เด็กแพ้อาหาร ควรทำอย่างไร Food Allergy
การแพ้อาหารในเด็กเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีปฏิกิริยามากเกินไปต่ออาหารบางชนิด มีอาการตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง
สารก่อภูมิแพ้ในอาหารที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก ได้แก่ นม ไข่ ถั่วลิสง ถั่วเปลือกแข็ง ถั่วเหลือง ข้าวสาลี ปลา และหอย
การดูแลและป้องกัน การแพ้อาหารของเด็ก
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่แพ้ หรือ กลุ่มอาหารที่แพ้ หรือสงสัยว่าจะแพ้ ให้สังเกตและจดบันทึกประวัติการแพ้
- หากมีอาการแพ้ ให้รับประทานยาบรรเทาอาการ หรือยาแก้แพ้ตามแพทย์แนะนำ
- หากมีอาการรุนแรง เช่น ผื่น ลมพิษ ตาบวม ปากบวม หายใจไม่สะดวก ไอเยอะ หอบเหนื่อยให้รีบไปโรงพยาบาลทันที
อาการแพ้อาหารมีโอกาสหายได้ หากหลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้ อย่างน้อย 6-12 เดือน หรือนานกว่านี้ ขึ้นอยู่กับว่าแพ้อาหารชนิดใด
ซึ่งควรได้รับการตรวจวินิจฉัยให้ชัด โดยกุมารแพทย์ชำนาญการ โรคภูมิแพ้ และภูมิคุ้มกัน
นัดหมายแพทย์ ศูนย์โรคภูมิแพ้ และภูมิคุ้มกันเด็ก คลิก >> https://bit.ly/43MVBVq
แผนกกุมารเวช เปิดบริการ ถึง 21.00 น.ทุกวัน กุมารแพทย์ฉุกเฉิน ตลอด 24 ชั่วโมง
ด้วยความปรารถนาดี โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา
📞 สอบถามเพิ่มเติม : 0 2006 9999
🌐 Website : https://www.synphaet.co.th/lamlukka/
🚗 แผนที่ : https://bit.ly/3qClgyt
เบื้องหลังทุกการรักษา … คือความใส่ใจ ❤️
#โรงพยาบาลสินแพทย์ลำลูกกา
#โรงพยาบาลมาตรฐานโลกJCI
#ศูนย์การแพทย์เฉพาะทางมาตราฐานHA
#เบื้องหลังทุกการรักษาคือความใส่ใจ