ภาวะฉุกเฉินในเด็กที่ควรรีบนำเด็กไปโรงพยาบาล เพื่อพบแพทย์ทันที อาการดังต่อไปนี้ เมื่อเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง เช่น กินสารพิษ กินยาเกินขนาด หรือ เลือดออกไม่หยุด หลังจากที่พยายามห้ามเลือดแล้ว เช่น การกด หมดสติ
ภาวะฉุกเฉินในเด็กที่ควรรีบนำเด็กไปโรงพยาบาล เพื่อพบแพทย์ทันที อาการดังต่อไปนี้
- เมื่อเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง เช่น กินสารพิษ กินยาเกินขนาด หรือ เลือดออกไม่หยุด หลังจากที่พยายามห้ามเลือดแล้ว เช่น การกด
- หมดสติ
- ถูกงูกัด สัตว์มีพิษ หรือ แมลงต่อย และ เกิดอันตรายอย่างรุนแรง ภายใน 30 นาที เช่น มีไข้ ปวดข้อ ปวดศีรษะ ลมพิษขึ้นทั้งตัว แน่นในคอ ในอก บวมมาก หมดสติ
- หายใจไม่ออก หายใจลำบาก กระวนกระวาย หรือ หน้าเขียว
- เด็กอาจชัก เมื่อไข้สูง หรือ ลมบ้าหมู ฯลฯ ห้ามใช้ไม้งัดฟัน เพราะฟันอาจหักไปอุดตันหลอดลมได้ ถ้ามีไข้ เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น หรือ น้ำธรรมดา แล้วรีบพาเด็กไปห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด อย่าพยายามให้กินยาในขณะที่เด็กชัก
- ปวดท้องรุนแรง ให้งดอาหารและเครื่องดื่ม ห้ามใช้ยา ถ้ามีไข้และอาเจียนด้วยอาจเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบ หรือ โรคร้ายแรงอื่นๆ
- อาเจียน หรือ ถ่ายเป็นเลือด หรือ เป็นสีดำจำนวนมาก อาจเป็นเพราะมีเลือดออกในกระเพาะอาหารหรือลำไส้14-
- ท้องเสียในเด็กอ่อน หรือ เด็กเล็กๆ การถ่ายอุจจาระเพียง 3-4 ครั้ง ก็เสียน้ำไปมาก ถ้าเด็กมีอาการกระวนกระวาย ตัวร้อนผิวแห้ง ปัสสาวะน้อย อ่อนเพลียมาก แสดงว่า ร่างกายขาดน้ำมาก
- อาการชักเป็นอาการที่พบบ่อยในเด็กอายุ 6 เดือน – 6 ปี มักเกิดจากภาวะมีไข้สูง ถ้าเด็กมีอาการชัก ต้องประเมินเรื่องไข้ ถ้ามีไข้พิจารณาเช็ดตัวจะช่วยให้ไข้ลดลง และ หยุดชักได้ เป็นส่วนมากถ้ายังไม่หยุดให้รีบนำส่งโรงพยาบาลพร้อมเช็ดตัวตามด้วยขณะเดินทาง
กรณีเด็กชัก โดยไม่มีไข้ ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที โดยนอนคว่ำ หรือ นอนตะแคง เพื่อป้องกันการสำลัก ถ้าเด็กชักจนหยุดหายใจ ตัวเขียว ต้องช่วยฝายปอด ไม่ควรใช้ไม้หรือของแข็งงัดฟัน เนื่องจากฟันอาจหักหลุดไปอุดหลอดลมได้ ห้ามกรอกยาทุกชนิดทางปาก ให้คนไข้ที่มีรู้สึกตัว หรือ กำลังชัก