แผนกรังสีวิทยา
พร้อมให้การดูแล โดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการ

.

เบอร์ติดต่อ
02-006-8888
ช่วงเวลาทำการ
เปิดบริการทุกวัน : 
เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง
สถานที่
อาคารA ชั้น1

          แผนกรังสีวิทยา รพ.สินแพทย์ ศรีนครินทร์ ให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยทางด้านรังสีวิทยาอย่างครบวงจร ด้วยวิธีการมาตรฐานทันสมัย  และพัฒนาประสิทธิภาพให้สูงขึ้น

เทคโนโลยีทางการแพทย์

  1. เครื่องเอกซเรย์ระบบดิจิตอล (Digital Radiography) เป็นเครื่องมือการถ่ายภาพรังสีโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้า

มาร่วมในการสร้างภาพ ภาพที่ได้จะปรากฏลงในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์  และนำข้อมูลทางรังสีนี้มาใช้ดูเฉพาะส่วน ขยายภาพ หรือปรับความทึบของภาพ เพื่อศึกษาระดับความทึบต่าง ๆ เช่น เนื้อเยื่อ หรือกระดูก และส่งข้อมูลที่ต้องการแล้วไปบันทึกลงบนฟิล์ม ภาพรังสีระบบนี้ผู้ป่วยจะได้รับปริมาณรังสีน้อยกว่าการถ่ายภาพรังสีลงบนแผ่นฟิล์มตามปกติ และสามารถนำข้อมูลมาดูย้อนหลังได้ สามารถใช้เอกซเรย์ทั่วไป เช่น เอกซเรย์ปอด กระโหลกศีรษะ กระดูกแขน ,ขา และกระดูกสันหลัง เป็นต้น ซึ่งจะใช้วินิจฉัยเบื้องต้นว่า บริเวณที่เอกซเรย์มีความผิดปกติหรือไม่ เพิ่มความรวดเร็วในการเอกซเรย์ โดยหลังจากที่เอกซเรย์เสร็จ ภาพจะปรากฏภายใน 3 วินาที ภาพคมชัดและลดการเอกซเรย์ซ้ำ

 

  1. เครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่ (Portable X-Ray)ใช้สำหรับเอกซเรย์ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวหรือช่วยเหลือตัวเองได้

และผู้ป่วยที่ไม่สามารถมารับบริการที่แผนกเอกซเรยได้ เช่น ที่หอผู้ป่วย(Ward) แผนกฉุกเฉิน (ER) แผนกผู้ป่วยหนัก (ICU) และห้องผ่าตัด(OR) สามารถเคลื่อนย้ายไปพื้นที่ต่างๆที่ต้องการได้สะดวก

 

  1. เอ็มอาร์ไอ (MRI) หรือ เครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging) เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์

ที่ใช้ตรวจดูอวัยวะภายในโดยไม่มีการใส่ส่วนของอุปกรณ์ใด ๆ เข้าไปในร่างกาย (noninvasive equipment) หลักการทำงานของเอ็มอาร์ไอจะอาศัยการทำปฏิกิริยา ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและ คลื่นความถี่วิทยุ กับ อนุภาคโปรตอนที่อยู่ในส่วนประกอบของเนื้อเยื่อแต่ละชนิด ซึ่งปฏิกิริยานี้จะทำให้ได้สัญญาณภาพ (image signal) ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นภาพของอวัยวะภายในโดยระบบคอมพิวเตอร์ แมกเนติกเรโซแนนซ์ อิมเมจิ้ง (MRI) เป็นเครื่องมือปลอดรังสีเอ็กซ์เพราะไม่ใช้รังสีเอ็กซ์ในการสร้างสัญญาณภาพ ของอวัยวะภายใน

  • MRI สามารถตรวจหาความผิดปกติของสมอง และเส้นประสาทในสมอง ได้แก่ สมองขาดเลือด, เนื้องอก, สาเหตุการชัก, การอักเสบติดเชื้อของเนื้อสมองและเยื่อหุ้มสมอง เป็นต้น
  • MRI สามารถตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะต่าง ๆ ในช่องท้อง มดลูก และรังไข่ในเพศหญิง ต่อมลูกหมากในเพศชาย
  • MRI สามารถหาความผิดปกติของกระดูก ข้อต่อต่างๆ เส้นประสาทไขสันหลัง ได้แก่ หมอนรองกระดูกเคลื่อน, เนื้องอกไขสันหลัง, การติดเชื้อ, บาดเจ็บไขสันหลัง ตรวจหาความผิดปกติของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ รวมทั้งการฉีกขาดของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นบริเวณข้อกระดูก เป็นต้น
  • MRI สามารถตรวจดูความผิดปกติของเส้นเลือด และการไหลเวียนของเลือด

         การตรวจด้วย MRI  สามารถให้ภาพที่แยกความแตกต่างระหว่างเนื้อเยื่อต่าง ๆ ได้ชัดเจน ทำให้การวินิจฉัยโรคมีคว ถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น สามารถทำการตรวจได้ในทุกระนาบ ไม่ใช่เฉพาะแนวขวางอย่างเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ใช้ได้ดีกับส่วนที่ไม่ใช่กระดูก (non bony parts) คือเนื้อเยื่อ (soft tissues) โดยเฉพาะ สมอง เส้นประสาทไขสันหลัง และเส้นประสาทในร่างกาย (CT scan ดูภาพกระดูกได้ดีกว่า ) นอกจากนี้ยังใช้ได้ดีกับกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นยึดกระดูกและกล้ามเนื้อ

 

 

  1. CT SCAN (ซีที สแกน หรือ Computerized Tomography Scan)

การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรยคอมพิวเตอร์ ซึ่งแพทย์จะฉายรังสีเอกซเรย์ตามร่างกายบริเวณที่ต้องการตรวจ แล้วใช้คอมพิวเตอร์สร้างเป็นภาพฉายลักษณะและอวัยวะภายในร่างกาย เพื่อประกอบการวินิจฉัยหาความผิดปกติของร่างกายต่อไป โดยวิธีการนี้จะได้ภาพที่มีความละเอียดสูงกว่าการเอกซเรย์แบบธรรมดา และสามารถใช้ตรวจอวัยวะภายในร่างกายได้เกือบทุกส่วน

– ตรวจวินิจฉัยอาการป่วย เช่น ตรวจหาการบาดเจ็บเสียหายของอวัยวะภายใน ภาวะเลือดออกของอวัยวะภายใน การไหลเวียนของเลือด การเกิดลิ่มเลือด รอยแตกร้าวของกระดูก ภาวะสมองขาดเลือด เนื้องอก และเนื้อร้าย

– ติดตามการรักษาอาการป่วย ทั้งในระหว่างการรักษาและหลังการรักษา เช่น ตรวจดูขนาดของก้อนเนื้องอก ตรวจผลหลังการรักษามะเร็ง

– ตรวจเป็นแนวทางประกอบการรักษา เช่น ตรวจหาขนาดและรูปร่างของก้อนเนื้อก่อนทำรังสีบำบัด ใช้ CT Scan เพื่อฉายภาพในขณะที่แพทย์ใช้เข็มเจาะถ่ายของเหลวในฝีออก หรือใช้เข็มนำตัวอย่างชิ้นเนื้อออกมาตรวจ

– ใช้เวลาในการตรวจ 45 นาที – 1 ชั่วโมง

 

 

  1. Digital Mammogram  เครื่องตรวจหามะเร็งเต้านมที่ถือเป็นเทคโนโลยีชั้นนำระดับประเทศ ส่งผลให้เครื่อง Digital

Mammogram สามารถตรวจพบโรคได้ตั้งแต่ระยะแรกก่อนแสดงอาการซึ่งอาจไม่สามารถตรวจพบได้จากการตรวจสุขภาพทั่วไป ด้วยระบบที่แม่นยำสามารถตรวจรายละเอียดของเนื้อเยื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะประเมินร่วมกับการ Ultrasound เพื่อผลลัพธ์ในการวินิจฉัยมะเร็งเต้านมได้ดียิ่งขึ้น การตรวจด้วยเครื่อง Digital Mammogram ไม่มีอันตรายหรือส่งผลเสียต่อร่างกาย และใช้เวลาเพียง 10-15 นาทีเท่านั้น เนื่องจากมะเร็งเต้านมเป็นโรคที่ไม่สามารถพบเจอได้จากการตรวจคัดกรองสุขภาพโดยทั่วไป ไม่แสดงอาการในระยะแรกจึงควรต้องตรวจวินิจฉัยผ่านเครื่อง Digital Mammogram ซึ่งเป็นเครื่องเฉพาะทางเพื่อความแม่นยำเท่านั้น หากตรวจพบโรคมะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะแรก ๆ จะทำให้สามารถรักษาได้ง่ายกว่าระยะหลัง ๆ ได้มาก เนื่องจากคุณภาพของภาพการตรวจที่สูง มีความชัดเจน และแม่นยำ

 

  1. เครื่องอัลตราซาวด์ (Ultrasound) การตรวจทางการแพทย์โดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงผ่านทะลุเข้าสู่อวัยวะภายในเพื่อ

จับภาพอวัยวะหรือส่วนต่างๆภายในร่างกาย ซึ่งนอกจากจะใช้ในการตรวจดูทารกในครรภ์ได้แล้ว ยังสามารถใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรคหรือเป็นเครื่องมือช่วยให้แพทย์เห็นภาพร่างกายในขณะที่ทำการฉีดยา เป็นการตรวจที่ปลอดภัย เพราะไม่ใช้รังสีเอกซ์ คลื่นแม่เหล็กหรือคลื่นวิทยุ และไม่มีการฉีดสี ดังนั้นจึงสามารถทำการตรวจซ้ำๆ ได้บ่อยกว่าการตรวจแบบ X-rays และการตรวจแบบ MRI สามารถตรวจได้ทุกเนื้อเยื่อหรืออวัยวะเช่นเดียวกับการตรวจ x-rays และการตรวจแบบ MRI แม้ความละเอียดชัดเจนของภาพจะเทียบเท่าแต่สามารถประเมินและวินิจฉัยได้เช่นกัน สามารถจับภาพเนื้อเยื่ออ่อนได้ชัดเจนกว่าการตรวจแบบ X-rays ราคาในการตรวจด้วยเครื่อง Ultrasound diagnostic  มีค่าใช้จ่ายถูกกว่าการตรวจแบบ x-rays และการตรวจแบบ MRI ค่อนข้างมาก

 

สามารถตรวจวินิจฉัยอะไรได้บ้าง?

  1. เส้นเอ็นบริเวณต่างๆ เช่น เอ็นข้อไหล่, เอ็นข้อศอก, เอ็นข้อหน้าเข่า ฯลฯ
  2. เส้นใยกล้ามเนื้อที่มีอาการปวด เพื่อประเมินดูถึงความรุนแรงและแนวทางในการรักษา
  3. ข้อต่อต่างๆ เช่น การอักเสบของข้อเข่า เพื่อประเมินว่าข้อเข่านั้นมีการบวมจากสารน้ำหรือมีข้อเสื่อมและหินปูนเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด และใช้ ในการฉีดยาต่างๆ เพื่อให้เกิดความถูกต้อง แม่นยำ และปลอดภัยในการฉีดยา เช่น การฉีด Prolotherapy, การฉีด Steroid, การฉีด PRP.
  4. เครื่องเอกซเรย์ฟลูออโรสโคปี (X-ray Fluoroscopy) เป็นเครื่องเอกซเรย์ที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยโดยรังสีแพทย์ เพื่อค้นหาความผิดปกติของอวัยวะภายในร่างกายที่เป็นภาพจริง ณ ขณะนั้น (real time)  ได้แก่ การตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น และสามารถบันทึกภาพการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆ เช่น การหายใจ การกลืนของหลอดอาหารได้ ระบบประกอบด้วยเตียงเอกซเรย์ และแกนเอกซเรย์ที่เป็นแขนรูปตัว C ซึ่งมีแหล่งกำเนิดเอกซเรย์อยู่ใต้เตียง และมีตัวรับภาพอยู่เหนือเตียง และส่งสัญญาณภาพไปแสดงยังหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้ในทันที
  5. เครื่องตรวจความหนาแน่นของกระดูก (Bone mineral density, BMD) เพื่อประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) และความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะกระดูกหักอันเนื่องมาจากภาวะกระดูกพรุนในระยะเวลา 10 ปี