การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง endoscope (Endoscopic spine surgery)

4 ม.ค. 2566 | เขียนโดย

การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง endoscope (Endoscopic spine surgery) เป็นหนึ่งในการผ่าตัดบาดเจ็บน้อย (minimally invasive spine surgery) เป็นการใช้เทคโนโลยี และ เทคนิคในการผ่าตัดสมัยใหม่ โดยจุดประสงค์เพื่อให้มีการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อโดยเฉพาะกล้ามเนื้อให้น้อยที่สุด และผลการรักษาไม่ด้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดแผลปกติ (conventional operation)



การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง endoscope (Endoscopic spine surgery) เป็นหนึ่งในการผ่าตัดบาดเจ็บน้อย (minimally invasive spine surgery) เป็นการใช้เทคโนโลยี และ เทคนิคในการผ่าตัดสมัยใหม่ โดยจุดประสงค์เพื่อให้มีการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อโดยเฉพาะกล้ามเนื้อให้น้อยที่สุด และผลการรักษาไม่ด้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดแผลปกติ (conventional operation)

การผ่าตัดโดยใช้ endoscope ถือเป็น gold standard ในการผ่าตัดบางชนิด เช่น การผ่าตัดเส้นเอ็นข้อเข่า และการผ่าตัดซ่อมเอ็นในข้อไหล่ ปัจจุบันการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง endoscope ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเริ่มเป็นที่แพร่หลายในบางพื้นที่ เป็นทางเลือกที่มีความน่าสนใจ

หลักการคือเป็นการผ่าตัดผ่านกล้อง endoscope ซึ่งมีขนาดน้อยกว่า 1 เซนติเมตร เป็น single portal อาศัยระบบน้ำ เพื่อช่วยให้การมองเห็นชัดเจนเป็นอย่างดี (lens optic under fluid) และลดเลือดออกในการผ่าตัด โดยในขณะผ่าตัดมองผ่านจอ monitor

ข้อดีของการผ่าตัดผ่านกล้อง endoscope

  1. ทำงานภายใต้การมองเห็นที่ดี (working under excellent visual)
  2. มีการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อและกระดูกน้อย (minimized resection of bone and ligaments, possible reduction of surgery-induced instabilities)
  3. แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กประมาณ 1 เซนติเมตร เจ็บแผลน้อย และลดเวลาในการนอนโรงพยาบาล (reduce pain and short hospitalization)
  4. ลดการเกิดแผลเป็นในโพรงกระดูกสันหลัง ทำให้ถ้าต้องมีการผ่าตัดในครั้งต่อไป เป็นไปด้วยความไม่ยากลำบาก (reduced epidural scarring, subsequent operations are not made more difficult)
  5. ใช้เวลาในการผ่าตัดน้อยในกรณีที่มีความชำนาญ

ข้อบ่งชี้ที่ใช้ในการผ่าตัดผ่านกล้อง endoscope

  1. หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Lumbar disc herniation) (ได้ทุกชนิด ทุกตำแหน่ง)
  2. โพรงประสาทตีบแคบทับเส้นประสาท หรือ ที่เรียกกันว่ากระดูกทับเส้นประสาท (Spinal canal stenosis) โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังร้าวลงขาเพียงข้างเดียว
  3. ถุงน้ำจากข้อต่อกระดูกสันหลัง (Facet cyst)

การดูแลหลังผ่าตัด

  1. นอนโรงพยาบาลหลังผ่าตัด 1-2 คืน
  2. สามารถลุกเดินได้เลยหลังผ่าตัด
  3. ในกรณีที่ต้องตัดไหม ตัดไหม 2 สัปดาห์หลังผ่าตัด
  4. ใส่ที่พยุงหลัง (L-S support) เพื่อพักเนื้อเยื่อ และเป็นตัวช่วยเตือนในการจำกัด activity 4 สัปดาห์
  5. สามารถกลับไปทำงานได้ 2-4 สัปดาห์ (ขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่ทำ)

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

 เหมือนการผ่าตัดแบบเปิดแผลปกติ ภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้น้อย เช่น การติดเชื้อที่บริเวณหมอนรองกระดูกสันหลัง (discitis) แผลผ่าตัดติดเชื้อ (wound infection) ถุงหุ้มเส้นประสาทฉีกขาด (dural tear) มีโอกาสที่ต้องเปลี่ยนจากผ่าตัดส่องกล้องเป็นผ่าตัดแบบเปิดแผลปกติ โอกาสเกิดเป็นซ้ำของหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท (recurrent disc herniation) อยู่ที่ประมาณ 6%

ในปัจจุบันการผ่าตัดโดยวิธีใช้กล้อง endoscope เป็นที่นิยมมากขึ้น และคาดว่าจะเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นในอนาคต โดยวิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีที่ดึงดูด น่าสนใจ และได้ผลดี แผลผ่าตัดเล็ก บาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อน้อย อาการเจ็บปวดจากแผลผ่าตัดน้อย ใช้เวลาในการนอนโรงพยาบาลสั้น ใช้ได้ในการผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาททุกชนิด และ โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบทับเส้นประสาทที่เป็นระดับเดียว (lateral recess or central spinal stenosis) และโรคถุงน้ำจากข้อต่อกระดูกสันหลัง (facet cyst) โดยได้ผลการรักษาที่ดีไม่ต่างจากการผ่าตัดแบบเปิดแผลปกติ

ในปัจจุบันการผ่าตัดโดยวิธีใช้กล้อง endoscope เป็นที่นิยมมากขึ้น และคาดว่าจะเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นในอนาคต โดยวิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีที่ดึงดูด น่าสนใจ และได้ผลดี แผลผ่าตัดเล็ก บาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อน้อย อาการเจ็บปวดจากแผลผ่าตัดน้อย ใช้เวลาในการนอนโรงพยาบาลสั้น ใช้ได้ในการผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาททุกชนิด และ โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบทับเส้นประสาทที่เป็นระดับเดียว (lateral recess or central spinal stenosis) และโรคถุงน้ำจากข้อต่อกระดูกสันหลัง (facet cyst) โดยได้ผลการรักษาที่ดีไม่ต่างจากการผ่าตัดแบบเปิดแผลปกติ

 

 

 

 

SHARE
ข่าวประชาสัมพันธ์อื่นๆ