การดูแลเด็กเมื่อเกิดภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน

16 ก.พ. 2563 | เขียนโดย รพ. เด็กสินแพทย์

การดูแลเด็กเมื่อเกิดภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน

  • หากมีอาการหายใจลำบากแต่รู้สึกตัวดีให้นั่งเอนตั้งศีรษะสูง
  • มีอาการหน้ามืดวิงเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลมให้นอนราบกับพื้นยกเท้าสูง
  • ห้ามเปลี่ยนท่าอย่างรวดเร็ว ห้ามให้ยืนหรือเดินเอง
  • ถ้าผู้ป่วยหมดสติให้ตรวจดูชีพจรและการหายใจ ถ้าไม่มีการตอบสนองหรือหยุดหายใจต้องได้รับการปั๊มหัวใจจากผู้ที่ผ่านการฝึกฝนมาเท่านั้น
  • ถ้าผู้ป่วยยังรู้สึกตัวดีและมียาแก้แพ้ชนิดรับประทานให้รับประทานเพื่อบรรเทาอาการ หากอาการไม่ดีขึ้นหลังจากรับประทานยาจำเป็นต้องได้รับการฉีดอะดรีนาลีนหรือ Epipen
  • ผู้ป่วยที่มียาอะดรีนาลีนหรือ Epipen สามารถฉีดที่ต้นขาได้ทันที
  • เมื่อได้รับอะดรีนาลีนแล้วให้รีบนำส่งโรงพยาบาลทันทีเพื่อเฝ้าระวังและติดตามอาการแทรกซ้อน

 

การป้องกันภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน

  • ต้องได้รับการตรวจหาสารก่อภูมิแพ้เพื่อวางแผนการรักษา และหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้นั้นซ้ำ
  • หากเป็นภูมิแพ้ชนิดไม่รุนแรง ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้นั้นซ้ำ เพราะอาจเปลี่ยนเป็นชนิดรุนแรงได้
  • ผู้ที่แพ้แมลงกัดต่อยควรสวมเสื้อผ้าปกปิดผิวให้มิดชิดและไม่ควรเดินเท้าเปล่าบนสนามหญ้า
  • ผู้ที่แพ้อาหารควรอ่านส่วนผสมของผลิตภัณฑ์หรือสอบถามผู้ขายก่อนซื้อมารับประทาน
  • ควรแจ้งหรือระบุประวัติแพ้ของตนเองเมื่อต้องอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น โดยเฉพาะเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภาวะเจ็บป่วย
  • ควรพกสมุดหรือป้ายเล็กๆ ที่ระบุข้อมูลการแพ้
  • ผู้ป่วย และผู้ปกครองต้องได้รับการสอนวิธีใช้ยาฉีดอะดรีนาลีนหรือ Epipen และควรพกยาติดตัวตลอดเวลา

 

พบแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ (คลิก link เพื่อนัดพับแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์  

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา 

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์ 

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์

SHARE