนองโดยการเล่นเกมมากขึ้น ต่อมาสมองจึงเลือก ที่จะ “จับ” ต่อตัว กระตุ้นที่คุ้นเคยและลดการตอบสนองต่อตัวกระตุ้นเดิมๆทำให้เราเห็นว่าเด็กติดเกมจะไม่รู้สึกสนุกต่อสิ่งต่างๆ ยกเว้นเกมเท่านั้นและก็ยิ่งเล่นเกมมากขึ้นเรื่อยๆกลายเป็นวงจรตอบสนองที่ไม่สิ้นสุดนั่นเอง

 

เมื่อเราเข้าใจถึงวงจรนี้แล้วเราก็จะสามารถจัดการเด็กติดเกมได้โดยการ “ตัด” วงจรที่ว่านี้การตัดวงจรนี้ ไม่ได้ รุนแรงเหมือนกับการหักดิบเพื่อเลิกยาเสพติดที่สำนักสงฆ์ถ้ำกระบอกแต่อย่างใด แต่การรักษาเด็กติดเกมต้องอาศัย ความร่วมมืออย่างต่อเนื่องของผู้ปกครองเป็นอย่างมาก โดยมีหมอเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาร่วมกับการให้ยา ในบางราย การรักษาเด็กติดเกมสามารถเริ่มได้โดยเด็กและผู้ปกครองต้องตระหนักเห็นความสำคัญของปัญหาก่อนต่อมาจึงมีการวางแผนในการค่อยๆ หยุดเล่นเกมพร้อมกันพ่อแม่และเด็กต้องทำตารางร่วมกันว่าจะให้เล่นเกมเวลาใดบ้าง มีเกมอะไรบ้าง ที่สามารถเล่นได้และที่สำคัญ คือ เด็กควรอยู่ในสายตาพ่อแม่ตลอดเวลาที่เล่นเกมปัญหาที่สำคัญในขั้นตอนนี้คือพ่อแม่ มักไม่ว่างในการดูแลเด็กโดยอ้างว่าไม่มีเวลาบ้าง ไม่ใช่ธุระบ้างหรือปัญหาความขัดแย้งระหว่างพ่อแม่เองปัญหาที่ว่านี้ จึงต้องเริ่มจัดการที่ตัวผู้ใหญ่เป็นหลัก โดยให้เลือกเองว่าพร้อมที่เปลี่ยนแปลง เพื่อลูกหรือเปล่าและให้เห็นว่าเมื่อปัญหา เหล่านี้ ไม่ได้รับการรักษาก็อาจพัฒนากลายเป็นปัญหาสังคมอย่างอื่น เช่น เด็กเกเร หรือเด็กติดยาเสพติด นอกจาก การควบคุมพฤติกรรมแล้วพ่อแม่ควรจะให้รางวัลในกรณีที่เด็กมีพฤติกรรมดี เช่น การไปทานอาหารที่เด็กชอบเมื่อเด็ก สามารถควบคุมการเล่นเกมได้อย่างดีหรือให้คำชมเมื่อเด็กเลือก กิจกรรมอื่นที่ไม่ใช่เกม ยาจะมีความจำเป็นในกรณีที่เด็ก มีโรคทางจิตเวชอื่นๆร่วมด้วย เช่น โรคสมาธิสั้นหรือโรคซึมเศร้าแพทย์จะวางแผนในการใช้ยาอย่างรอบคอบและค่อยๆ หยุดยาเมื่ออาการดีขึ้น

 

การป้องกันปัญหาเด็กติดเกมควรเริ่มจากความเข้าใจว่าพ่อแม่ไม่สามารถ “ห้าม” เด็กไม่ให้เล่นเกมแต่พ่อแม่

 

ควรต้องรู้จักเกมของลูกและเล่นเกมกับลูกบ้าง ดังนั้นพ่อแม่ควรจัดวางคอมพิวเตอร์หรือเครื่องเกมในพื้นที่ที่สามารถ เข้าถึงได้ง่ายเช่น ห้องนั่งเล่น นอกจากนี้ควรเสริมกิจกรรมที่เด็กชื่นชอบ เช่น กีฬา ศิลปะ หรือดนตรี ในกิจกรรม ครอบครัวอย่างต่อเนื่องดังที่หลายคนกล่าวไว้ว่าการป้องกันปัญหาเด็กติดเกมเริ่มต้นได้จากการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ในครอบครัว

 

 

พบแพทย์เฉพาะทาง แผนกจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ (คลิก link เพื่อนัดพบแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์ 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์

SHARE