โรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับไขสันหลัง และเส้นประสาท

11 พ.ค. 2565 | เขียนโดย นพ.ณรงค์ ตัณฑารักษ์ รพ. สินแพทย์ ลำลูกกา

โรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับไขสันหลัง และเส้นประสาท

เกิดจากการทำงานที่มีการก้มคอมองจอคอมพิวเตอร์ ,เครื่องมือสื่อสารต่างๆ หรือนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน ๆ , ขาดการออกกำลังกาย,น้ำหนักตัว

หรืออายุที่มากขึ้น  จึงทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมการสภาพ และฉีกขาดได้ง่าย ทำให้เคลื่อนมากดทับไขกระดูกสันหลังและเส้นประสาท

สาเหตุอื่นๆ ที่อาจเกิดได้  เช่น การติดเชื้อของกระดูกสันหลัง หรือโรคมะเร็งกระจายมายังกระดูกสันหลัง ทำให้เกิดการกระดูกหักยุบมากด

ไขสันหลังและเส้นประสาท

 

อาการที่พบได้บ่อย

  • ปวดคอร้าวลงแขน , ชา หรืออ่อนแรงกล้ามเนื้อมือหรือแขน การควบคุมการทำงานของมือผิดปกติไป
  • ปวดหลัง หรือสะโพกร้าวลงขา ,ชาหรืออ่อนแรงกล้ามเนื้อขา
  • การเดินที่ผิดปกติ เช่น เดินเซหรือทรงตัวผิดปกติ ,เดินแล้วชาเท้ามากขึ้น
  • มีความผิดปกติของระบบขับถ่าย เช่น กลั้นปัสสาวะ หรืออุจจาระไม่ได้ ชาบริเวณอวัยวะเพศ หรือทวารหนัก

การตรวจวินิจฉัย และการรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

แพทย์จะตรวจร่างกายและระบบประสาทร่วมกับการ X-RAY และ MRI กระดูกสันหลัง

 

วิธีการรักษา

1. การรับประทานยาเพื่อลดอาการอักเสบของเส้นประสาท

2. การทำกายภาพบำบัด เพื่อบรรเทาอาการปวดลดลงร่วมกับการออกกำลังกาย เพื่อให้กล้ามเนื้อหลังแข็งแรงขึ้น

3. การฉีดยาเพื่อลดการอักเสบของเส้นประสาทผ่านโพรงกระดูกสันหลัง (epidural steroid injection) จะฉีดยา

ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปวดมาก จากการกดทับเส้นประสาท หรือมีความเสี่ยงสูงจากการผ่าตัด

4. การผ่าตัดผ่านกล้อง (Endoscopic) หรือผ่าตัดแบบแผลเล็ก (Minimal Invasive Surgery) ทำให้ระยะเวลาผ่าตัด

ลดเสียเลือดน้อย ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน  ฟื้นตัวเร็ว สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ

 

หากมีอาการเหล่านี้รีบไปพบแพทย์ทันที

  • มีอาการกล้ามเนื้อลีบ หรืออ่อนแรงชัดเจน
  • มีอาการผิดปกติของระบบขับถ่าย เช่นกลั้นปัสสาวะ หรืออุจจาระไม่ได้ , ชาบริเวณอวัยวะเพศหรือทวารหนักการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรค

  • หลีกเลี่ยงการก้มคอหรือนั่งเก้าอี้ทำงานเป็นระยะเวลานาน
  • หลีกเลี่ยงการยกของหนัก , ท้องผูกหรือแบ่งถ่ายอุจจาระแรงๆ ซี่งจะทำให้มีการเคลื่อนของหมอนรองกระดูกสันหลังมากดทับไขสันหลัง หรือเส้นประสาทได้

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02-006-9999 หรือ

Inbox Facebook : โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา Synphaet Lamlukka Hospital >> คลิก

 

#โรงพยาบาลสินแพทย์มาตรฐานสากลระดับโลกJCI

#ศูนย์แพทย์เฉพาะทางมาตรฐานHA

#เบื้องหลังทุกการรักษา คือความใส่ใจ

 

 

 

SHARE
ข่าวประชาสัมพันธ์อื่นๆ