ลูกน้อยนอนกรนเสี่ยงหยุดหายใจ

>1 ม.ค. 2563 | เขียนโดย นพ.รัฐพล สุจิพิธธรรม กุมารแพทย์โรคทางเดินหายใจเด็ก

ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนต้น ขณะนอนหลับในเด็ก (Obstructive Sleep Apnea)

ภาวะนี้พบได้ในเด็กทุกอายุแต่พบบ่อยมาในช่วงอายุ 2-6 ปี ถ้าไม่รักษาจะทำให้เด็กมีภาวะพร่องออกซิเจนขณะหลับ ซึ่งอาจทำให้มีสติปัญญาถดถอย สมาธิสั้น หัวใจโต หรือเสียชีวิตอย่างกะทันหันได้

 

สาเหตุ

ส่วนใหญ่มักเกิดจากต่อมทอนซินที่อยู่ข้างโคนลิ้น และต่อมอดีนอยด์ที่อยู่หลังจมูกมีขนาดโตเบียดบังทางเดินหายใจส่วนต้นขณะหลับ ทำให้ทางเดินหายใจตีบแคบนอกจานี้ อาจเกิดจากการที่เด็กอ้วนเกินไป ทำให้มีไขมันสะสมที่บริเวณคอเพิ่มขึ้น หรือ พบในเด็กที่มีลักษณะโครงหน้า คาง ลิ้น และคอผิดปกติ ทำให้ลักษณะทางเดินหายใจส่วนต้นแคบกว่าปกติ

 

อาการ

เด็กจะนอนกรนร่วมกับอาการหายใจลำบากขณะนอนหลับ ตรงข้ามกับขณะตื่นที่หายใจได้ปกติดี อาการหายใจลำบาก สังเกตได้จากากรที่เด็กหายใจแรงและใช้กล้ามเนื้อหัวใจมากกว่าปกติ ขณะที่หายใจเข้าหน้าอกยุบลงแต่ท้องป่องขึ้น บางคนมีอาการกระสับกระส่ายเหมือนหายใจไม่เข้า นอนในท่าแปลกๆ อ้าปากหายใจ ปากซีดเซียว เสียงกรนขาดหายเป็นช่วงๆ ทั้งๆ ที่เด็กกำลังหายใจอยู่ปัสสาวะราดรดที่นอน พ่อแม่บางรายกลัวลูกหายใจไม่เข้าบางครั้งถึงกับต้องนั่งเฝ้าคอยขยับตัวลูก หรือ เขย่าตัวปลุกให้ลูกตื่น

 

ตอนกลางวันเด็กอาจซุกซน ไม่อยู่นิ่ง มีสมาธิสั้น หลือผลอยหลับบ่อยๆ

 

การวินิจฉัย

วิธีการทดสอบที่ดีที่สุดสำรับการวินิจฉัย ภาวะนี้เรียกว่า Polysomnography เป็นการตรวจด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ในขณะที่เด็กหลับตลอดคืน ทำโดยให้เด็กมานอนในห้องพิเศษ ที่โรงพยาบาล 1 คืนพร้อมผู้ปกครอง มีพยาบาลพิเศษคอยสังเกตการหายใจของเด็ก เครื่องคอมพิวเตอร์จะวัดค่าต่างๆ ผ่านสายที่แปะด้วยสติกเกอร์ที่ตำแหน่งต่างๆ บนตัวเด็ก และบันทึกข้อมูลไว้ตลอด 6-8 ชั่วโมง การตรวจนี้ไม่มีสิ่งใดที่ทำให้เด็กเจ็บปวด และไม่ได้รบกวน การนอนของเด็ก ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์จะบอกให้ทราบได้ว่าเด็กมีภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับหรือไม่ และความผิดปกติที่พบมีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด

 

การรักษา          

  • ส่วนใหญ่รักษาได้โดย การผ่าตัดเอาต่อมทอนซินและต่อมอดีนอยด์ออก
  • งดยาที่ทำให้ภาวะนี้เป็นมากขึ้น ได้แก่ ยานอนหลับ หรือยาลดน้ำมูก
  • รักาโรคติดเชื้อและโรคภูมิแพ้
  • บางรายที่เป็นไม่มากนักอาจจับเด็กนอนคว่ำ หรือนอนตะแคง อาจทำให้อาการดีขึ้นได้บ้าง
  • ถ้าเด็กอ้วนต้องลดน้ำหนัก
  • ถ้าแก้ไขทุกย่างแล้วไม่ดีขึ้นต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ CPAP ผ่านหน้ากากที่คอบบนจมูกของเด็กขณะนอนหลับ เครื่องช่วยหายใจนี้จะมีความดันบวกตลอดเวลา ทำให้ทางเดินหายใจของเด็กเปิดโล่งขึ้น

 

เด็กส่วนใหญ่มักจะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดหลังการผ่าตัด เอาต่อมทอนซิลและอดีนอยด์ออก ในรายที่สาเหตุเกิดจากความอ้วน ถ้าน้ำหนักลดลงได้ อาการมักจะดีขึ้นบางรายอาจจำเป็นต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ CPAP ไปตลอดถ้ารักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล

 

พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์โรคระบบทางเดินหายใจ ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ (คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์ 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์

SHARE