เลี้ยงเด็กติดจอมากเกินไป อาจเสี่ยงลูกเป็น”ออทิสติกเทียม”

5 มี.ค. 2564 | เขียนโดย รพ. สินแพทย์ ลำลูกกา

เด็กเล็กเข้าถึงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น หากปล่อยให้ลูกน้อยติดจอมากเกินเป็น อาจทำให้เสี่ยงเป็นออทิสติกเทียม สังเกตุพฤติกรรมลูกน้อยแล้วรีบปรึกษาแพทย์



ออทิสติกเทียม เกิดจากอะไร

ออทิสติกเทียม (Pseudo Autism) เกิดจากการขาดพัฒนาการอย่างเหมาะสมในช่วงวัยเด็ก พ่อแม่ปล่อยปะละเลย ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก หรือปล่อยให้เด็กใช้เวลากับอุปกรณ์สมาร์ทโฟน แท็บเล็ตมากเกินไป เด็กจึงได้รับสารทางเดียว และขาดการกระตุ้นในการสื่อสารสองทาง ทำให้การสื่อสารช้าและมีความปิดปกติในการสร้างสัมพันธ์ รวมไปถึงการเข้าสังคม

ออทิสติกเทียม อาการอย่างไร

อาการของออทิสติกเทียมมีความคล้ายคลึงกับออทิสติกแท้ แต่มีความแตกต่างในแง่ของการพัฒนาและการตอบสนองต่อการบำบัด ผู้ที่มีภาวะออทิสติกเทียมมักแสดงอาการดังนี้

  • ไม่สามารถปรับตัวเเล่นกับเด็กคนอื่น ๆ ได้ เพราะความสนใจในเรื่องเดียวกันน้อยกว่า
  • การหลีกเลี่ยงการสบตา  การมีปัญหาในการสื่อสารและการแสดงออกทางอารมณ์
  • ไม่สามารถที่จะบอกว่าตัวเองต้องการอะไร จึงแสดงออกมาเป็นการอาละวาด ร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล
  • ไม่สามารถพูดอย่างมีความหมาย หรือถ้าพูดได้ ก็พูดช้า
  • ไม่สามารถแยกจากอุปกรณ์สื่อสารอย่างสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต ได้  

อย่างไรก็ตาม อาการเหล่านี้มักจะเริ่มปรากฏหลังจากเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจหรือการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมอย่างกะทันหัน ซึ่งต่างจากออทิสติกแท้ที่มักแสดงอาการตั้งแต่วัยเด็กเล็ก

วิธีรักษาออทิสติกเทียม

วิธีรักษาออทิสติกเทียม การรักษาออทิสติกเทียมต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย และมีแนวทางการรักษาที่หลากหลาย ดังนี้

  • ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี ควรงดสื่อหน้าจอทุกชนิด ถ้าอายุมากกว่า 2 ปี ให้ดูจอได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมงในแต่ละวัน
  • พยายามพูดคุยและสื่อสารกับเด็กเยอะ ๆ เพื่อให้เกิดการสื่อสารสองทาง
  • ฝึกให้เด็กมองหน้า สบตาเวลาพูดคุย ฝึกกิจกรรมที่จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการ
  • ฝึกพาเด็กไปเข้าสังคม เพื่อให้เจอกับเด็กวัยเดียวกันเยอะ ๆ

 

ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีเจริญก้าวหน้ามากขึ้น ทุกคนสามารถเข้าถึงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆได้ง่ายขึ้น รวมทั้งเด็กเล็กด้วย บางครั้งคุณพ่อคุณแม่ทำงานเยอะ อาจทำให้ไม่มีเวลาที่จะดูแลและเล่นกับลูก การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านจอ จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุณพ่อคุณแม่ใช้เป็นเพื่อนเล่นกับลูกน้อยแทนการเล่นกับคุณพ่อคุณแม่ รวมทั้งอาจมีความคิดทัศนคติว่าการให้ลูกเรียนรู้จากดูสื่อผ่านจอมากๆตั้งแต่อายุน้อย จะช่วยให้ลูกฉลาดขึ้นและเก่งหลายภาษา สื่อผ่านจอที่มักใช้บ่อยๆ เช่น โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต แต่การใช้สื่อผ่านจออย่างไม่เหมาะสมเป็นประจำ เช่น การให้ลูกดูการ์ตูนนานๆ ดูตามลำพังคนเดียว และขาดการดูแลอย่างเหมาะสม อาจทำให้ลูกน้อยมีปัญหาพัฒนาการและพฤติกรรมได้หลายอย่าง รวมถึง#พฤติกรรมคล้ายออทิสติกได้!

 

ภาวะออทิซึม หรือคนทั่วไปมักเรียกว่าออทิสติก เป็นกลุ่มโรคที่มีความบกพร่องของพัฒนาการด้านสังคมและภาษา เกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ทำให้มีความบกพร่องของระบบประสาท ส่วน “พฤติกรรมคล้ายออทิสติก” หรือที่หลายคนเข้าใจและมักเรียกว่า “ออทิสติกเทียม” นั้น ไม่ได้เป็นการวินิจฉัยโรคทางการแพทย์ เกิดจากเด็กขาดการกระตุ้นให้มีการพูดคุย สื่อสาร หรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เช่น การที่เด็กจดจ่อหน้าจอโทรทัศน์ จอโทรศัพท์มือถือ หรือใช้สื่อผ่านจออื่นๆ มากเกินไป ซึ่งจะทำให้เด็กขาดการเรียนรู้ด้านปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และทำให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านภาษาล่าช้าไม่สมวัย

 

อาการของเด็กที่มีพฤติกรรมคล้ายออทิสติก เมื่อเทียบกับพฤติกรรมของเด็กในวัยเดียวกัน เช่น ไม่สื่อสารด้วยการพูด ไม่เลียนแบบผู้ใหญ่ ไม่สนใจสิ่งรอบตัว เล่นกับใครไม่เป็น ไม่สนใจผู้อื่น ร้องไห้งอแงเมื่อไม่ได้ดูสื่อผ่านจอ ติดที่จะเล่นอุปกรณ์สื่อผ่านจอโดยไม่สนใจว่าคุณพ่อคุณแม่จะกอดหรือหอม หากปล่อยไว้แบบนี้ต่อไป จะทำให้เด็กมีพัฒนาการช้ากว่าเด็กคนอื่นๆ ในวัยเดียวกัน

 

หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตว่าลูกน้อยมีความเสี่ยงเป็นพฤติกรรมคล้ายออทิสติก สามารถพาลูกน้อยมาตรวจที่แผนกศูนย์พัฒนาการเด็ก โดยกุมารเวช โรงพยาบาลสินแพทย์ลำลูกกา>> คลิก เพื่อตรวจอาการและพัฒนาการของเด็ก รวมถึงให้เราช่วยดูแลในส่วนของพัฒนาการตามวัยที่สมควรของเด็กได้ แต่ทางที่ดีคุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมการเรียนรู้ของลูกน้อย โดยการให้เด็กได้เรียนรู้ธรรมชาติ และสิ่งต่างๆรอบตัว รวมถึงการพาเข้าสังคม เพื่อฝึกพัฒนาการให้มีปฏิสัมพันธ์สื่อสารกับผู้อื่น และมีพัฒนาการที่ดีตามวัยของเด็ก

 

การป้องกันออทิสติกเทียม

การป้องกันออทิสติกเทียม สามารถทำได้โดย 4 วิธีหลัก ๆ ดังนี้

  • จำกัดเวลาอยู่กับหน้าจอ : ไม่แนะนำให้เด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ขวบดูทีวี สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตเลย ส่วนเด็กที่อายุ 2-5 ขวบ ควรจำกัดเวลาหน้าจอ ไม่เกินวันละ 1 ชั่วโมง และควรมีผู้ปกครองคอยดูแลอย่างใกล้ชิด
  • ส่งเสริมกิจกรรมและปฏิสัมพันธ์ : ให้เด็กทำกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการ และถ้าเป็นไปได้ให้ทำร่วมกับผู้อื่น เช่น อ่านหนังสือ ระบายสี ร้องเพลง วิ่งเล่นกลางแจ้ง
  • สร้างสภาพแวดล้อมที่ดี : สภาพแวดล้อมที่ดีจะทำให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสม ทั้งนี้ผู้ปกครองก็ควรที่จะพูดคุยกับเด็กอย่างสม่ำเสมอ คอยสอนคำศัพท์ และกระตุ้นให้เด็กกล้าแสดงออก
  •  คอยสังเกตพัฒนาการของเด็ก : ให้ดูแลและสังเกตอย่างใกล้ชิด ถ้าหากพบความผิดปกติใด ๆ ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กโดยตรง

 

ความแตกต่างระหว่างออทิสติกเทียมและออทิสติกแท้

ความแตกต่างระหว่างออทิสติกเทียมและออทิสติกแท้ สามารถแบ่งได้โดยสังเกตจากปัจจัยเหล่านี้

  • สาเหตุ : ออทิสติกแท้จะมีต้นเหตุมาจากความผิดปกติทางสมอง ส่วนออทิสติกเทียมจะมาจากการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม เช่น ปล่อยให้เด็กใช้เวลากับหน้าจอมากเกินไป
  • พัฒนาการ : ออทิสติกแท้จะมีพัฒนาการที่ผิดปกติอย่างต่อเนื่องและไม่มีพัฒนาการ ส่วนออทิสติกเทียมจะมีพัฒนาการล่าช้า แต่จะดีขึ้นได้เมื่อได้รับการแก้ไขที่ถูกต้อง
  • การสื่อสาร : ออทิสติกแท้มีปัญหาในการเข้าสังคมอย่างชัดเจน และต้องเรียนโรงเรียนเฉพาะทาง ส่วนออทิสติกเทียมก็มีปัญหา เพียงแต่ว่าจะไม่รุนแรงเท่ากับออทิสติกแท้
  • พฤติกรรม : ทำพฤติกรรมซ้ำ ๆ มีความสนใจจำกัดโดยชัดเจนในเด็กที่เป็นออทิสติกแท้ ส่วนออทิสติกเทียมจะไม่ชัดเจน ยังสามารถสนใจเรื่องอื่น ๆ หรือปรับพฤติกรรมได้อยู่

 

ผลกระทบของออทิสติกเทียมต่อเด็กและครอบครัว

ผลกระทบของออทิสติกเทียมต่อเด็กและครอบครัว ที่เห็นได้ชัด ๆ สำหรับเด็ก คือ พัฒนาการล่าช้า มีปัญหาในด้านการปรับตัว การเรียนรู้ โดยเฉพาะด้านภาษาและการเข้าสังคม รวมถึงพฤติกรรม เช่น หงุดหงิดง่าย หรือก้าวร้าว ทำให้สุดท้ายแล้วเด็กจะเริ่มแยกตัวและขาดพัฒนาการไป ส่วนผลกระทบสำหรับพ่อแม่ คือ อาจจะเกิดความกังวล เกิดภาวะที่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายในการรักษา และอาจจะเกิดความเครียด จนลุกลามไปเป็นความขัดแย้งในครอบครัว

 

ด้วยความห่วงใย พญ.ชุติมน กองสัมฤทธิ์ #ศูนย์พัฒนาการเด็ก #แผนกกุมารเวช #โรงพยาบาลสินแพทย์ลำลูกกา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02-006-9999 หรือ

แอดไลน์ ID line : @synphaetline

 

# โรงพยาบาลสินแพทย์ลำลูกกา

#ให้สินแพทย์เป็นเพื่อนคุณ

#เบื้องหลังทุกการรักษาคือความใส่ใจ

SHARE
ข่าวประชาสัมพันธ์อื่นๆ