ภาวะขาดวิตามิน ดี ในเด็ก!!

>26 พ.ค. 2563 | เขียนโดย พญ. สิรินยา บุญธนาพิบูลย์ กุมารแพทย์ต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม

ภาวะขาดวิตามินดี เป็นปัญหาที่พบบ่อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่มักไม่ได้รับการวินิจฉัย เนื่องจากไม่ค่อยมีอาการผิดปกติที่เด่นชัด โดยจะพบภาวะขาดวิตามินดี ในเด็กหรือทารก ดังต่อไปนี้

 

  1. ทารกที่เกิดจากมารดาที่มีภาวะขาดวิตามินดี (มารดาที่กินมังสวิรัติ ขาดสารอาหาร ไม่ชอบถูกแดดหรือสีผิวเข้ม)
  2. ทารกที่กินแต่นมแม่ โดยไม่ได้รับวิตามินเสริม
  3. ทารกและเด็กที่รับประทานอาหารที่มีวิตามินดี เช่น เนื้อสัตว์ ปลา ไข่ ไม่เพียงพอ
  4. เด็กที่ไม่ค่อยได้สัมผัสกับแสงแดด หรือมีสีผิวเข้ม
  5. เด็กที่ป่วยด้วยโรคตับเรื้อรัง โรคท่อทางเดินน้ำดีตีบตัน โรคของตับอ่อน
  6. เด็กที่มีภาวะอ้วน BMI > 30 kg/m2
  7. เด็กป่วยที่ได้รับยากลูโคคอร์ติคอยด์ ยากันชัก ยาต้านเชื้อรา rifampicin, isoniazid
  8. ผู้ป่วยเด็กที่มีการดูดซึมของอาหารทางลำไส้ผิดปกติ (malabsorption syndromes) จากโรคที่มีการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร หรือได้รับการผ่าตัดลำไส้
  9. เด็กที่ป่วยด้วยโรคไตเรื้อรัง

 

เด็กที่ขาดวิตามินดี จะส่งผลต่อกระดูกและกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดโรคกระดูกอ่อน (rickets) อาจพบภาวะกระหม่อมปิดช้า กะโหลกนิ่ม ฟันขึ้นช้า ฟันผุง่าย กระดูกข้อมือ แขน ขา ผิดรูป  ตัวเตี้ยไม่สมส่วน ในเด็กเล็กอาจมีพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ล่าช้า เด็กโตอาจมาด้วยอาการปวดกระดูกและกล้ามเนื้อ และการขาดวิตามินดี ส่งผลต่อระบบอื่นๆ เช่น ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนได้ง่าย และภูมิแพ้ต่างๆ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 น้ำตาลในเลือดสูง และกลุ่มอาการเมตาบอลิก (โรคอ้วนลงพุง) ถ้าขาดวิตามินดีรุนแรงอาจมาด้วยอาการของแคลเซียมในเลือดต่ำได้แก่ ชักเกร็ง เป็นตะคริว กล้ามเนื้ออ่อนแรง หยุดหายใจ หรือกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม

 

พบแพทย์เฉพาะทาง  ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ (คลิก link เพื่อนัดพบแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์ 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์

SHARE