วัยรุ่นมีพฤติกรรมก้าวร้าว/รุนแรงเกิดจากอะไร

24 ก.ค. 2563 | เขียนโดย รพ. เด็กสินแพทย์

สาเหตุที่วัยรุ่นมีพฤติกรรมก้าวร้าว / รุนแรง  เกิดจากอะไร  และควรแก้ไขอย่างไร

  1. วัยรุ่น ถือเป็นช่วงสุดท้ายของการรู้จัก และสร้างตัวตนก่อนที่จะเป็นผู้ใหญ่ที่มีบุคลิกภาพที่ชัดเจนและมั่นคงตามหลักจิตวิทยา ถือเป็นช่วงเครียดและหัวเลี้ยวหัวต่อ เป็นเรื่องปกติและจำเป็นที่วัยรุ่นจะแสวงหาและทดลองประสบการณ์ต่างๆ บางครั้งเป็นประสบการณ์ที่ต่อต้านกฎเกณฑ์ เดิมๆ ที่เค้ารับรู้มาจะผูกพันกับกลุ่มเพื่อมากที่สุด เป็นสิ่งที่ผู้ใหย่ต้องเข้าใจและยอมรับ
  2. ทำไมวัยรุ่นจึงผู้พฤติกรรมที่ก้าวร้าวและรุนแรง

 

เหตุที่วัยรุ่นมีพฤติกรรมก้าวร้าว / รุนแรง มีอยู่ 3 ปัจจัย ดังนี้

  1. ปัจจัยภายนอก หรือ ปัจจัยทางสังคม เช่น เด้กมีโอกาสที่จะพบกับความรุนแรงมากขึ้นผ่านทางสื่อ เกมส์ ภาพยนต์ และข่าวต่างๆ (ข่าวที่มีความรุนแรงซ้ำๆ บ่อยๆ ) เพราะมีตัวอย่างจากงานวิจัยของสหรัฐอเมริกาฉบับหนึ่งพบว่า เมื่อหเด็กอายุ 3 ปี ดุวีดีโอเกี่ยวกับเรื่องที่มีความก้าวร้าว กับอีกคนหนึ่งที่ดูวีดีโอสารคดี แล้วสังเกตพฤติกรรมของเด็ก เมื่อทดลองหยิบของจากมือของเด็ก พบว่าเด็กที่ดูวีดีโอภาพที่ก้าวร้าวจะแสดงอาการเหวี่ยงตัว ไม่พอใจมากกว่าเด็กที่ดูวีดีโอสารคดี
  2. ปัจจัยทางครอบครัวและคนใกล้ชิด พบว่าเด็กที่มาจากครอบครัวที่ทะเลาะเบาะแว้ง ใช้ความรุนแรงแตกแยก เด็กมีแนวโน้มที่จะแสดงความรุนแรงมากขึ้น
  3. ปัจจัยในตัวเด็กเอง เช่น แนวโน้มของบุคลิกภาพที่ติดตัวมาตั้งแต่เด็ก ได้แก่ ระดับสติปัญญาภาวะทางสมอง เช่นสมาธิสั้น ออทิสติก และแนวโน้มของอุปนิสัยก้าวร้าว เนื่องจาก พื้นฐานอารมณ์
  4. ผู้ใหญ่มีส่วนช่วยวัยรุ่นได้อย่างไร

ผู้ใหญ่จะมีส่วนช่วยได้มาก คือ ต้องเข้าใจและยอมรับพัมนาการของวัยรุ่น ช่วยหาโอกาสให้เค้าได้เรียนรู้จากประสบการณ์ต่างๆ และคอยระวังประสบการณ์ที่อันตราย โดยให้คำปรึกษาให้วัยรุ่นเข้าใจว่าเพราะเหตุใหทำไมถึงอันตราย ช่วยให้วัยรุ่นมีกลุ่มที่สนิทสนม และดูแลกันภยันอันตรายต่างๆ เช่น ยาเสพติด จากเหตุการณ์ที่วัยรุ่นชาวเกาหลี นำปืนมายัง แฟนสาวและตนเองจนเสียชีวิตนั้น เป็นเรื่องที่ควรระวังและไม่ควรจะเกิดขึ้นซ้ำ ดังนั้น ทำอย่างไรเราจึงจะทราบก่อนล่วงหน้าได้

 

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นอาการที่เข้าข่ายว่าเป็นโรคจิตเภท อาการที่ช่วยบงชี้เบื้องต้น ได้แก่

  • พฤติกรรมและอุปนิสัยที่เปลี่ยนไป เช่น แยกตัว ก้าวร้าว ทำร้ายผู้อื่น
  • ความสามารถลดลง เช่น ผลการเรียนต่ำลง
  • มีความเชื่อในสิ่งที่แปลกไป เช่น สนใจศาสนาอย่างลึกซึ้งกว่าปกติ, เชื่องเรื่องจิตวิญญาณมาก
  • มีความคิดหวาดระแวง ซึ่งอาจคล้ายกับอาการวิตกกังวล จนเกินกว่าเหตุ

ในบางรายอาจไม่มีการเตือน แต่มีความผิดปกติของการรับรู้ เช่น มีอาการหูแว่ว ประสาทหลอน ทำร้ายตนเอง ซึ่งหากพบมีอาการต่างๆ ตามที่กล่าวมานี้ ควรรีบพามาพบแพทย์ โดยด่วน ซึ่งจะต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด เพื่อแยกโรคทางระบบประสาท หรือสมองบางชนิด หรือ เป็นผลจากการใช้สารกระตุ้น เช่น แอมเฟตามิน ที่กำลังระบาดอยู่มากในปัจจุบัน

 

สิ่งสำคัญ

ครอบครัวและคนใกล้ชิด มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อภาวะจิตใจของวัยรุ่น รวมทั้งมีส่วนช่วนในหลายประเด็นดังนนี้

  1. เป็นตัวอย่างของคนที่มีสุขภาพดี มองโลกในแง่ดี แก้ปัญหาด้วยเหตุผลมากว่าอารมณ์ เป็นตัวอย่างของการให้อภัย การใช้ความรัก
  2. ผู้ปกครองต้องมีบทบาทในการจัดการสิ่งแวดล้อมของวัยรุ่น ให้มีความรุนแรงน้อยลง มีความเอื้ออาทรต่อกันมากขึ้น
  3. เป็นที่ปรึกษาในกรณีวัยรุ่นเกิดปัญหา หากพบว่ามีอาการผิดปกติเกินกว่าที่จะดูแลได้ ควรรีบพามาปรึกาแพทย์

 

พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์พัฒนาการเด็กและพฤติกรรม ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ (คลิก link เพื่อนัดพบแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์ 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์

SHARE