เป็นโรคติดเชื้อชนิดหนึ่งสามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย เกิดจากแบคทีเรียชื่อว่า สเตรปโตคอคคัสนิวโมเนีย อี (Streptococcus pneumoniae)
เชื้อตัวนี้สามารถพบได้ในระบบทางเดินหายใจส่วนบนของคนตามช่องโพรงจมูกและลำคอ โดยผู้ที่มีเชื้ออยู่แต่ ไม่มีอาการใด ๆ เรียกว่าเป็นพาหะของโรค และสามารถแพร่เชื้อนี้สู่ผู้อื่นได้เหมือนกับการแพร่เชื้อหวัด คือ ผ่าน ทางน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ การไอ จาม ซึ่งผู้ที่ได้รับเชื้อไป อาจไม่มีอาการเช่นเดียวกัน หรือเกิดโรคติดเชื้อนิวโม คอคคัสได้
โรคนิวโมคอคคัสเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคปอดอักเสบ และทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตำแหน่งอื่น ๆ ได้อีก ได้แก่ หูชั้นกลางอักเสบ ไซนัสอักเสบ และการติดเชื้อแบบรุกราน หรือ ไอพีดี (IPD, Invasive Pneumococcal Disease) ซึ่งหมายถึงภาวะที่เชื้อสามารถรุกรานผ่านเนื้อเยื่อชั้นต่าง ๆ เข้าไปในกระแสเลือด หรืออวัยวะที่ปราศจากการปนเปื้อนใด ๆ จากภายนอกร่างกาย และทำให้เกิดการติดเชื้อขึ้น เช่นการเกิดเยื่อหุ้ม สมองอักเสบ และการติดเชื้อในกระแสเลือด ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อลักษณะนี้จำเป็นต้องได้รับการรักษาในโรง พยาบาล และหากมีอาการรุนแรงมากอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเกิดขึ้นในเด็กเล็ก หรือผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว
กลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อนี้สูงและมีโอกาสติดเชื้อรุนแรง หรือ ติดเชื้อแบบรุกราน ได้แก่ เด็กเล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี เด็กเล็กในสถานรับเลี้ยงเด็ก ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปี และผู้ ที่มีโรคประจำตัวได้แก่ โรคหัวใจ โรคปอด โรคตับแข็งเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน โรคติดเชื้อเอชไอวี ผู้ ป่วยที่ได้รับการตัดม้าม ภาวะน้ำในช่องไขสันหลังรั่วซึม (cerebrospinal leakage) ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดหูชั้นใน (cochlear implant) และผู้ที่สูบบุหรี่
การรักษาโรคนิวโมคอคคัส ทำได้โดยการให้ยาปฏิชีวนะ โดยวิธีรับประทานหรือให้ทางหลอดเลือดดำ ตาม อาการของผู้ป่วย ซึ่งมักได้ผลดี หากได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะที่อาการยังไม่รุนแรงมาก และไม่มีภาวะเชื้อดื้อยา ปฏิชีวนะ ในปัจจุบันพบว่าเริ่มมีเชื้อนิวโมคอคคัสบางสายพันธุ์ที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะมากขึ้น ทำให้การตอบสนอง ต่อผลการรักษาช้า เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้มากและอาจถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นหากสามารถป้องกันการติด เชื้อได้จะเป็นวิธีที่ดีที่สุด
การป้องกันการติดเชื้อที่ดีที่สุดและทำได้ง่าย ๆ คือ การรักษาสุขอนามัยทั่วไป และการรับวัคซีนป้องกันโรคนิว โมคอคคัส โดยสุขอนามัยทั่วไป ได้แก่ การล้างมือบ่อย ๆ ปิดปาก ปิดจมูกทุกครั้งที่ไอ จาม หลีกเลี่ยงการ สัมผัสกับคนที่เป็นหวัดหรือป่วย ส่วนวัคซีนป้องกันโรคนิวโมคอคคัสในปัจจุบันที่ใช้สำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุมี สองชนิดด้วยกัน ได้แก่ วัคซีนนิวโมคอคคัสแบบคอนจูเกต (PCV13) ซึ่งครอบคลุมเชื้อนิวโมคอคคัส 13 สาย พันธุ์ และ วัคซีนนิวโมคอคคัสแบบโพลีแซคคาไรด์ (PPSV23) ซึ่งครอบคลุมเชื้อนิวโมคอคคัส 23 สายพันธุ์ ซึ่งวัคซีนทั้งสองชนิดนี้สามารถครอบคลุมสายพันธุ์ของเชื้อที่ก่อโรคนิวโมคอคคัสรุนแรงในประเทศไทยได้ ประมาณร้อยละ 68-78 จากเชื้อก่อโรคทั้งหมดประมาณ 90 สายพันธุ์
โดยวัคซีนนิวโมคอคคัส 13 สายพันธุ์ (PCV13) แนะนําให้ฉีดวัคซีนเข้ากล้าม 1 เข็ม แก่ผู้ใหญ่ที่มีปัจจัยเสี่ยง ต่อการติดเชื้อรุนแรงซึ่งมีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปและผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี โดยยังไม่มีคําแนะนําให้ฉีดวัคซีน เข็มกระตุ้น และวัคซีนนิวโมคอคคัสแบบโพลีแซคคาไรด์ (PPSV23) แนะนำให้ฉีดวัคซีน เข้ากล้าม 1 เข็ม แก่ ผู้ใหญ่ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อรุนแรงและผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี อาการข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนนิวโม คอคคัส ส่วนใหญ่เป็นอาการเฉพาะที่ เช่น ปวดบวมบริเวณที่ฉีด ซึ่งมักไม่รุนแรง และสามารถหายได้เองใน 2-3 วัน
พบแพทย์เฉพาะทางสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ #คลิ๊กเลย