แพ็กเกจตรวจหาความผิดปกติของการนอนหลับ (Sleep test)

ระยะเวลา : 1 มกราคม 2566 - 31 ธันวาคม 2567

อาการนอนกรน (snoring) และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea : OSA)
เป็นปัญหาและโรคของการนอนหลับที่พบบ่อย ในคนอายุ 30-35 ปี พบว่าประมาณร้อยละ 20 ของเพศชาย และร้อยละ 5 ของเพศหญิง จะมีอาการนอนกรน และเมื่ออายุมากขึ้น อุบัติการของอาการนอนกรนจะเพิ่มขึ้นตามอายุ ส่วนภาวะหยุดหายใจขณะหลับพบได้ประมาณร้อยละ 4 ในเพศชายและร้อยละ 2 ในเพศหญิง อุบัติการณ์ของอาการนอนกรนในคนไทย พบได้ประมาณร้อยละ 26.4 ส่วนอุบัติการณ์ของภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับในคนไทย พบได้ประมาณร้อยละ 11.4 จากการศึกษาพบว่าอุบัติการณ์ของอาการนอนกรนและ/หรือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับนี้ ได้เพิ่มขึ้นสูงกว่าเมื่อก่อนมาก
.

สาเหตุของอาการนอนกรน?

นอกจากเกิดจากการผ่อนคลายของกล้ามเนื้อดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังพบว่าเกิดจากการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบนจากสาเหตุอื่นๆ เช่น ต่อมทอนซิล และต่อมอดีนอยด์ (adenoid) ที่โต ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการนอนกรนที่สำคัญในเด็ก ผู้ป่วยที่อ้วนมากอาจมีเนื้อเยื่อผนังคอที่หนาทำให้ทางเดินหายใจแคบลง ในผู้ป่วยที่มีเนื้องอก หรือซีสต์ (cyst) ของอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งในระบบทางเดินหายใจส่วนบนก็ก่อให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจได้เช่นกัน การที่มีโพรงจมูกอุดตัน ซึ่งมีสาเหตุจากหลายกรณี เช่นอาการคัดจมูกจากโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้, ความผิดปกติของผนังกั้นช่องจมูก, เนื้องอกในจมูกและโพรงอากาศข้างจมูก, ริดสีดวงจมูก, ไซนัสอักเสบ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการนอนกรนได้เช่นกัน ดังนั้น อาการนอนกรนจึงไม่ใช่เรื่องปกติ ในทางตรงกันข้ามเป็นตัวบ่งบอกว่ามีการอุดกั้นในระบบทางเดินหายใจส่วนบน
.

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับเกิดขึ้นได้อย่างไร?

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับเริ่มจากการตีบแคบของทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้ต้องหายใจเข้ามากขึ้นเพื่อเอาชนะทางเดินหายใจที่ตีบแคบ ความดันที่เป็นลบเพิ่มมากขึ้นระหว่างการหายใจเข้าจะทำให้ช่องคอตีบแคบลงกว่าเดิม ทำให้มีการขาดจังหวะในการหายใจได้บ่อยครั้งและแต่ละครั้งนานกว่าคนปกติ ถ้ามีการหยุดหายใจหลายครั้งในขณะนอนหลับจะส่งผลให้ระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดลดน้อยลง ซึ่งสมองก็จะได้รับออกซิเจนน้อยลงไปด้วย เมื่อสมองขาดออกซิเจนก็จะต้องคอยปลุกให้ผู้ป่วยตื่นเพื่อเริ่มหายใจใหม่ และเมื่อสมองได้รับออกซิเจนเพียงพอแล้ว ผู้ป่วยก็จะสามารถหลับลึกได้อีกครั้ง แต่ต่อมาการหายใจก็จะเริ่มขัดขึ้นอีก สมองก็ต้องปลุกตัวเองให้ตื่นขึ้นใหม่ วนเวียนเช่นนี้ตลอดคืน เป็นผลให้ผู้ป่วยนอนหลับได้ไม่เต็มที่
.
เมื่ออาการนอนกรนเกิดร่วมกับภาวะหยุดหายใจขณะหลับแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องจากแพทย์ เพราะการที่แพทย์สามารถตรวจหาสาเหตุของโรคและพิจารณาวางแผนการรักษาแต่เนิ่น ๆ จะช่วยลดอันตรายที่จะเกิดกับอวัยวะและระบบต่าง ๆ ที่สำคัญของร่างกายได้ ดังนั้น…เมื่อท่านมีอาการดังต่อไปนี้ ซึ่งบ่งบอกถึงการมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ควรรีบมาปรึกษาแพทย์

 


ราคา   16,000   บาท






หมายเหตุ

1.อัตราค่าบริการดังกล่าว รวมรายการดังต่อไปนี้

1.1 ค่าเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจที่ติดตั้งระหว่างนอนโรงพยาบาล 1 คืน

1.2 ค่าเจ้าหน้าที่ชำนาญการในการติดเครื่องมือในการตรวจ

1.3 ค่าบริการโรงพยาบาล รวมค่าห้องพัก 1 คืน และอาหารเช้า 1 มื้อ

1.4 ค่าอ่านผลโดยแพทย์ชำนาญการด้านอายุรกรรมประสาทและโรคจากการนอนหลับ

**ไม่รวมค่าบริการดังต่อไปนี้**

2.1 ค่าตรวจร่างกายและประเมินก่อนตรวจ

2.2 ค่าตรวจและสรุปผลการตรวจโดยแพทย์ผู้ป่วยนอก

2.3 เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์พิเศษสำหรับผู้ป่วยบางกลุ่มโรค

2.4 ราคาโปรแกรมดังกล่าว ไม่รวมกรณีมีรายการตรวจเพิ่มเติมนอกเหนือจากโปรแกรม หรือมียากลับบ้าน

3.เริ่มใช้บริการตั้งแต่วันนี้ – 31 พฤษภาคม 2568

4.กรณีคนไข้บางกลุ่มโรค อาจมีใช้เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์เพิ่มจากนี้ ให้คิดค่าใช้จ่ายเพิ่มตามการพิจารณาของแพทย์เป็นหลัก

5.โรงพยาบาลขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงราคา โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า


SHARE