อย่าให้โรครองช้ำ ต้องทำให้ช้ำใจ

4 เม.ย. 2564 | เขียนโดย รพ. สินแพทย์ ลำลูกกา

อยู่ ๆ ก็รู้สึกเจ็บที่ฝ่าเท้า แปล๊บ ๆ และคิดว่าปล่อยไว้ หรือกินยาแก้ปวดก็คงหายดี แต่กลับทำให้อาการทรุดลง เริ่มเดินไม่สะดวกและเจ็บฝ่าเท้าหนักขึ้นจนเดินแทบไม่ไหว อาการเหล่านี้เองที่เป็นสัญญาณบอกถึง “โรครองช้ำ” ของเรา ซึ่งหากปล่อยไว้ อาการเหล่านี้จะกระทบการใช้ชีวิตประจำวันของเราได้



โรครองช้ำ จะมีการปวดที่ฝ่าเท้า และส้นเท้า โดยเอ็นที่ยึดระหว่างส้นเท้าและกระดูกนิ้วเท้าเกิดการอักเสบ หรือการฉีดขาดของผังพืดฝ่าเท้า (Plantar Fascia) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเดินลงน้ำหนักที่เท้า ทำให้มีอาการปวดส้นเท้า หรือส่วนโค้งใกล้ส้นเท้า เจ็บคล้าย ๆ กับมีของแหลมมาทิ่ม ซึ่งอาการเจ็บนี้จะเป็นมากในช่วงเช้าหลังตื่นนอน และจะมีอาการดีขึ้นเมื่อมีการบริหารฝ่าเท้า แต่บางครั้งอาจปวดทั้งวันได้ หากมีการยืน หรือเดินเป็นเวลานาน
โรครองช้ำสามารถเกิดได้กับทุกคน แต่จะมีโอกาสเกิดมากกับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง ดังต่อไปนี้
1.ผู้มีน้ำหนักตัวมากเกินไป
2.ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคข้ออักเสบเรื้อรัง
3.นักกีฬาที่ต้องใช้เท้ามาก ๆ เช่น นักวิ่ง
4.ผู้สูงอายุโดยเฉพาะเพศหญิง
5.ผู้ใส่รองเท้าไม่พอดีกับเท้า และผู้หญิงที่ใส่รองเท้าส้นสูงเป็นประจำ
อย่างไรก็ตามโรคนี้สามารถรักษาได้ตั้งแต่เริ่มมีอาการแสดง โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตั้งแต่เริ่มมีอาการ การทานยาตามแพทย์สั่ง การรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัด และการใส่เฝือกชั่วคราวได้
โรงพยาบาลสินแพทย์ลำลูกกา เราไม่อยากให้โรครองช้ำ มาทำให้คุณช้ำใจ ด้วยแผนกกระดูกและข้อ และ แผนกกายภาพบำบัด เราพร้อมดูแลรักษาอาการของโรครองช้ำให้คุณได้ ทั้งการทำกายภาพบำบัด ดูแลเอ็นฝ่าเท้า หรือ การใส่เฝือกชั่วคราว เพื่อปรับรูปเท้าในขณะนอน ทั้งนี้การรักษาขึ้นอยู่กับอาการ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้ตรวจและให้การรักษาที่เหมาะสม เพื่อให้อาการของคุณดีขึ้น และหายได้ในเร็ววัน  คลิก
.
.
.
.
โรงพยาบาลสินแพทย์ลำลูกกา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02-006-9999 หรือ

แอดไลน์ ID line : @synphaetline

#ให้สินแพทย์เป็นเพื่อนคุณ

#เบื้องหลังทุกการรักษาคือความใส่ใจ

SHARE
ข่าวประชาสัมพันธ์อื่นๆ