แผนกอายุรกรรม
พร้อมให้การดูแล โดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการ

.

เบอร์ติดต่อ
02-006-8888 ต่อ 1138
ช่วงเวลาทำการ
เปิดให้บริการทุกวัน : 
08.00 - 21.00 น.
สถานที่
อาคารA ชั้น1

           ให้บริการในการตรวจวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพในโรคทั่วไป ตั้งแต่การมีภาวะเจ็บป่วยแบบเฉียบพลันไปจนถึงผู้ที่มีภาวะเจ็บป่วยแบบเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ไทรอยด์ โรคไต ความดัน โรคหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต ฯลฯ โดยมีทีมอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการดูแลรักษา อีกทั้งยังบริการให้คำปรึกษา คำแนะนำในการดูแลตนเองและป้องกันโรคต่างๆ โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพ ให้ผู้ป่วยมีสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ สามารถดูแลตัวเองได้อย่างถูกต้องและใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข แผนกอายุรกรรมมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • อายุรกรรมโรคไต
  • อายุรกรรมโรคหัวใจ
  • อายุรกรรมประสาทและสมอง
  • อายุรกรรมระบบทางเดินอาหารและตับ
  • อายุรกรรมโรคเลือด
  • อายุรกรรมโรรูมาโต เช่น โรคเก๊าส์, SLE
  • อายุรกรรมด้านโรคปอด
  • อายุรกรรมโรคมะเร็ง
  • อายุรกรรมโรคติดเชื้อ เช่น ทางเพศสัมพันธ์

 

การบริการทางการแพทย์

  • ตรวจและรักษาโรคระบบทางเดินหายใจ ซึ่งแบ่งออกเป็นระบบทางเดินหายใจส่วนบน ได้แก่ จมูก ลำคอ โพรงหลังจมูก กล่องเสียง และระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ หลอดคอ หลอดลม และปอดทั้งสองข้าง ดังนั้น โรคในกลุ่มนี้จึงครอบคลุมตั้งแต่โรคที่มีอาการไม่รุนแรงมากนักไปจนถึงโรคที่มีความรุนแรงมาก เช่น หลอดลมอักเสบ หอบหืด ถุงลมโป่งพอง ปอดอักเสบ
  • ตรวจและรักษาโรคต่อมไร้ท่อ โดยโรคต่อมไร้ท่อเป็นโรคที่เกิดกับอวัยวะต่างๆ ในระบบต่อมไร้ท่อ ซึ่งกระจายอยู่ทั่วร่างกาย ต่อมไร้ท่อทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อควบคุมการทำงานของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแคลอรีให้เป็นพลังงาน การเต้นของหัวใจ การเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อและกระดูก รวมถึงการมีบุตร ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อซึ่งเกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมน หรือจากการเกิดรอยโรคต่างๆ นั้นทำให้เกิดโรคตามมามากมาย เช่น เบาหวาน ไทรอยด์ ภาวะโรคอ้วน
  • ตรวจและรักษาโรคไต ไตเป็นอวัยวะที่เปรียบได้กับโรงบำบัดของเสียที่ต้องอยู่กับมลพิษตลอดเวลา เนื่องจากมีหน้าที่กรองของเสียออกจากกระแสเลือด ไตจึงทรุดโทรมได้ง่าย โรคไตที่พบบ่อย ได้แก่ โรคไตเรื้อรัง โรคนิ่วในไต และโรคไตอักเสบจากการติดเชื้อ
  • ตรวจและรักษาโรคความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตสูงเป็นหนึ่งในโรคเรื้อรังที่พบได้บ่อย และหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา อาจสร้างความเสียหายให้กับหลอดเลือดได้

 

เทคโนโลยีทางการแพทย์

  • ตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (EST: Exercise Stress Test) เป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกายด้วยการเดินบนสายพาน วิธีนี้นิยมนำมาใช้บ่อยในการตรวจหาความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด ที่ตรวจไม่พบในขณะที่ร่างกายหยุดพัก หรือไม่ได้ออกกำลังกายอย่างหนัก เพราะเมื่อมีการออกกำลังกาย หัวใจจะต้องการใช้ออกซิเจนจากเลือดเพิ่มมากขึ้น หากผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบตันอยู่ ก็จะทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ มีผลทำให้คลื่นไฟฟ้าหัวใจเปลี่ยนแปลงไป ด้วยเหตุนี้จึงทำให้รู้ว่าบุคคลนั้นเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดอยู่หรือไม่ หัวใจผิดจังหวะอยู่หรือเปล่า ซึ่งบางรายอาจเกิดอาการเจ็บ จุกแน่นหน้าอก ขณะทำการทดสอบได้ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่เคยทราบมาก่อนว่าตนเองเป็นโรคหัวใจอยู่
  • ตรวจอัลตราซาวด์หัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) เป็นการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้บ่อยในปัจจุบัน เพื่อดูประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ เช่น การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ขนาดของห้องหัวใจ การไหลเวียนเลือดในหัวใจ การทำงานของลิ้นหัวใจ และดูตำแหน่งของหลอดเลือดต่างๆ ที่เข้า-ออกจากหัวใจ ใช้หลักการเดียวกับการตรวจอัลตราซาวด์ทารกในครรภ์ทางสูตินรีเวช กล่าวคือ แพทย์จะใช้หัวอัลตราซาวด์ใส่เจล และถูบริเวณหน้าอกและใต้ราวนม (เป็นการตรวจแบบไม่ต้องเจ็บตัว ไม่มีอันตรายต่อร่างกาย) เมื่อคลื่นเสียงความถี่สูงผ่านอวัยวะต่างๆ จะเกิดสัญญาณสะท้อนกลับ ที่แตกต่างกันระหว่างน้ำและเนื่อเยื่อ คอมพิวเตอร์จะนำเอาสัญญาณเหล่านี้มาสร้างเป็นภาพ
  • ตรวจและบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจโดยใช้ Holter Monitor เป็นการติดเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชม. ไว้กับตัว โดยที่สามารถกลับไปพักที่บ้านหรือทำงานได้ตามปกติโดยไม่ต้องเสียเวลานอนพักค้างที่โรงพยาบาล และเมื่อครบกำหนด 24 ชม. แล้วจึงกลับมาถอดเครื่องคืนในวันถัดไป และรอรับทราบผลการตรวจวิเคราะห์จากแพทย์ มักใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการบ่อย แต่ไม่ได้เป็นตลอดเวลา

แพทย์ประจำศูนย์