ศูนย์ทารกแรกเกิด…โดยกุมารแพทย์ชำนาญการทารกแรกเกิด

>18 ม.ค. 2564 | เขียนโดย ศูนย์ทารกแรกเกิด รพ.เด็กสินแพทย์

ทารกแรกเกิดที่ รพ.สินแพทย์ จะได้รับการตรวจคัดกรอง 4 โรค ดังนี้

  • โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียว

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดเป็นสาเหตุให้ทารกเสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการดูแลและรักษาอย่างทันท่วงที โดย
สถิติของการเกิดโรคนี้ ประมาณ 5-10 คนต่อทารก 1,000 คนกุมารแพทย์ผู้ชำนาญการได้ใช้เทคนิคการวัดเปอร์เซนต์ออกซิเจนผ่านผิวหนังให้กับทารกแรกเกิดทุกราย เพื่อคัดกรองโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ชนิดเขียว มาตั้งแต่ปี 2547 พบผลผิดปกติ 3 ราย ซึ่งปัจจุบันได้รับการผ่าตัดรักษาจนปลอดภัยแล้ว และเทคนิคนี้ได้รับการยอมรับและเผยแพร่ในการประชุมนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิกThe First Asia-Pacific Congress of Pediatric Cardiologyand Cardiac Surgery (หัวใจเด็ก และ ศัลยกรรมหัวใจเด็กครั้งที่ 1) และผลการศึกษานี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศ “IMAGES in Pediatric Cardiology”

  • วิธีการ

– วัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด โดยการใช้เครื่อง Pulse Oximeter

– วัดในขณะที่เด็กนอนหลับ โดยติดสายวัดที่มือและเท้าของทารกข้างเดียวกัน เปรียบเทียบค่าที่ได้ ค่าปกติต้องมากกว่าหรือเท่ากับ 95% หากน้อยกว่า 95% อาจต้องทำการตรวจเพิ่มเติม เช่น ตรวจเอ็กโค (Echo) ดูลักษณะของหัวใจ

  • ข้อแนะนำ

ผู้เลี้ยงดูควรสังเกตอาการที่ผิดปกติ ถ้าดูดนมได้ช้า ดูดนมแล้วหอบเหนื่อย เหนื่อยหอบง่่าย เลี้ยงไม่โต หรือ
เติบโตช้า เขียวเวลาดูดนม เป็นอาการหนึ่งที่อาจสงสัยว่าเด็กเป็นโรคหัวใจควรพามาปรึกษาแพทย์

 

 

  • โรคเอ๋อ

โรคเอ๋อ หรือภาวะปัญญาอ่อนจากการพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมน หรือเมตรโมลิซ่ึมผิดปกติแต่กำเนิด สำหรับประเทศไทย
พบทารกที่เป็นโรคเอ๋อ 1 คน ต่อทารก 4,000 คน ภาวะนี้หากไม่ได้รับการรักษาโดยเร็วจะทำให้พัฒนาการของร่างกาย
และสติปัญญาล่าช้า ส่วนเด็กที่ได้รับการรักษาภายใน 1 เดือนจะสามารถมีพัฒนาการที่ปกติตามวัยได้

  • วิธีการ

ทารกทุกคนที่มีอายุครบ 2 วัน หรือในวันก่อนกลับบ้านจะมีการเจาะเลือดที่หลังมือใส่กระดาษซับเลือด เพื่อส่งตรวจดูค่า TSH และ PKU กับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

  • ข้อแนะนำ

– คุณพ่อคุณแม่ควรให้เบอร์โทรศัพท์และที่อยู่ที่ติดต่อได้สะดวกที่สุดกับพยาบาล ก่อนกลับบ้านเนื่องจากจะทราบ
ผลตรวจประมาณ 2-3 อาทิตย์
– กรณีมีผลผิดปกติทางโรงพยาบาลจะรีบโทรติดต่อผู้ปกครอง
ให้พาเด็กกลับมาตรวจซ้ำและรีบให้การรักษาโดยเร็วที่สุด

 

  • การได้ยินในทารกแรกเกิด

เพราะเด็กมีการเรียนรู้จากการฟังเพื่อให้เกิดพัฒนาการทางภาษาและการพูด หากเด็กไม่ได้ยินเสียงจะส่งผลให้
พัฒนาการทางภาษาไม่เกิด หรือมีพัฒนาการช้าโดยเฉพาะในช่วงขวบปีแรก โดยพบอัตราการสูญเสียการได้ยินในทารกแรกเกิด 1-3 คน ต่อทารก 1,000 คน และ 2-4 คนต่อทารก100 คน ที่มีปัจจัยเสี่ยง

  • วิธีการ

ตรวจวัดการได้ยิน (TEOAE) ในขณะที่เด็กหลับ โดยเครื่อง AccuScreen (Germany) ใช้ Eartip ใส่ในรูหูเด็กทีละข้าง แล้วปล่อยเสียง Click ในระดับความดังที่ไม่เป็นอันตรายต่อหู และไม่รบกวนการนอนของเด็ก เครื่องจะแปลผล
การได้ยินและทราบผลการตรวจทันที เป็นการตรวจวัดที่แม่นยำและเชื่อถือได้

  • ข้อแนะนำ

หากพบมีความผิดปกติในการได้ยินตั้งแต่แรกเกิดเด็กควรได้รับการช่วยเหลือ เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินก่อนอายุ 6 เดือน เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการใกล้เคียงกับเด็กปกติและที่สำคัญคือคุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นคอยสังเกตพัฒนาการเด็กตามวัยอยู่เสมอ

 

  • ภาวะตัวเหลือง

ภาวะตัวเหลือง หรือที่เรียกว่าดีซ่าน เกิดจากทารกแรกเกิดไม่สามารถกำจัดสารสีเหลืองที่เรียกว่า บิลลิรูบิน (Bilirubin) ออกจากร่างกายได้ทันกับจำนวนที่เกิดขึ้นในร่างกายทารกทุกคนจะพบมีอาการตัวเหลือง ไม่มากก็น้อยในช่วงอาทิตย์แรก แต่จะเหลืองมากที่สุดในช่วงวันที่สี่ ซึ่งสารนี้หากมีระดับที่สูงมากจะซึมเข้าไปในสมองของทารกทำลายเซลล์ประสาททำให้เกิดสมองพิการและปัญญาอ่อนได้

  • วิธีการ

ด้วยเทคโนโลยีของเครื่อง Bilirubinometer (IM-103, Japan) สามารถทำการตรวจวัดระดับบิลลิลูบินได้โดยไม่ต้องเจาะเลือด มีความแม่นยำสูง และทารกไม่ต้องเจ็บตัวหรือ เสียเลือด หรือ เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ โดยใช้เครื่องมือนี้
แนบกับผิวหนังของทารกบริเวณกลางหน้าอก หรือกลางหน้าผากแล้วปล่อยแสงคล้ายแฟลชของกล้องถ่ายรูป1-3 ครั้ง
ทราบผลการตรวจได้ทันที ในกรณีที่พบความผิดปกติมากอาจจำเป็นต้องมีการตรวจเลือดเพื่อยืนยันอีกครั้งหนึ่ง

  • ข้อแนะนำ

คุณพ่อ-คุณแม่ หรือผู้เลี้ยงดูทารกควรสังเกตอาการตัวเหลืองเป็นประจำอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง โดยสังเกตสีผิวในที่ที่มีแสงสว่างพอเหมาะ โดยให้ทารกอยู่บนผ้าสีขาวและสังเกตสี่ตาของทารกในช่วงที่ลูกตื่นลืมตา อาจใช้วิธีรีดไล่เลือดที่ฝ่าเท้าตามที่ได้รับคำแนะนำจากกุมารแพทย์ หากพบทารกมีอาการเหลืองที่ตาขาวหรือฝ่าเท้าควรรีบพาไปพบแพทย์

พบแพทย์เฉพาะทาง ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ (คลิก link เพื่อนัดพบแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์ 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์

โรงพยาบาลสินแพทย์ เสรีรักษ์

โรงพยาบาลสินแพทย์ กาญจนบุรี

 

 

SHARE